คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร กรณีศึกษา กองวิชาวิศวกรรมสรรพาวุธ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

Main Article Content

Karun Chaivanich

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมในด้านปัญหาภาวะโลกร้อน โดยมีสาเหตุจากการเพิ่มปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร เป็นวิธีการประเภทหนึ่งในการแสดงข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาตลอดวงจรวัฏจักรชีวิตขององค์กร อันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรของกองวิชาวิศวกรรมสรรพาวุธ ส่วนการศึกษาโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าตามแนวทางประเมินขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยจำแนกเป็น 3 ขอบเขต ได้แก่ ขอบเขตที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง ขอบเขตที่ 2 การปล่อย ก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงานไฟฟ้า และขอบเขตที่ 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ โดยเก็บข้อมูลในปี พ.ศ. 2562 ผลการวิจัย พบว่า ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรเท่ากับ 79.027 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยขอบเขตที่ 1 ขอบเขตที่ 2 และขอบเขตที่ 3 มีปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์เท่ากับ 21.247, 37.757 และ 20.107 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ตามลำดับ โดยขอบเขตที่ 2 มีปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรมากที่สุดถึงร้อยละ 47.777 และเมื่อประเมินเป็นปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรต่อคนเท่ากับ 1.341 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ดังนั้นการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่เกิดขึ้นอันจะนำไปสู่การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลกระทบให้เกิดภาวะโลกร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กระทรวงพลังงาน. (2562). รายงานการปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้พลังงานจากการใช้พลังงาน 6 เดือนแรก ปี 2562. สืบค้นจาก http://www.eppo.go.th/index.php/th/eppo-intranet/item/download/ 19400_36538e4cf380030b2b2178c511c9fbc1

จินต์ พันธุ์ชัยโย, ณัฐการย์ วงศ์ทองเหลือ, นราทิพย์ ณ ระนอง, พสุพร สมบูรณ์ธนสาร และอริศรา พรมิ่งมาศ. (2552). การประเมินการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการรีไซเคิลของอุตสาหกรรมขวดแก้ว กรณีศึกษา บริษัทบางกอกกล๊าสจำกัด. วารสารบริหารธุรกิจ, 32(1), 32-41.

ชุติมา สุขอนันต์. (2555). การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรและแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะวิศวกรรมศาสตร์, สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม.

ฐิติกร หมายมั่น, สมบัติ ทีฆทรัพย์, อติกร เสรีพัฒนานนท์ และบัณฑิต รัตนไตร. (2560). คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(1), 56-66.

ฐิติกร หมายมั่น, สมบัติ ทีฆทรัพย์, อติกร เสรีพัฒนานนท์ และบัณฑิต รัตนไตร. (2561). การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรของมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(2), 109-205.

ธัชชัย ช่อพฤกษา. (2560). แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรสำหรับการใช้เชื้อเพลิงในกิจกรรมโลจิสติกส์สีเขียว. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ.2560 (หน้า 1185-1194). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ไพรัช อุศุภรัตน์ และหาญพล พึ่งรัศมี. (2557). การประเมินคาร์บอนฟุตพรินท์องค์กรของมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 22(1), 1-12.

สุรวุฒิ สุดหา และดุษฎีพร หิรัญ. (2562). คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 26(1), 227-233.

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน). (2558). แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร. กรุงเทพมหานคร: องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน).

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน). (2552). ค่า Emission Factorโดยแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมของประเทศไทย. สืบค้นจาก http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/products _emission/

products_emission.pnc

International Greenhouse Gas Inventories Programme (IPCC). (2006). IPCC Guidelines for National

Greenhouse Gas. Retrieved from online: https://www.ipcc-nggip.iges.or.jp/public/2006gl/