การพัฒนาระบบให้อาหารปลาตามน้ำหนักอาหารแบบสมาร์ทฟาร์ม

Main Article Content

Panisara Hadkhuntod

Abstract

ปัญหาการขาดแคลนแรงงงานภาคเกษตรจำเป็นต้องใช้แรงงานผู้สูงอายุ เด็กและแรงงานต่างด้าวมากขึ้น พื้นที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง หมู่บ้านปากโทก ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน โดยที่เกษตรกรส่วนใหญ่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ปลาทับทิมจะกินอาหาร วันละ 2-3 ครั้งและไม่สามารถให้จำนวนมากในครั้งเดียวได้ การให้อาหารปลาทับทิมควรให้ 3-7% ของน้ำหนักตัว หากให้มากกว่านั้นจะเกินความจำเป็น และมีผลถึงต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงมากขึ้นไปด้วย เครื่องให้อาหารปลาเชิงพาณิชย์ที่พบเห็นตามท้องตลาดมักจะมีราคาสูงมาก แต่สามารถบรรจุอาหารได้ปริมาณน้อย การให้อาหารด้วยเครื่องจะให้ตามเวลาต้องคำนวณระยะเวลาในการให้โดยไม่ทราบถึงปริมาณในการให้อาหารที่เหมาะสม ทีมวิจัยจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาระบบให้อาหารปลาตามน้ำหนักอาหารแบบสมาร์ทฟาร์ม แบบใช้ต้นทุนต่ำในการผลิตและให้ตามน้ำหนักของอาหารโดยสั่งผ่านสมาร์ทโฟน ตามแนวคิดของ Dennis ได้แบ่งวิธีวิจัยเป็น 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การวิเคราะห์ การออกแบบ และการนำไปใช้  โดยใช้เทคนิคอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง ด้วย บอร์ด ESP8266 Arduino ภาษา PHP และ MariaDB ซึ่งเครื่องให้อาหารปลาสามารถให้อาหารได้ตามน้ำหนักอาหาร สามารถตั้งเวลาให้อาหารได้ 3 ครั้งต่อวัน และปล่อยอาหาร 1 กิโลกรัมต่อนาที ประสิทธิภาพของระบบอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.16, S.D. = 0.68) เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการประมงและเพื่อทดแทนการใช้แรงงานคน สามารถนำไปใช้ ประโยชน์ในด้านการเลี้ยงปลาได้

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กรวิทย์ ตันศรี. (2556). แรงงานกับการเปลี่ยนแปลงของภาคการเกษตรไทย. https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/NorthEastern/DocLib_Research/04-Labor%20with%20Agri%20Changing.pdf

กลุ่มสถิติการประมง. (2563). ประมาณการผลผลิตและมูลค่าสัตว์น้ำจากการประมงของประเทศไทย พ.ศ. 2564-2566. https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20210705093649_1_file.pdf

ชนนิกานต์ รอดมรณ์, มธุรส ผ่านเมือง และ วีรศักดิ์ จงเลขา. (2564). ประยุกต์ใช้เซนเซอร์ไร้สายสำหรับ

ฟาร์มอัจฉริยะ. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 13(2), 315-328. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/rmutsvrj/article/download/240437/172141

นวลมณี พงศ์ธนา. (2553). ปัจจัยความสำเร็จในการเลี้ยงปลานิลและปลานิลแดง. ปทุมธานี: ศูนย์ทดสอบและวิจัยประมงปทุมธานี.

ปาณิสรา หาดขุนทด. (2564). การศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง. สัมภาษณ์. 20 พฤศจิกายน 2564.

ปาณิสรา หาดขุนทด, ธนากร แสงกุดเลาะ และ อินทุราภรณ์ อินทรประจบ. (2564). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการฟาร์มปลานิลอัจฉริยะที่ได้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP), วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 13(2), 42-53. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/nakboot/article/download/243403/172352

พิเชต พลายเพชร. (2559). การจัดการทางโภชนาการสำหรับการเลี้ยงปลานิล. วารสารวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี, 24(1), 12-39. https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20170301114400_file.pdf

ยุติธรรม ปรมะ และ วศิน โชติ. (2562). การพัฒนาต้นแบบเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติโดยใช้แนวคิดอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 13(18), 75-88. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/244444

สำนักงานประมงจังหวัดพิษณุโลก. (2564). ข้อมูลการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จังหวัดพิษณุโลก ปี 2563. สัมภาษณ์, 25 กุมภาพันธ์ 2564.

เหล็กไหล จันทะบุตร, วิรุณ โมนะตระกูล และ วุธเมธี วรเสริม. (2558). การพัฒนาเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติต้นแบบโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. http://research.rmu.ac.th/rdi-mis//upload/fullreport/1632385746.pdf

Chowdhury D.K. (2011). Optimal Feeding Rate for Nile Tilapia (Oreochromis niloticus) [Master Thesis]. Norwegian University of Life Sciences.

Dennis, A., Wizom, B.H. and Roth, R.M. (2012). System Analysis and Design (5th ed.). USA. :John Wiley & Sons, Inc.