การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจำแนกพื้นที่เสี่ยงต่ออุบัติการณ์โรคมาลาเรียในเขตพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

chanatda ratana
Benjaporn Srisomboon

Abstract

มาลาเรียเป็นโรคที่ร้ายแรงที่พบบ่อยในพื้นที่เขตร้อน และเป็นปัญหาหลักของสาธารณสุขในประเทศไทย ปัญหาการแพร่เชื้อของโรคมาลาเรียจะมีสูงมากในพื้นที่บริเวณชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ พม่า กัมพูชา ลาว และมาเลเซีย วัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อจำแนกพื้นที่เสี่ยงต่ออุบัติการณ์โรคมาลาเรียในเขตพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ ในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบัวเชด อำเภอสังขะ อำเภอกาบเชิง และอำเภอพนมดงรัก ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยใช้เทคนิคการซ้อนทับข้อมูล (Overlay) กำหนดค่าถ่วงน้ำหนัก (Weighting) และค่าคะแนนของแต่ละปัจจัย (Rating) ซึ่งกำหนด 6 ปัจจัย ได้แก่ 1) ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2) ความหนาแน่นของผู้ป่วยมาลาเรีย 3) ปริมาณน้ำฝน 4) ระยะการบินของยุงก้นปล่อง 5) อุณหภูมิ และ 6) ความชื้นสัมพัทธ์ ผลการศึกษาพบว่า สามารถจำแนกพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคมาลาเรียได้ทั้งหมด 3 ระดับ คือ 1) พื้นที่เสี่ยงมากที่สุดมีเนื้อที่ 1,205.59 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 50.94 ของพื้นที่ทั้งหมด 2) พื้นที่เสี่ยงปานกลาง มีเนื้อที่ 965.85 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 40.80 ของพื้นที่ทั้งหมด และ 3) พื้นที่เสี่ยงน้อยมีเนื้อที่ 195.46 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 8.26 ของพื้นที่ทั้งหมด เมื่อจำแนกเป็นรายอำเภอ พบว่าอำเภอสังขะมีพื้นที่เสี่ยงมากที่สุด 458.88 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 19.38 ของพื้นที่ทั้งหมด รองลงมาคือ อำเภอบัวเชดมีพื้นที่เสี่ยงมากที่สุด 356.89 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 15.08 ของพื้นที่ทั้งหมด อำเภอกาบเชิงมีพื้นที่เสี่ยงมากที่สุด 277.21 คิดเป็นร้อยละ 11.71 ของพื้นที่ทั้งหมด และอำเภอพนมดงรักมีพื้นที่เสี่ยงมากที่สุด 112.61 คิดเป็นร้อยละ 4.76 ของพื้นที่ทั้งหมด ตามลำดับ จำนวนผู้ป่วยปี พ.ศ.2557-2561 มีทั้งสิ้น 919 คน เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงมาก 727 คน คิดเป็นร้อยละ 79.10 อยู่ในพื้นที่เสี่ยงปานกลาง 187 คน คิดเป็นร้อยละ 20.34 และอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้อย 5 คน คิดเป็นร้อยละ 0.54 ซึ่งพื้นที่เสี่ยงที่ได้จะเป็นข้อมูลในการสนับสนุนการวางแผนป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคมาลาเรียได้

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2559). โรคมาลาเรีย. https://ddc.moph.go.th/th/Site/index

วัชรพงษ์ แสงนิล และ จารุวรรณ์ วงบุตดี. (2557). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจำแนกพื้นที่ เสี่ยงต่ออุบัติการณ์โรคมาลาเรียในเขตพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว-กัมพูชา จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัด อุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 44(3), 260-272.

สรญา แก้วพิทูลย์ และ ณัฐวุฒิ แก้วพิทูลย์. (2555). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อวิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดโรคมาลาเรียในจังหวัดสุรินทร์ (รายงานผลการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สรญา แก้วพิทูลย์ และ ณัฐวุฒิ แก้วพิทูลย์. (2556). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(GIS) เพื่อพยากรณ์พื้นที่เสี่ยงสำหรับป้องกันโรคมาลาเรียในจังหวัดบุรีรัมย์ (รายงานผลการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศภูมิสารสนเทศ เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ องค์การมหาชน. (2558). เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ. https://www.gistda.or.th/main/th/node/815

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. (2561). สถานการณ์โรคมาลาเรียในจังหวัดสุรินทร์. http://www.surinpho.go.th/SPHO

Ly, S., Charles, C. & Degré, A. (2013). Different methods for spatial interpolation of rainfall data for operational hydrology and hydrological modeling at watershed scale. A review. Biotechnology, Agronomy and Society and Environment, 17(2), 392-406.

Yang, X., Xie, X., Liu, D.L., Ji, F. & Wang, L. (2015). Spatial Interpolation of Daily Rainfall Data for Local Climate Impact Assessment over Greater Sydney Region. Advances in Meteorology, 2015, 12 pages. https://doi.org/10.1155/2015/563629