ลักษณะทางธรณีโครงสร้างและการลำดับชั้นหินของเสาเฉลียงวัดภูถ้ำพระ

Main Article Content

ฐิติพงษ์ อุ่นใจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางธรณีวิทยาโครงสร้างของเสาเฉลียงวัดภูถ้ำพระ โดยศึกษาขนาดอนุภาคเนื้อหินและสีของหินในแต่ละชั้น เพื่อกำหนดลำดับชั้นหินและระบุหมวดหิน ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะทางธรณีวิทยาโครงสร้างของเสาเฉลียงวัดภูถ้ำพระ ปรากฏลักษณะทางธรณีวิทยาโครงสร้าง 4 ลักษณะซึ่งคล้ายกับลักษณะของการวางชั้น การวางชั้นเฉียงระดับ บริเวณหินส่วนเสาและส่วนบน อีกทั้งยังพบระนาบการแตกขนาดใหญ่ และรอยริ้วกระแสคลื่นลมทั่วบริเวณแผ่นหินโดยรอบพื้นที่ศึกษา สีของหินประกอบด้วยสีส้มอ่อน      สีน้ำตาลเหลือง และสีน้ำตาลแดง และจากการเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้กับแผนที่ธรณีวิทยาสามารถสรุปได้ว่า    เสาเฉลียงวัดภูถ้ำพระอยู่ในหมวดหินภูพาน กลุ่มหินโคราช ในยุคครีเทเชียสตอนต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพยากรธรณี. (2550). แผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดยโสธร กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรธรณี.
ชาญณรงค์ ศรีสุวรรณ. บรรณาธิการ. (2558). พุทธสถาปัตยกรรม. เชียงใหม่: ห้างหุ้นส่วนจํากัดภัทระพรี เพลส.
ปัญญา จารุศิริ, สัน อัศวพัชร, สุวภาคย์ อิ่มสมุทร, กิตติ ขาววิเศษ, สันติ ภัยหลบลี้. (2545). ธรณีวิทยาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
เพียงตา สาตรักษ์. (2551). หลักและวิธีสำรวจ: ธรณีวิทยาภาคสนาม. (พิมพ์ครั้งที่2). ขอนแก่น: ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เพียงตา สาตรักษ์. (2559). ธรณีวิทยาโครงสร้าง. (พิมพ์ครั้งที่ 4). ขอนแก่น: ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อภิชัย นวเจริญพันธ์. (2550). แหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา. กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรธรณี.
Albert H. Munsell, (2018). Munsell Rock Color Chart. New Jersey: Munsell Co. Ltd.
Florina, P. & Merita, D. (2019). Geotourism potential of Zall Gjoçaj national park and the area nearby. International Journal of Geoheritage and Parks, 7, 103-110.
Gates, D.J. & Westcott, M. (2000). Generating a rock breakage process from sieve data. Minerals Engineering, 13, 1603-1614.
Jacek Szczygie, Wojciech Wróblewski, Maciej Jan Mendecki, Helena Hercman. & Pavel Bosák. (2020). Soft-sediment deformation structures in cave deposits and their possible causes (Kalacka Cave, Tatra Mts., Poland). Journal of Structural Geology. 140, https://doi.org/10.1016/j.jsg.2020.104161
Mao-sheng, GaoGuo-hua, HouXian-zhang. & DangXue-yong Huang, (2020). Sediment distribution characteristics and environment evolution within 100 years inwestern Laizhou Bay, Bohai Sea, China. China Geology. 3, 445-454.
Maurice, B. & Mark, C. (1989). Tectono-sedimentary ripples in devonian shallow marine siliciclastic sediments, southern Ireland. Sedimentary Geology, 63, 1-20.
Neil, W., Marylynn, K. & Scott, S. (2002). Quantitative evaluation of color measurements: II. Analysis of Munsell color values from the Colton and Green River Formations (Eocene, central Utah). Sedimentary Geology, 151(2), 17-44.
Nemanja, T., Slobodan, M., Aleksandar, A. & Dajana, T. (2020). Exploring the potential for geotourism development in the Danube region of Serbia. International Journal of Geoheritage and Parks, 8, 123-139.
Nozomi Hatano, Kohki Yoshida. & Eiji Sasao. (2020). Effects of grain size on the chemical weathering index: A case study of Neogene fluvial sediments in southwest Japan. Sedimentary Geology, 386, 1-8.
Sinha, S. & Walton, G. (2021). Investigation of pillar damage mechanisms and rock-support interaction using Bonded Block Models. International Journal of Rock Mechanics and Mining Sciences, 138, 1-17.
Stephen J. Martel. (2016). STRUCTURAL GEOLOGY. Hawaii: University of Hawai'i at Manoa.