การเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความสามารถในการดูดซับน้ำมัน จากเปลือกข้าวโพดและกาบไผ่

Main Article Content

Thidarat Promma

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความสามารถในการดูดซับน้ำมันของเปลือกข้าวโพดและกาบไผ่ในรูปแบบผง โดยการทดสอบประสิทธิภาพในการดูดซับน้ำมัน, ความสามารถในการดูดซับน้ำมัน และลักษณะทางสัณฐานวิทยาด้วยเทคนิคกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด วิเคราะห์ข้อมูล โดยคำนวณค่าร้อยละของประสิทธิภาพการดูดซับ และความสามารถในการดูดซับ พร้อมเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างวัสดุดูดซับทั้ง 2 ชนิด โดยผลการทดลองพบว่า เปลือกข้าวโพดมีประสิทธิภาพการดูดซับน้ำมันทั้งสองชนิดได้ดีมาก คืออยู่ในช่วงร้อยละ 96.67 - 97.33 ส่วนความสามารถในการดูดซับน้ำมันดีเซลของเปลือกข้าวโพดเวลาที่ดีที่สุด คือ 20 นาที โดยสามารถดูดซับได้ถึง 2.97 กรัมน้ำมัน/กรัมวัสดุดูดซับ และความสามารถในการดูดซับน้ำมันพืชของเปลือกข้าวโพดเวลาที่ดีที่สุด คือ 20 นาที สามารถดูดซับได้ถึง 3.35 กรัมน้ำมัน/กรัมวัสดุดูดซับ, กาบไผ่มีประสิทธิภาพการดูดซับน้ำมันทั้งสองชนิดได้ดีมาก คือ อยู่ในช่วงร้อยละ 98.00 - 98.22 ส่วนความสามารถในการดูดซับน้ำมันดีเซลของกาบไผ่สามารถดูดซับได้ถึง 6.03 กรัมน้ำมัน/กรัมวัสดุดูดซับ และความสามารถในการดูดซับน้ำมันพืชของกาบไผ่ สามารถดูดซับได้ถึง 6.69 กรัมน้ำมัน/กรัมวัสดุดูดซับ โดยระยะเวลาที่ดีที่สุด คือ 20 นาที ดังนั้นสรุปได้ว่า กาบไผ่มีทั้งประสิทธิภาพและความสามารถในการดูดซับน้ำมันทั้งสองชนิดได้ดีที่สุด รองลงมา คือ เปลือกข้าวโพด จึงสามารถนำวัสดุดูดซับทางธรรมชาติทั้งสองชนิดนี้ประยุกต์ใช้ในการกำจัดคราบน้ำมันที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำได้ทั้งน้ำมันพืชและน้ำมันดีเซล

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

ฐานข้อมูลความรู้ทางทะเล. (ม.ป.ป.). น้ำมันรั่วไหล. ฐานข้อมูลความรู้ทางทะเล. http://www.mkh.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=277&Itemid=235&lang=th

ประสงค์สม ปุณยอุปพันธ์. (2552). การเปรียบเทียบความสามารถการดูดซับ-กำจัดคราบน้ำมันของตัวดูดซับชีวภาพเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาใช้เป็นทุ่นลอยเพื่อการเก็บกวาดคราบน้ำมัน. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/e-research/?q=node/807

พงษ์ธิพันธ์ ผึ่งผาย, อำนวย วัฒนกรศิริ, และนภาพร แข่งขัน. (2561). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพ การดูดซับคราบน้ำมันโดยใช้วัสดุที่มีรูพรุนนาโนเทคโนโลยีธรรมชาติ. วิทยาศาสตร์คชสาส์น, 40(1), 38-49.

ภัทรานันท์ แวงวรรณ, วัลภา แต้มทอง และ สุธีลักษณ์ ไกรสุวรรณ. (2560). แผ่นเส้นใยจากเปลือกข้าวโพด. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55. (หน้า 969-976). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ศศิประภา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2560, 30 กรกฏาคม). เส้นใยธรรมชาติจากกาบไผ่. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=32694

ศิริพร พงศ์สันติสุข. (2541). การกำจัดคราบน้ำมันในน้ำโดยใช้วัสดุธรรมชาติเป็นตัวดูดซับ. มหาวิทยาลัยมหิดล/กรุงเทพฯ. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/MU.the.1998.5

Husseien, M., Amer, A. A., El-Maghraby, A., & Hamedallah, N. (2009). A comprehensive characterization of corn stalk and study of carbonized corn stalk in dye and gas oil sorption. Journal of Analytical and Applied Pyrolysis, 86(2), 360–363. https://doi.org/10.1016/j.jaap.2009.08.003

Ma, M. M. & Mu, T. H. (2016). Effects of extraction methods and particle size distribution on the structural, physicochemical, and functional properties of dietary fiber from deoiled cumin. Food Chemistry, 194, 237-246. https://doi.org/10.1016/j.foodchem.2015.07.095

Wang, C. H., Ma, Y. L., Zhu, D. Y., Wang, H., Ren, Y. F., Zhang, J. G., Thakur, K. & Wei, J. Z. (2017). Physicochemical and functional properties of dietary fiber from Bamboo Shoots (Phyllostachys praecox). Food and Agriculture, 29(7), 509-517. https://doi.org/10.9755/ejfa.2017-02-274