การพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่งที่ควบคุมด้วยตรรกศาสตร์คลุมเครือสำหรับการปลูกทุเรียน

Main Article Content

Panisara Hadkhuntod

Abstract

ทุเรียนได้รับฉายาว่าเป็นราชาผลไม้ โดยทุเรียนที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือทุเรียนหมอนทอง ในแต่ละปีสามารถส่งออกทำรายได้ให้กับประเทศไทยเป็นจำนวนมาก อำเภอนครไทย เป็นพื้นที่หนึ่งในจังหวัดพิษณุโลกที่มีการปลูกทุเรียนหมอนทองในพื้นที่ภูเขาสูง เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีปริมาณน้ำค่อนข้างจำกัด ในฤดูแล้งจึงส่งผลให้เกิดความสูญเสียกับต้นกล้าทุเรียนในพื้นที่ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพจึงมีความจำเป็นอย่างมากในการรักษาต้นกล้าทุเรียนในช่วงฤดูแล้ง ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่งที่ควบคุมด้วยตรรกศาสตร์คลุมเครือสำหรับการปลูกทุเรียน ซึ่งนำเอาฐานข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญมาเป็นแนวทางในการให้น้ำ โดยทำการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่งแล้วนำมาทดลองกับต้นกล้าทุเรียนหมอนทอง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม จำนวน 3 ต้นที่ใช้ตรรกะแบบ If-Then-Else และกลุ่มทดลอง จำนวน 3 ต้น ที่ควบคุมด้วยตรรกศาสตร์คลุมเครือ เป็นเวลา 3 เดือนในพื้นที่อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก แล้วทำการเปรียบเทียบความเจริญเติบโต และการให้น้ำเฉลี่ย ด้วยสถิติ T-test โดยศึกษา ค่าเฉลี่ยความสูงที่เพิ่มขึ้น (เซนติเมตร), ค่าเฉลี่ยจำนวนกิ่งที่เพิ่มขึ้น, ค่าเฉลี่ยความยาวใบ (เซนติเมตร) และค่าเฉลี่ยความกว้างใบ (เซนติเมตร) กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าความเจริญเติบโตของต้นทุเรียนไม่แตกต่างกัน และค่าเฉลี่ยเวลาให้น้ำ (นาที/ครั้ง) และค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำ (ลิตร/ครั้ง) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำน้อยกว่ากลุ่มควบคุม    ความแตกต่างทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถให้น้ำต้นกล้าทุเรียนโดยที่ความเจริญเติบโตไม่แตกต่างจากระบบอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่งที่ควบคุมด้วยตรรกะ If-Then-Else แต่สามารถให้น้ำได้ปริมาณน้อยกว่า หรือสามารถประหยัดน้ำได้ดีกว่านั่นเอง

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (ม.ป.ป.). การปลูกทุเรียน. https://esc.doae.go.th/ebooks/download-pdf/durian.pdf

วิรัช มณีสาร. (2538). สถิติองค์ประกอบอุตุนิยมวิทยาของภาคต่าง ๆ ในประเทศไทยในคาบ 30 ปี (พ.ศ. 2504-2533). https://tmd-dev.azurewebsites.net/info/ภูมิอากาศของประเทศไทย-หน้า-2

กลุ่มพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก. (2563). ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ไทย ถูกใจคนต่างแดน. http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/thueriiyn_240863.pdf

พยุง มีสัจ. (ม.ป.ป.). FUZZY LOGIC. https://angsila.cs.buu.ac.th/~phong/Fuzzy/fuzzylogic.pdf

ไพฑูรย์ ศรีนิล, ธารารัตน์ พวงสุวรรณ, อุไรวรรณ บัวตูม และสุมิตร คุณเจตน์. (2564). แอปพลิเคชันระบบ ควบคุมอัตโนมัติสำหรับการปลูกเมล่อนในโรงเรือนโดยใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและการควบคุม ฟัซซี. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 30(2), 74-89. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/science_kmitl/article/download/248872/172129/889053

ปาณิสรา หาดขุนทด และธนากร แสงกุดเลาะ. (2565). การพัฒนาระบบให้อาหารปลาตามน้ำหนักอาหารแบบมาร์ทฟาร์ม. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 14(20), 97-111. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/246377

วิรัช มณีสาร. (2538). สถิติองค์ประกอบอุตุนิยมวิทยาของภาคต่าง ๆ ในประเทศไทยในคาบ 30 ปี (พ.ศ. 2504-2533). เอกสารวิชาการเลขที่ 551.582-03-2538. https://tmd-dev.azurewebsites.net/info/ภูมิอากาศของประเทศไทย-หน้า-2

สุชาติ ดุมนิล. (2566). การพัฒนาระบบรดน้ำเกษตรอัจฉริยะโดยใช้ Internet of Things. วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี, 4(1), 112-126. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/257189

สุมิตร คุณเจตน์. (2561). การศึกษาปริมาณความต้องการน้ำและวิธีการให้น้ำที่เหมาะสมสำหรับทุเรียนพันธุ์หมอนทอง. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. https://buuir.buu.ac.th/bitstream/1234567890/3948/1/2564_095.pdf

สุทธิพงษ์ วิชัยวงษ์วัฒน, ไพศาล สิมาเลาเต่า และ อุบลรัตน์ ศิริสุขโภคา. (2565). การพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์รดน้ำต้นไม้ตามสภาพแวดล้อมผ่านเว็บแอปพลิเคชันร่วมกับอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (หน้า 852-862). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. https://publication.npru.ac.th/bitstream/123456789/1666/1/npru-85.pdf

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). ผลผลิตทางการเกษตรรวมสูงสูด 5 อันดับแรก. https://mis-app.oae.go.th/area/ลุ่มแม่น้ำ/แม่น้ำยม/พิษณุโลก

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565). ผลผลิตทางการเกษตรรวมสูงสูด 5 อันดับแรก. https://mis-app.oae.go.th/area/ลุ่มแม่น้ำ/แม่น้ำยม/พิษณุโลก

Dennis, A., Wizom, B.H. & Roth, R.M. (2012). System Analysis and Design (5thed.). John Wiley & Sons, Inc., USA.

Mamdani, E. H. & Assilian, S. (1975). An Experiment in Linguistic Synthesis with a Fuzzy Logic. Controller. International Journal of Machine Studies. 7(1), 1-13. https://doi.org/10.1016/S00207373(75)80002-2