การพัฒนาต้นแบบเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติโดยใช้แนวคิดอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง

Main Article Content

ยุติธรรม ปรมะ

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาต้นแบบเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติโดยใช้แนวคิดอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่งเพื่อเพิ่ม
ความสะดวก ควบคุมปริมาณการให้อาหาร และลดเวลาในการเฝ้าสังเกตปลา เครื่องต้นแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยสองส่วนหลักคือ 1) เครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติฯ และ 2) แอปพลิเคชั่นการใช้งานเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติ ฯ ได้รับการออกแบบเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ไมโครคอนโทรลเลอร์ NodeMCU V.2, ระบบจานป้อนอาหาร, สเต็ปเปอร์มอเตอร์ 4 เฟสพร้อมแผงวงจรควบคุม, ชุดเซนเซอร์วัดระดับอาหาร  แอปพลิเคชั่นป้อนปลาได้รับการออกแบบใน 2 ฟังก์ชัน คือ การควบคุมด้วยตนเองและระบบอัตโนมัติโดยแอปพลิเคชั่นป้อนอาหารปลา สื่อทั้งสองสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยเซิร์ฟเวอร์ Blynk การทดลองพบว่าประสิทธิภาพในการให้อาหารปลาสามมื้อด้วยการทดสอบหน่วยย่อยมีความเที่ยงตรงคิดเป็นร้อยละ 90.59 และความเที่ยงตรงในการทดสอบระบบจริงคิดเป็นร้อยละ 90.63 นอกจากนี้ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อต้นแบบเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติฯ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก ( =4.06, S.D.=0.51) ดังนั้น ต้นแบบเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติฯ สามารถใช้เป็นต้นแบบเครื่องให้อาหารปลา และประยุกต์ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์การผลิตเชิงพาณิชย์

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กิตติยา วงษ์ขันธ์. (2561, กรกฏาคม). รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) และรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม (PAR). เอกสารประกอบการฝึกอบรมโครงการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่) รุ่นที่ 6. https://www.ubu.ac.th/web/files_up/08f2018072012262188.pdf

ชนาภา เทพเสนา, ศิริพงษ์ ปะวะโก และอาทิตย์ คูณศรีสุข. (2561). การพัฒนาระบบควบคุมสำหรับระบบการให้อาหารปลาแบบอัตโนมัติ. การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 32. 3-6 กรกฎาคม 2561 (หน้า 620-627). มุกดาหาร.

ด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. (2563). สถิติการนำเข้า ส่งออก สัตว์น้ำ ทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เดือนกันยายน 2563. https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20201005164809_1_file.pdf

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

วิสิทธิ์ เวียงนาค. (2561). Internet of Things นวัตกรรมเชื่อมต่อสรรพสิ่ง. เอกสารประกอบการอบรม, มหาวิทยาลัยรังสิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสังคม.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศท้องถิ่น. (2559). พิมพ์เขียวและแผนปฏิบัติการขับเคลื่อน Thailand 4.0. http://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2017/1/2194_5919.pdf

สมพล สุขเจริญพงษ์, กนกพัชร วงศ์อินทร์อยู่ และศานติ ดิฐสถาพรเจิรญ. (2560). ศักยภาพการผลิต การตลาดปลาสวยงามในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารการวิจัยมหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 2426-2443.

สุปาณี ภู่สิน, นายชัยมงคล แดงแย้ม, และนายนคสิทธิ์ แสงมณี. (2560). การศึกษาคุณภาพน้าทางการขนส่งปลาทอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สาขาวิชาเกษตรศาสตร์(การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ).

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดราชบุรี. (2563). ข้อมูลเพื่อการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดราชบุรี ปี2563 ปลาสวยงาม. https://www.opsmoac.go.th/ratchaburi-dwl-files-421591791292

Dada, E., & Theophine, N. (2018). Arduino UNO Microcontroller Based Automatic Fish Feeder. The Pacific Journal of Science and Technology. 168-174.

Mohamed, I., Azizan, B., Hikmah, N., & Mohamed, N. (2020). Design and Development of Microcontroller Based Automatic Fish Feeder System. IJESC, 10(4), 25380-25383.

Ratnasari, D., Mardhiyyah, R., & Pramudwiatmoko, A. (2020). IoT Prototype Development of Automatic Fish Feeder and Water Replacement. International Journal of Engineering, Technology and Natural Sciences, 2(2), 51-55.

Stephan, F. (2019). Testing Pyramid. https://www.kaizenko.com/what-is-the-testing-pyramid