ความหนาแน่นที่เหมาะสมในการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยด้วยน้ำทิ้งของบ่อเลี้ยงปลาสวาย

Main Article Content

จงดี ศรีนพรัตน์วัฒน และจามรี เครือหงส์

Abstract

การศึกษาความหนาแน่นที่เหมาะสมในการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทย (Branchinella thailandensis) ด้วยน้ำทิ้งของบ่อเลี้ยงปลาสวาย มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอัตรารอด การเจริญเติบโต และผลผลิตของไรน้ำนางฟ้าไทยที่ระดับความหนาแน่นที่แตกต่างกัน 3 ระดับ คือ 10 20 และ 30 ตัวต่อลิตร โดยเลี้ยงเป็นระยะเวลา 15 วันด้วยน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงปลาสวาย 3 รูปแบบ คือ บ่อเลี้ยงปลาสวายเนื้อขาวแบบพัฒนา บ่อเลี้ยงปลาสวายแบบชาวบ้าน และ บ่ออนุบาลลูกปลา ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2554 ถึงเดือนกรกฎาคม 2555 ผลการศึกษาพบว่า ไรน้ำนางฟ้าไทยที่เลี้ยงด้วยน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงปลาสวายเนื้อขาวแบบพัฒนา มีอัตรารอด และการเจริญเติบโตทั้ง 3 ระดับความหนาแน่นไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) โดยมีค่าอัตรารอด และน้ำหนักอยู่ระหว่างร้อยละ 61.62±27.84 - 78.60±16.26  และ 0.04±0.02 - 0.08±0.02  กรัมต่อตัวตามลำดับ ทำให้ผลผลิตไรน้ำนางฟ้าไทยทั้ง 3 ระดับความหนาแน่นไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05)  มีค่าระหว่าง 604.71±273.94 - 770.92±551.54 กรัมต่อตัน ส่วนไรน้ำนางฟ้าไทยที่เลี้ยงด้วยน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงปลาสวายแบบชาวบ้านมีอัตรารอดทั้ง 3 ระดับความหนาแน่นไม่แตกต่างกันทางสถิติ มีค่าระหว่างร้อยละ 63.29±25.56 - 74.59±24.81 การเจริญเติบโตที่ระดับความหนาแน่น 10 ตัวต่อลิตร มีค่าเท่ากับ 0.10±0.03 กรัมต่อตัว ซึ่งสูงกว่าที่ระดับ 30 ตัวต่อลิตรที่มีค่าเท่ากับ 0.06±0.03 กรัมต่อตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)  แต่ผลผลิตของไรน้ำนางฟ้าไทยที่เลี้ยงด้วยน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงปลาสวายแบบชาวบ้าน ทั้ง 3 ระดับความหนาแน่นไม่แตกต่างกันทางสถิติ มีค่าระหว่าง 675.07±299.09 - 985.04±541.05 กรัมต่อตัน สำหรับไรน้ำนางฟ้าไทยที่เลี้ยงด้วยน้ำทิ้งจากบ่ออนุบาลลูกปลามีอัตรารอดที่ระดับความหนาแน่น 10 ตัวต่อลิตร เท่ากับร้อยละ 63.68±23.77 ซึ่งสูงกว่าที่ระดับความหนาแน่น 30 ตัวต่อลิตรที่มีค่าเท่ากับร้อยละ 38.61±21.97 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่การเจริญเติบโต และผลผลิตของไรน้ำนางฟ้าไทยที่เลี้ยงด้วยน้ำทิ้งจากบ่ออนุบาลลูกปลาทั้ง 3 ระดับความหนาแน่นไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) โดยมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 0.03±0.01 - 0.04±0.01 กรัมต่อตัว และ 269.81±122.70 - 322.24±200.03 กรัมต่อตันตามลำดับ ดังนั้นความหนาแน่นที่เหมาะสมของการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยด้วยน้ำทิ้งของบ่อเลี้ยงปลาสวาย เมื่อพิจารณาจากผลผลิต คือ 10 ตัวต่อลิตร เนื่องจากผลผลิตไม่แตกต่างจากความหนาแน่น 20 และ 30 ตัวต่อลิตร แต่มีต้นทุนในการผลิตตัวอ่อน และการจัดการในการให้อาหารต่ำกว่า

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กรมประมง. (2554). สถิติการประมงแห่งประเทศไทย 2552. กรุงเทพฯ: เอกสารฉบับที่ 9/2554 ศูนย์สารสนเทศ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

จงดี ศรีนพรัตน์วัฒน ศิริวรรณ คิดประเสริฐ นรินทร์ศักดิ์ พัวตระกูล และจามรี เครือหงษ์. (2556). ผลของชนิดและความหนาแน่นของแพลงก์ตอนในบ่อเลี้ยงปลาต่อการเติบโตและการรอดชีวิตของไรน้ำนางฟ้าไทย. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

นุกูล แสงพันธุ์ โฆสิต ศรีภูธร และละอองศรี เสนาะเมือง. (2549). ไรน้ำนางฟ้า : จิ๋วแต่แจ๋ว. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยอนุกรมวิธานประยุกต์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นุกูล แสงพันธุ์ และละออศรี เสนาะเมือง. (2547). การเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

ยุวดี พีรพรพิศาล. (2549). สาหร่ายวิทยา. เชียงใหม่: ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ละออศรี เสนาะเมือง นิวัฒ เสนาะเมือง นุกูล แสงพันธุ์ ราเมศ ชูสิงห์ ศุจิภรณ์ อธิบาย และสุพัตรา เหล็กจาน. (2543). ความหลากชนิดและการแพร่กระจายของไรน้ำนางฟ้าในประเทศไทย: รายงานการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการ BRT (BRT 142017).

ละออศรี เสนาะเมือง ภัทยา ภาคมฤค และวาสนา ศิริแสน. (2549). ไรน้ำนางฟ้าสิรินธรและอาร์ทีเมีย อาหารเสริมของปลาหมอสี. จดหมายข่าวศูนย์วิจัยอนุกรมวิธานประยุกต์, 3(8): 2-3.

ลัดดา วงศ์รัตน์. (2541). แพลงก์ตอนพืช. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Ali, A. J. and Dumont, H. J. (1995). larviculture of the fairyshrimp, Streptocephalus proboscideus (Crustacea: Anostraca): effect of food concentration and physical and chemical properties of the culture medium. Hydrobiologia, 298: 159-165.

Murugan, G., Nelis, H. J., Maeda-Martinez, A. M., Criel, G. and Dumont, H. J. C. P.-. (1995). Cis- and all-trans-canthaxanthin levels in fairy shrimps. Comparative Biochemistry and Physiology Part B: Biochemistry and Molecular Biology 110: 799-803.

Saengphan, N. and Sanoamuang, L. (2009). Effect of food concentrations on growth and survival of the Fairy Shrimp Branchinella thailandensis. Burapha Sci., Special Volume, 19-28.