ผลของการใช้ถ่านชีวภาพจากผักตบชวา (Eichhornia crassipes) ร่วมกับการจัดการปุ๋ยต่อผลผลิตในผักสลัด (Lactuca sativa)

Main Article Content

นลินอร นุ้ยปลอด

Abstract

ถ่านชีวภาพเป็นวัสดุที่มีช่วยส่งเสริมให้ดินมีสมบัติต่าง ๆ ดีขึ้น ทั้งทางกายภาพ ชีวภาพ และเคมี ส่งผลดีต่อทั้งการนำมาประยุกต์ใช้ทางการเกษตรและต่อสิ่งแวดล้อม โดยส่วนใหญ่ถ่านชีวภาพมักผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น เปลือกทุเรียน กะลามะพร้าว เปลือกมังคุด ในท้องที่ที่ผู้วิจัยสนใจมีผักตบชวา (Eichhornia crassipes) อยู่มาก ก่อให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย และมีความต้องการปรับปรุงสภาพดินเดิมเพื่อการเพาะปลูกผักสลัด งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ถ่านชีวภาพจากผักตบชวาต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต การสะสมธาตุอาหารในผักสลัด (Lactuca sativa) รวมทั้งปริมาณธาตุอาหารในวัสดุปลูกหลังจากเก็บเกี่ยว โดยวางแผนการทดลองแบบ 2x4 factorial in CRD จำนวน 3 ซ้ำ และประกอบด้วย 2 ปัจจัย ปัจจัยแรก คือการใส่หรือไม่ใส่ถ่านชีวภาพจากผักตบชวาร่วมกับวัสดุปลูก ปัจจัยที่สอง คือ การจัดการปุ๋ย 4 กรรมวิธี ได้แก่ ไม่ใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยดิน ใส่ปุ๋ยเคมี และใส่ปุ๋ยอินทรีย์ โดยปริมาณของปุ๋ยในแต่ละกลุ่มทดลอง คือ อัตราเทียบเท่า 500 กิโลกรัมต่อไร่    ผลการทดลองพบว่า การใส่ถ่านชีวภาพจากผักตบชวาร่วมกับปุ๋ยดิน ทำให้ผักสลัดมีการเจริญเติบโต ผลผลิต  และปริมาณธาตุอาหารในผลผลิตสูงกว่าการไม่ใส่ถ่านชีวภาพอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามกรรมวิธีการจัดการปุ๋ยที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตและปริมาณธาตุอาหารในผลผลิต แต่พบว่าการใส่ถ่านชีวภาพจากผักตบชวามีผลด้านธาตุอาหารในวัสดุปลูกหลังเก็บเกี่ยว โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าถ่านชีวภาพจากผักตบชวาร่วมกับปุ๋ยดินและวัสดุปลูก สามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต เพิ่มการสะสมธาตุอาหารในพืช และช่วยกักเก็บธาตุอาหารเพื่อเป็นประโยชน์ต่อพืชในรอบการปลูกถัดไป

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

จาวภา มะนาวนอก, สันติไมตรี ก้อนคำดี, เกษสุดา เดชภิมล, วรรณวิภา แก้วประดิษฐ์ พลพินิจ, และ ดรุณี โชติษฐยางกูร. (2560). ถ่านชีวภาพ: ผลต่อคุณสมบัติของดินและการเจริญเติบโตของข้าวนาหว่านน้ำตม (การทดสอบในสภาพกระถาง). วารสารแก่นเกษตร, 45(2), 209-220. https://agkb.lib.ku.ac.th/kku/search_detail/result/387243

ณัฐจิรา อินมนต์. (2563). การผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดจากผักตบชวา [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และคณะ. (2550). โครงการ การจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่เพื่อการผลิตพืชอย่างยั่งยืน (ข้าวและอ้อย) [รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์]. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สัญญาเลขที่ RDG 4820024).

ปิยณัฐ โตอ่อน, จรุงรัตน์ พันธุ์สุวรรณ, และ สวลี อุตรา. (2559). การวิเคราะห์อัตราส่วนผสมระหว่างผักตบชวากับถ่านแกลบให้ค่าพลังงานความร้อนสูงสุด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(2), 99-107. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/56485

พักตร์เพ็ญ ภูมิพันธ์, สมชาย ชคตระการ, วรภัทร ลัคนทินวงศ์, ชวินทร์ ปลื้มเจริญ, ภิรญา ชมพูผิว, และ อรประภา เทพศิลปวิสุทธิ์. (2559). การเปรียบเทียบระหว่างปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงต่อคุณภาพข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 24(5), 753-765. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tstj/article/view/61424

ภรภัทร สุชาติกูล. (2560). การแปลผลค่าวิเคราะห์ดิน และคำแนะนำการให้ปุ๋ยยางพาราสำหรับเกษตรกรทั่วไป. วารสารยางพารา, 29, 15-24. https://km.raot.co.th/uploads/dip/userfiles/intra_สถาบันวิจัยยาง/20170922114105--PRB-2560-07.pdf

