การวิเคราะห์ความอ่อนไหวของแบบจำลองการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส

Main Article Content

พรวิลัย ชาญกิจกรรณ์

Abstract

โรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส และเป็นแบคทีเรียชนิดที่พบในสุกร ในบทความวิจัยผู้วิจัยได้สร้างแบบจำลองการระบาดของโรคจากสุกรสู่คนและ พิสูจน์ทฤษฎีบทของแบบจำลอง หาจุดสมดุลที่สภาวะไร้โรคและพิสูจน์ความเสถียรภาพเฉพาะที่และวงกว้างเชิงเส้นกำกับ หาค่าสืบพันธุ์พื้นฐาน  โดยวิธีรุ่นถัดไป และวิเคราะห์ความอ่อนไหวของค่าสืบพันธุ์พื้นฐาน ซึ่งผลลัพธ์จากการวิเคราะห์พบว่าจุดสมดุลที่สภาวะไร้โรคมีความเสถียรภาพเฉพาะที่สอดคล้องกับเงื่อนไขเร้าเฮอร์วิท และมีความเสถียรภาพวงกว้างเชิงเส้นกำกับโดยการใช้ฟังก์ชันเลียปูนอฟ นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ความอ่อนไหวพบว่าที่พารามิเตอร์  (อัตราการเสียชีวิตของประชากรสุกร) ที่เพิ่มขึ้น 20% ทำให้ค่าสืบพันธุ์พื้นฐานลดลงจากเดิม  เป็น  ดังนั้นในการลดการระบาดของการเกิดโรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส คือการทำให้สุกรที่ติดเชื้อเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นการลดปริมาณแบคทีเรียในสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการระบาดของโรคไปยังสุกรตัวอื่นในฟาร์มที่นำไปสู่การติดเชื้อในประชากรคน

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กองโรคติดต่อทั่วไป. (2564, 11 กันยายน). กรมควบคุมโรคเตือนประชาชนหลีกเลี่ยงการรับประทานหมูดิบหรือสุก ๆ ดิบ ๆ เสี่ยงป่วยด้วยโรคไข้หูดับหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้. https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=19165&deptcode=brc

พรวิลัย ชาญกิจกรรณ์. (2562). แบบจำลองการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส โดยพิจารณา ผลกระทบจากอุณหภูมิอากาศ. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครสวรรค์. 11(13), 51-64. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/189869

สมเกียรติ ขำนุกรักษ์ และ กิติพงศ์ กลิ่นแมน. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อเสตร็พโตค็อกคัส ซูอิสของประชาชน จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 8(3), 430 – 440. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPMAT/article/download/167868/120971/

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9. (2564, 21- 27 มีนาคม). สถานการณ์โรคสำคัญที่เฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 9 สัปดาห์ที่ 12 ปี พ.ศ. 2564. http://odpc9.ddc.moph.go.th/hot/64-situation-12.pdf

Banerjee, S. (2014). Mathematical Modeling: Models, Analysis and Applications. London: Taylor & Francis.

Chamnan, A., Pongsumpun, P., Tang, I., & Wongvanich, N. (2021). Local and global stability analysis of dengue disease with vaccination and optimal control. Symmetry 2021, 13, 1917. https://doi.org/10.3390/sym13101917

Edelstein – Keshet, L. (1988). Applications of Continuous Models to Population Dynamics. Mathematical Models in Biology. pp. 233 – 234. New York: Random House Publisher.

Giang, E., Hetman, B., Sageant, J., Poljak, Z. & Greer, A. (2020). Examining the effect of host recruitment rates on the transmission of streptococcus suis in nursery swine populations. Pathogens 2020, 9, 174. https://doi.org/10.3390/pathogens9030174.

Michael A. Mikucki. (2012). Sensitivity analysis of the basic reproduction number and other quantities for infectious disease models. [Master’s thesis]. Colorado State University.

Shen, C., Li, M., Zhang, W., Yi, Y., Wang, Y., Hou, Q., Huang, B. & Lu, C. (2014). Modeling transmission dynamics of Streptococcus suis with stage structure and sensitivity analysis. Discrete Dynamics in Nature and Society, 2014, 1-10. https://doi.org/10.1155/2014/432602

Van den Driessche, P. & Watmough, J. (2002). Reproduction numbers and sub threshold endemic equilibria for compartmental models of disease transmission. Mathematical Bioscience, 180(1-2), 29-48. https://doi.org/10.1016/s0025-5564(02)00108-6.