การพัฒนาแอปพลิชันอาหารเพื่อสุขภาพในแคลอรีที่พอเหมาะ

Main Article Content

ชลิดา จันทจิรโกวิท
จิราวัฒน์ สวนหมอก
ศรีนวล ฟองมณี

Abstract

ในการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแอปพลิชันอาหารเพื่อสุขภาพในแคลอรีที่พอเหมาะ  2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันอาหารเพื่อสุขภาพในแคลอรีที่พอเหมาะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แอปพลิเคชันอาหารเพื่อสุขภาพในแคลอรีที่พอเหมาะ และ แบบประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันอาหารเพื่อสุขภาพในแคลอรีที่พอเหมาะ ดำเนินการเก็บข้อมูลและนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติในการคำนวณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่าแอปพลิเคชันสามารถทำรายการได้ดังนี้ 1) สามารถคำนวณค่า BMI BMR สารอาหาร (คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน) และคำนวณค่าแคลอรีที่ต้องการลดและเพิ่มน้ำหนักได้ 2) สามารถแสดงรายการพลังงานที่ได้รับในแต่ละเมนูอาหาร 3) สามารถเพิ่มเมนูอาหาร รายการกิจกรรมใหม่ได้ 4) สามารถบันทึกข้อมูลอาหารในแต่ละมื้อ และจำนวนแคลอรีทั้งหมดได้ 5) สามารถคำนวณการเผาผลาญพลังงานในการทำกิจกรรมได้ 6) สามารถแสดงกราฟการบริโภค การทำกิจกรรม และน้ำหนักได้ ผลการประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันจากผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมอยู่ในระดับมาก  ( gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x} = 4.28, S.D = 0.54)

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

คุณหมอขอเล่า. (2565, 1 พฤศจิกายน). Balanced Diet คือ อะไร?. https://www.pueasukkapab.com/ge-balanced-diet-is/

คุณหมอลูกหนู. (2565, 20 ตุลาคม). อาหารเพื่อสุขภาพ ลดน้ำหนักต้องเลือกทานแบบไหน?. https://rb.gy/mqdwpq/.

จุฬาวรรณ วิสภา, วันธณี วิรุฬห์พานิช และ พิสมัย วัฒนสิทธิ์. (2563). ผลของโมบายแอปพลิเคชันการควบคุมน้ำหนักต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร กิจกรรมทางกาย และน้ำหนักตัวในวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารพยาบาลตำรวจ, 12(1), 73-85. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/241961

ดร.นพ.เทพ เฉลิมชัย.(2565, 20 ตุลาคม). บทบาทอาหารฟังก์ชัน อาหารเสริมสุขภาพ. https://www.wongkarnpat.com/viewya.php?id=2128/.

มาริษา อินทนน และ พรพิสิทธิ์ เลี้ยงอยู่. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันแนะนำการบริโภคผักและผลไม้บำรุงสุขภาพ. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 (หน้า 1706-1712). กรุงเทพมหานคร.