การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรขัดผิวผสมกากกาแฟ สำหรับสตรีและมารดาหลังคลอดบุตร
Main Article Content
Abstract
กากกาแฟ (coffee grounds) เป็นวัสดุเหลือทิ้งที่นำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ และมีสารช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและความกระจ่างใสให้กับผิวหนัง ส่วนว่านนางคำและใบมะขามเป็นสมุนไพรในงานผดุงครรภ์ไทยที่มีประสิทธิภาพในการดูแลผิวพรรณในสตรีหลังคลอด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดว่านนางคำ ใบมะขาม และกากกาแฟที่สกัดด้วยเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 95 ด้วยวิธี DPPH radical scavenging ผลการศึกษาพบว่า กากกาแฟมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 32.25 ± 0.08 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร จากนั้นนำสารสกัดจากว่านนางคำและใบมะขามมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ขัดผิวสมุนไพรโดยผสมกับกากกาแฟจำนวน 3 สูตร (F1, F2 และ F3) โดยปรับเปลี่ยนกากกาแฟในปริมาณ 5, 7.5 และ 10 กรัม จากผลการวัดคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพของผลิตภัณฑ์ พบว่าผลิตภัณฑ์ขัดผิวสมุนไพรผสมกากกาแฟ มีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) เท่ากับ 6 มีเนื้อสัมผัสดี และหนืดปานกลาง สีน้ำตาลเข้ม กลิ่นหอมกาแฟ ไม่มีสิ่งแปลกปลอม และหลังจากทดสอบความคงตัวด้วยวิธี Heating-Cooling cycle จํานวน 6 รอบ พบว่าสูตร F1 ที่มีกากกาแฟปริมาณ 5 กรัม มีค่า pH คงที่เท่ากับ 6 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของกลิ่น สีเข้มมากขึ้น ความหนืดของผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ปริมาณฟองลดลง แต่เนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์ดีกว่าสูตรอื่น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองประกอบโรคศิลปะ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2541). ตำราการแพทย์แผนโบราณทั่วไปสาขาผดุงครรภ์. นนทบุรี.
กองการประกอบโรคศิลปะ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.). ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ข้อมูลสมุนไพร: มะขาม. https://pharmacy.su.ac.th/herbmed/herb/text/herb_detail.php?herbID=174
ชุติมณฑน์ พลอยประดับ, พุทธพร เจียมศุภกิตต์ และนิรมล ปัญญ์บุศยกุล. (2553). ฤทธิ์การต้านออกซิเดช่ันของส่วนต่าง ๆ ของผลกาแฟอาราบิก้า และกากกาแฟ. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 41(3/1). 577-580.
ธิดารัตน์ วัฒนสุข, เมทินี แสงพิทักษ์ และวราภรณ์ สิงห์คำบาล. (2557). กิจกรรมการต้านเชื้อราของน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต]. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ภาควิชาการพยาบาลสูตินรีเวช และคณะการแพทย์แผนไทย. (2553). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาผดุงครรภ์ไทย.
มาลัยพร ดวงบาล. (2552). การผลิตสารต้านอนุมูลอิสระกรดแกลลิกจากกากกาแฟสดที่เหลือใช้โดยเอนไซม์แทนเนส. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ยามีละ ดอแล และลัดดาวัลย์ ชูทอง. (2564). การพัฒนาเจลจากสารสกัดลูกประคบสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ. วารสารศิลปการจัดการ, 5(3), 862-876.
ยาอารี กะหมายสม. (2564). เอกสารการอบรมงานดูแลแม่หลังคลอดในคลินิกการแพทย์แผนไทย. ครั้งที่ 1. หลักสูตรการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วีริสา ทองสง. (2559). บทบาทและภูมิปัญญาพื้นบ้านของหมอตำแยในจังหวัดพัทลุง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ศูนย์เรียนรู้ และอนุรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพรไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตสมุทรสงคราม. ว่านนางคำ. https://skm.ssru.ac.th/news/view/wut093
สุทธิเดช ปรีชารัมย์, ธวัชชัย เจริญสุข, อรวรรณ ชุณหชาติ และ มลธิรา ศรีถาวร. (2559). ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของสารสกัดจากกากกาแฟ. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร. 1623-1629.
สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. 2560.
มผช. 1350/2560.
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. ข้อมูลพรรณไม้.กาแฟ: http://www.rspg.or.th/plants_data/use/juice2-1.htm
อรณิชา ครองยุติ และสุภัสสร วันสุทะ. (2566). ผลของสารสกัดกากกาแฟต่อการต้านอนุมูลอิสระ การยับยั้งการทํางานของแอลฟาอะไมเลสและไลเปส และการยับยั้งกระบวนการสร้างเซลล์ไขมัน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 25(1): 1623-1629. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/256019/175982
Aglawe, S., Gayke, A., Khurde, A., Mehta, D., Mohare, T., Pangavane, A., Kandalkar, S. (2019). Preparation and evaluation of polyherbal facial scrub. Journal of Drug Delivery and Therapeutics, 9, 61-63. http://dx.doi.org/10.22270/jddt.v9i2.2380
Chaiyawatthanananthn, P., Dechayont, B., Phuaklee, P., Ruangnoo, S., & Chunthorng-Orn, J. (2020). Anti-inflammatory and pain-relieving activities of medicinal herbs used for hot salt pot compression. Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine, 18(3), 455-465.
Daglia, M., Cuzzoni, M.T., Dacarro, C. (1994). Antibacterial activity of coffee: Relationship between biological activity and chemical markers. Journal of Agricultural and Food Chemistry, 42(10), 2273-2277.
Damayanti, H., Aprilliani, A., Clarissa, D.N. (2021). Formulation of Body Scrub Cream From Extract of Arabika Green Coffee (Coffea arabica L.) as Antioxidant. Advances in Health Sciences Research, 33, 337-342. 10.2991/ahsr.k.210115.071.
Desi, E., Djamil, R., Faizatun, F. (2021). Body scrub containing Virgin Coconut Oil, coffee grounds (Coffea arabica Linn) and carbon active coconut shell (Activated carbon Cocos nucifera L.) as a moisturiser and a skin brightener. Scripta Medica, 52, 76-81. https://doi.org/10.32345/ 2664-4738.1.2021.08
Gaur, R., & Yadav, A. (2020). A Journey from Woman to Mother: Hormonal Contribution. Asian Journal of Research and Reports in Endocrinology, 3(1), 6-11.
Rajamma, A.G., Bai, V., & Nambisan, B. (2012). Antioxidant and antibacterial activities of oleoresins isolated from nine Curcuma species. Phytopharmacology, 2(2), 312-317.