การกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ปลูกกาแฟจากพื้นที่เสื่อมโทรมจากการปลูกข้าวโพดในจังหวัดน่าน

Main Article Content

Gitsada Panumonwatee
Savent Pampasit

Abstract

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นที่การประเมินการกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ปลูกกาแฟซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับการฟื้นฟูจากพื้นที่เสื่อมโทรมจากการปลูกข้าวโพด โดยเก็บข้อมูลพรรณไม้ด้วยการวัดขนาดเส้นรอบวงของ ลำต้นที่ระดับอก (1.3 เมตร จากระดับพื้น หรือ Diameter at Breast Height, DBH) จากแปลงเก็บตัวอย่างขนาด 100x100 เมตร และนำมาวิเคราะห์มวลชีวภาพโดยใช้สมการแอลโลเมตรี ผลการศึกษาพบว่าแปลงเก็บตัวอย่างมณีพฤกษ์มีจำนวนพรรณไม้ทั้งสิ้น 12 ชนิด 11 สกุล จำนวนต้นไม้ 4,998 ต้น โดยเป็นกาแฟ 2,916 ต้น คิดเป็นร้อยละ 91 ของจำนวนต้นไม้ทั้งหมด บริเวณแปลงเก็บตัวอย่างสบขุ่นพบพรรณไม้ทั้งสิ้น 4 ชนิด 4 สกุล จำนวนต้นไม้ 2,916 ต้น โดยเป็นกาแฟ 2,641 ต้น คิดเป็นร้อยละ 90 ของพื้นที่ จากการประเมินการกักเก็บคาร์บอนพบว่าแปลงเก็บตัวอย่างสบขุ่นมีการกักเก็บคาร์บอนสูงถึง 50.40 ton/ha ในขณะที่แปลงเก็บตัวอย่างมณีพฤกษ์มีการกักเก็บคาร์บอนเท่ากับ 14.90 ton/ha ซึ่งมีการกักเก็บคาร์บอนน้อยกว่าแปลงเก็บตัวอย่างมณีพฤกษ์ถึง 3.4 เท่า ทั้งนี้เนื่องจากในแปลงเก็บตัวอย่างสบขุ่นมีการปลูกไม้ใหญ่ (ต้นพังแหร (Trema orientalis (L.) Blume.)) อยู่ในพื้นที่จำนวนมาก จึงทำให้มีการกักเก็บคาร์บอนสูงกว่าพื้นที่มณีพฤกษ์ การศึกษานี้ชี้ชัดให้เห็นว่าระบบเกษตรกรรมบนที่สูงที่มีความเสื่อมโทรมในพื้นที่ควรมีการส่งเสริมการปลูกไม้ใหญ่ผสมผสานกับพืชเศรษฐกิจซึ่งจะเป็นการสร้างรายได้เสริมแก่ชุมชน พร้อมทั้งยังคงความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนไว้ได้

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กรมป่าไม้. (2564). สถิติป่าไม้. http://forestinfo.forest.go.th/Content.aspx?id=10408

กรมป่าไม้. (2564, 2 เมษายน). ข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้. https://data.go.th/dataset/forestarea_2562_wgs84

กรมวิชาการเกษตร. (2562). คู่มือการจัดการการผลิตกาแฟอะราบิกา. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการเกษตร. https://www.doa.go.th/hc/sisaket/wp-content/uploads/2021/08/การผลิตกาแฟอะราบิกา-1.pdf

เบญจมาส โชติทอง, วชิรพงษ์ สุวรรณโสภณ, วิลาวรรณ น้อยภา, และ สนิท มณเฑียร. (2555). รายงานโครงการสนับสนุนทางเลือกการพัฒนา เพื่อบรรลุเป้าหมายสังคมอยู่เย็นเป็นสุขจังหวัดน่าน Report of PEI-SGA in Nan Province. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. http://www.tei.or.th/publications/2011-download/2011-SGA-Nan-PEI-Report.pdf

ลดาวัลย์ พวงจิตร. (2554). การพัฒนาระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอ้างอิงตามกลไกเรดด์ สำหรับประเทศไทย, น. 17-78. ใน เรดด์พลัส: ประเด็นร้อนในเวทีเจรจาโลก แนวคิด และรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร:สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม.

สาวิตรี ม่วงศรี, สุภาวดี ผลประเสริฐ, ธนกฤต เนียมหอม และ วิธิดา พัฒนอิสรานุกูล (2564). การปลดปล่อยคาร์บอนจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในฤดูแล้งของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 29(6), 950-965. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tstj/article/download/246740/173596/911849

สายบัว เข็มเพชร และ ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา (2565). การสูญหายของพื้นที่ป่าไม้จังหวัดน่าน. วารสารแก่นเกษตร, 49(2), 312-322. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/249597

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2552). ระบบนิเวศน์ป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ. แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (พ.ศ.2553-2562). http://www.eppo.go.th/ccep/download/

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564, 18 พฤษภาคม). การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย. https://opendata.data.go.th/dataset/ghg-emission

สำนักนวัตกรรมไม้เศรษฐกิจ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2553). รายงานโครงการจัดทําบัญชีก๊าซเรือนกระจกพื้นที่สวนป่าองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้. http://www.fio.co.th/institution/woodeconomy/main_web/data/GHG_FIO_report.pdf

Cairns, M.A., Brown, S., Helmer, E.H., & Baumgardner, G.A. (1997). Root biomass allocation in the world’s upland forests. Oecologia, 111, 1–11. https://doi.org/10.1007/s004420050201

IPCC. (2006). Guidelines for National Greenhouse Gas iventories. Geneva, Switzerland: Intergovernmental panel on climate change.

IPCC. (2013). Climate Change 2013 The Physical Science Basis Working Group I Contribution to the Fifth Assessment Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change. Geneva, Switzerland: Intergovernmental panel on climate change.

IPCC. (2021). Climate Change 2021: The Physical Science Basis. Contribution of Working Group I to the Sixth Assessment Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change [Masson-Delmotte, V., P. Zhai, A. Pirani, S.L. Connors, C. Péan, S. Berger, N. Caud, Y. Chen, L. Goldfarb, M.I. Gomis, M. Huang, K. Leitzell, E. Lonnoy, J.B.R. Matthews, T.K. Maycock, T. Waterfield, O. Yelekçi, R. Yu, and B. Zhou (eds.)]. Cambridge University Press, Cambridge, United Kingdom and New York, NY, USA, 2391 pp.

Schmitt-Harsh, M., Evans, T.P., Castellanos, E., & Randolph J.C. (2012). Carbon stocks in coffee agroforests and mixed dry tropical forests in the western highlands of Guatemala. Agroforestry systems, 82(2), 141–157. https://experts.arizona.edu/en/publications/carbon-stocks-in-coffee-agroforests-and-mixed-dry-tropical-forest

Van Noordwijk M., Rahayu S., Hairiah K., Wulan YC., Farida A., & Verbist B. (2002). Carbon stock assessment for a forest-tocoffee conversion landscape in Sumber-Jaya (Lampung, Indonesia): from allometric equations to land use change analysis. Science in China Series C-Life Sciences, 45, 75–86. https://www.globalcarbonproject.org/global/pdf/landuse_canadell_zhou_noble2003/noordwijk_yc0075.pdf

Yamakura, T., Hagihara, A., Sukardjo S., & Ogawa., H. (1986). Aboveground biomass of tropical rain forest stands in Indonesian Borneo. Dr. W. Junk Publishers, Dordrecht – Printed in The Netherlands. Vegetatio, 68, 71-82. https://www.jstor.org/stable/20037339