วสุ สันติมิตร, นชษร ปภาภูวโรจน์, และ ศุภวรรณ จิตรีศัพย์. (2562). การปลูกผักสลัดในวัสดุปลูกแทนดินโดยไม่ใช้สารเคมี จากปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน [รายงานวิจัย]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

ศิริลักษณ์ ศิริสิงห์ และ อรสา สุกสว่าง. (2556). การประยุกต์ถ่านชีวภาพในการปรับปรุงดินเพื่อการเกษตร. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 39(2), 212-225. http://information.soc.ku.ac.th/ojs/index.php/social/article/viewFile/134/135

สายชล สุขญาณกิจ, สิริวรรณ สมิทธิอาภรณ์, ธนภัทร ปลื้มพวก, และ ธนวรรณ พาณิชพัฒน์. (2563). ผลของถ่านชีวภาพร่วมกับการจัดการปุ๋ยต่อผลผลิตและความเข้มข้นธาตุอาหารในถั่วฝักยาวไร้ค้าง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 28(3), 443-454. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tstj/article/view/234758

สายน้ำ อุดพ้วย, ชัชธนพร เกื้อหนุน, พีรพงษ์ เชาวนพงษ์, และ ปิยะนันท์ วิวัฒน์วิทยา. (2559). ผลของถ่านชีวภาพจากเหง้ามันสำปะหลังต่อสมบัติทางเคมีของดินเหนียวในสภาพโรงเรือน. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 54. (หน้า 328-335). https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/index.php?/kukr/search_detail/dowload_digital_file/332200/90365

สุชาติ เชิงทอง และ สุทธิจิตต์ เชิงทอง. (2559). การผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากน้ำนึ่งปลาสำหรับพืชอาหารสัตว์ในนาร้าง [รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุมินทร์ญา ทีทา, มะลิ นาชัยสินธุ์, และ กลยุทธ์ ดีจริง. (2557). การผลิตเชื้อเพลิงแท่งเขียวแบบผสมผสานจากผักตบชวาผสมเปลือกมังคุด [รายงานการวิจัย]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2553). การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย [รายงานฉบับสมบูรณ์]. กรุงเทพมหานคร

อรสา สุกสว่าง. (2552). เทคโนโลยีถ่านชีวภาพ: วิธีแก้ปัญหาโลกร้อน ดิน และความยากจนในภาคเกษตรกรรม. การประชุมวิชาการเรื่อง สภาวะโลกร้อน: ความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน. (หน้า 172-184).

Carter, S., Shackley, S., Sohi, S., Suy, T.B., & Haefele, S. (2013). The Impact of Biochar Application on Soil Properties and Plant Growth of Pot Grown Lettuce (Lettuce sativa) and Cabbage (Brassica chinensis). Agronomy, 3, 404-418. https://doi.org/10.3390/agronomy3020404

Fontaine, S., Bardoux, G., Abbadie, L. & Mariotti, A. (2004). Carbon Input to Soil May Decrease Soil Carbon Content. Ecology Letters, 7(4), 314-320. https://doi.org/10.1111/j.1461-0248.2004.00579.x

Lehmann, J. (2006). Black is the New Green. Nature, 442, 624-626. https://www.nature.com/articles/442624a

Lehmann, J. (2007). A handful of Carbon. Nature, 447, 143-144. https://www.nature.com/articles/447143a

Nipa, T., Patma, V., Phrueksa, L., & Patcharee, S. (2016). Biochar and Rice Straw Have Different Effects on Soil Productivity, Greenhouse gas Emission and Carbon Sequestration in Northeast Thailand Paddy Soil. Agriculture and Natural Resources, 50, 192-198. https://doi.org/10.1016/j.anres.2016.01.003

Pandian, K., Subramaniayan, P., Gnasekaran, P., & Chitraputhirapillai, S. (2016). Effect of Biochar Amendment on Soil Physical, Chemical and Biological Properties and Groundnut Yield in Rainfed Alfisol of Semi-arid Tropics. Archives of Agronomy and Soil Science, 62, 1293-1310. https://doi.org/10.1080/03650340.2016.1139086

Schuz, H., & Glazer, B. (2012). Effects of Biochar Compared to Organic and Inorganic Fertilizers on Soil Quality and Plant Growth in a Greenhouse Experiment. Journal of Plant Nutrition and Soil Science, 175, 410-422. https://doi.org/10.1002/jpln.201100143

The World Bank Group. (2018). Agriculture Land (% of land area). The World Bank. http://data.worldbank.org/indicator/AG.LND.AGRI.ZS/countries/1W?display=graph

Yin, Y.F., He, X.H., Gao, R., Ma, H.L., & Yang, Y.S. (2014). Effects of Rice Straw and Its Biochar Addition on Soil Labile Carbon and Soil Organic Carbon. Journal of Integrative Agriculture, 13, 491-498. https://doi.org/10.1016/S2095-3119(13)60704-2

Zafar, S. (2008). Biochar and Its Role in Mitigating Climate Change. Mongabay. http://news.mongabay.com/2008/1217-zafar_biochar.html