การขับเคลื่อนและอุปสรรคของการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย

Main Article Content

พีรนาฏ คิดดี และสุทธิพร บุญมาก

Abstract

ขยะอิเล็กทรอนิกส์มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีความเป็นอันตรายมากกว่าขยะทั่วไปเนื่องจากมีขยะอิเล็กทรอนิกส์มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีความเป็นอันตรายมากกว่าขยะทั่วไปเนื่องจากมีองค์ประกอบของสารพิษจำนวนมากซึ่งสามารถปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมและส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา การขับเคลื่อนและอุปสรรคในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยจะมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์มากถึง 1,067,767 พันชิ้น ในปี พ.ศ. 2564  และมีอายุการใช้ประมาณ 3-7 ปี การขับเคลื่อนและอุปสรรคของกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยได้มีการวิเคราะห์ตามขั้นตอนวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ขั้นตอนการได้มาซึ่งวัตถุดิบ การผลิต การนำเข้า การจำหน่าย/การบริโภค การเก็บรวบรวม/ขนส่ง การคัดแยก/การรีไซเคิล และการบำบัด/การกำจัด แม้ว่าการขับเคลื่อนการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยได้มีร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แต่ควรผลักดันให้มีกฎหมายรองรับอย่างชัดเจน อีกทั้งยังมีอุปสรรคทั้งในด้านการกำกับดูแลในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานของรัฐ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ระบบการถอดแยก การเก็บรวบรวม และการขนส่งที่ไม่เหมาะสม

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ . 2551. คู่มือการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์. สำนักจัดการกากของเสียอันตราย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพ.

กรมควบคุมมลพิษ. 2558. ยุทธศาสตร์การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เชิงบูรณาการ ปี พ.ศ. 2557-2564. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพ.

เกศินี บุญญานันต์. 2555. ขยะอิเล็กทรอนิกส์ส่วนเกินในยุคไอที. แม่โจ้ปริทัศน์ 13, 1 (ม.ค.- ก.พ.), 41-43.

สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. ม.ป.ป. รายงานสรุปผู้บริหารโครงการพัฒนาแนวทางการประเมิน ปริมาณซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. กระทรวงอุตสาหกรรม. กรุงเทพ.

สุดารัช สิงหโกวินทร์, 2548. ขยะอิเล็กทรอนิกส์ภัยมืดที่รอวันก่อตัว. เส้นทางสีเขียว, 16 (สิงหาคม- พฤศจิกายน), 18- 23.

Kiddee, P., Naidu, R. and Wong, M.H. 2013 (a). Electronic waste management approaches: An overview. Waste Management 33, 1237-1250.

Puckett, J. and Smith, T. 2002. Exporting harm the high-tech trashing of Asia. In: Coalition, SV.T.(Ed.).