การสร้างตัวแบบเพื่อการพยากรณ์ราคาข้าวหอมมะลิ 105

Main Article Content

กัลยา บุญหล้า และศศิธร โกฎสืบ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแบบที่เหมาะสมและเพื่อเปรียบเทียบตัวแบบสำหรับการพยากรณ์ราคาข้าวหอมมะลิ 105  ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาคือ ข้อมูลรายเดือนราคาข้าวหอมมะลิ 105 ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2540 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2558 รวม 18 ปี (หรือ 216 เดือน) ซึ่งเก็บรวบรวมโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ศึกษาตัวแบบการพยากรณ์โดยวิธีการปรับให้เรียบแบบเอกซ์โปเนนเชียลซ้ำสองครั้ง และวิธีบ็อกซ์และเจนกินส์ และเปรียบเทียบตัวแบบสำหรับการพยากรณ์โดยใช้ค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (MSE) น้อยที่สุด ผลการศึกษาพบว่า วิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมที่สุดคือ วิธีบ็อกซ์และเจนกินส์ ซึ่งได้ตัวแบบพยากรณ์ คือ ARIMA (1,1,2) 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

ประชาชาติธุรกิจเศรษฐกิจในประเทศ. (2558). ผู้ส่งออก-โรงสี ประสานเสียงชงตั้งมาตรฐาน"หอมมะลิ"ใหม่.สืบค้นเมื่อวันที9 มกราคม พ.ศ. 2559 จาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1434446873

พรหมภรณ์ แสงภัทรเนตร. (2548). การพยากรณ์ราคาข้าวภายในประเทศ. งานวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มุกดา แม้นมินทร์. (2549). อนุกรมเวลาและการพยากรณ์. สำนักพิมพ์ประกายพรึก

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ราคาสินค้าเกษตรรายเดือน. สืบค้นวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559 จาก http://www.oae.go.th/main.php?filename=monthlyprice