การทดลองเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของเห็ดนางฟ้าในโรงเรือนเห็ด ที่มีถ่านกัมมันต์และโรงเรือนเห็ดแบบปกติ โดยใช้เครื่องมือติดตาม วัดค่าอุณหภูมิและความชื้นผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบค่าอุณภมิและความชื้นอากาศระหว่างระบบปลูกเห็ดนางฟ้าในโรงเรือนที่มีถ่านกัมมันต์และโรงเรือนแบบปกติ และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของอุณหภูมิ ความชื้นอากาศ และอัตราการเจริญเติบโตของเห็ดนางฟ้าระหว่างระบบปลูกในโรงเรือนเห็ดนางฟ้าที่มีถ่านกัมมันต์และโรงเรือนเห็ดนางฟ้าแบบปกติ การวิจัยครั้งนี้ได้ใช้เครื่องมือติดตามวัดค่าวัดอุณหภูมิและความชื้นผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งที่สร้างขึ้น 3 ชุด โดยติดตั้งในโรงเรือนเพาะเห็ด 2 ชุด และภายนอกโรงเรือน 1 ชุด วิธีการวิจัยนี้เป็นแบบทดลอง โดยใช้ก้อนเห็ดในการทำลองทั้งหมด 60 ก้อน แบ่งเป็นโรงเรือนละ 30 ก้อน และนำดอกเห็ดนางฟ้ามาบันทึกผลเฉพาะดอกที่มีความกว้างตั้งแต่ 3.6 เซนติเมตรขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ เครื่องติดตามวัดค่าอุณหภูมิและความชื้นผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อหาระดับความเชื่อมั่นของเครื่องมือ และทดสอบสมมติฐานใช้ t-test ทดสอบ ผลการหาระดับความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 95% ผลการศึกษาพบว่า อัตราการงอกของเห็ดนางฟ้าในโรงเรือนเพาะเห็ดที่มีถ่านกัมมันต์และโรงเรือนเพาะเห็ดแบบปกติโดยวัดจากความกว้างของดอกเห็ดปรากฎผลว่า วันที่ 1 มีขนาดความกว้าง 6.04 และ 4.61 เซนติเมตร วันที่ 2 มีขนาดความกว้าง 7.04 และ 5.67 เซนติเมตร วันที่ 3 มีขนาดความกว้าง 8.53 และ 6.76 เซนติเมตร วันที่ 4 มีขนาดความกว้าง 8.91 และ 7.29 เซนติเมตร และ วันที่ 5 มีขนาดความกว้าง 11.37 และ 8.54 เซนติเมตร ตามลำดับ อัตราการงอกของเห็ดนางฟ้าเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ของการงอกจะได้ 27%, 22%, 23%, 20% และ 18% ตามลำดับ และในการทดสอบสมมติฐานทั้งสองพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าที่มีถ่านกัมมันต์มีอัตราการงอกของเห็ดนางฟ้าดีกว่าโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าแบบปกติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จาริณี จงปลื้มปิติ, เทพทัค สุปิน, ภานุวัฒน์ ขอสินกลาง, อรดา มาบำรุง และ พลเทพ เวงสูงเนิน. (2563).
การแสดงผลเปรียบเทียบอุณหภูมิและความชื้นสำหรับโรงเรือนเพาะเห็ดนางรมที่ใส่ถ่านและไม่ใส่ถ่านกัมมันต์ผ่านแอปพลิเคชัน Blynk. การประชุมวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ครั้งที่ 11. 21 สิงหาคม 2563 (หน้า 45-55). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
เติมพงศ์ แสงปกรณ์กิจ. (2552). เห็ดนางรม. กรุงเทพฯ: เกษตรสยามบุ๊คส.
ธรัช อารีราษฎร์ และ วรปภา อารีราษฎร์. (2563). ระบบไอโอทีสำหรับการตรวจสอบความชื้นและอุณหภูมิเพื่อส่งเสริมการเพาะเลี้ยงเห็ดในโรงเรือนให้มีผลผลิตที่สมบูรณ์. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 6(1), 7-16. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/240505
บุญยัง สิงห์เจริญ และ สันติ สาแก้ว. (2559). ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือนเพาะเห็ด. การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ครั้งที่ 1. 22 มิถุนายน 2559. (หน้า 176-183). ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
พลเทพ เวงสูงเนิน, จาริณี จงปลื้มปิติ, ทยาวีร์ หนูบุญ, และ สนั่น จันทร์พรม. (2561). ระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโรงเรือนปลูกเห็ดหลินจือ แบบอัตโนมัติ. นครราชสีมา: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
รุจิรา ปิ่นแก้ว. (2556). การผลิตและการเตรียมถ่านกัมมันต์จากซังข้าวโพดเพื่อใช้ในการดูดซับมีเทน. เพชรบูรณ์: สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
ลิขิต อ่านคำเพชร และ ธงรบ อักษร. (2560). โรงเพาะเห็ดนางฟ้าอัจฉริยะ. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2. 26-27 กรกฎาคม 2560. (หน้า 364-374). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.
วาริณี ธรรมชาติไพศาล. (2564). คู่มือการเพาะเห็ด. กรุงเทพฯ: ไทยควิลิตี้บุ๊คส์.
วีรศักดิ์ ฟองเงิน, สุรพงษ์ เพ็ชร์หาญ และ รัฐสิทธิ์ ยะจ่อ. (2561). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5(1), 172-182. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/download/ 140258/104041/372454
ศุภวุฒิ ผากา, สันติ วงศ์ใหญ่ และ อดิศร ถมยา. (2557). การพัฒนาระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดในโรงเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้น ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(1), 58-69. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/Itech/article/view/29386
สุวลี ชูวาณิชย์ และ เกริกชัย ทองหนู. (2562). การประยุกต์ใช้ไอโอทีสำหรับระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือนเพาะเห็ดแครง. โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายภาคใต้ ครั้งที่ 4. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อบูรณาการท้องถิ่นอย่างยั่งยืน. 7-8 กุมภาพันธ์ 2562. (หน้า 493-494). สงขลา: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
สุวิมล ติรกานันท์. (2557). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรพรรณ คงมั่น. (2564, พฤษภาคม). เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการอาชีพ 30001-2003. https://sites.google.com/site/eportorra/home/tdformanagework/unit2