การประเมินประสิทธิภาพเตาชีวมวลห้องเผาไหม้อิฐฉนวนทนไฟ

Main Article Content

ณัฐเศรษฐ์ น้ำคำ

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมของอิฐฉนวนทนไฟ สำหรับห้องเผาไหม้ของเตาชีวมวลสำหรับหุงต้มในครัวเรือน และศึกษาประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาชีวมวล เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยใช้วัตถุดิบได้แก่ อลูมินา ดินขาว และขี้เลื่อย มาผสมตามอัตราส่วนที่กำหนดจำนวน 4 สูตร  แล้วทำการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ และสร้างห้องเผาไหม้จากอิฐฉนวนทนไฟจากนั้นนำไปประกอบกับโครงสร้างเหล็กเตาชีวมวลแล้วจึงทำการทดสอบหาประสิทธิภาพเชิงความร้อนโดยวิธีต้มน้ำเดือด ซึ่งจากการทดสอบทางกายภาพของอิฐฉนวนทนไฟ พบว่าอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมคือ อลูมินา 50% ดินขาว 30% และขี้เลื่อย 20 % สามารถนำมาใช้ทำห้องเผาไหม้ได้และพบว่ามีค่าประสิทธิภาพ 25.89 % การประเมินค่าความคุ้มทุนอย่างง่ายพบว่ามีความคุ้มค่าช่วยลดรายจ่ายภายในครัวเรือน

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

ฐิติพร เจาะจง และพิสิษฏ์ มณีโชติ. (2557). การทดสอบประสิทธิภาพเตาแก๊สชีวมวลขนาดเล็ก. การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเพชรบุรีวิจัยเพื่อแผ่นดินไทยที่ยั่งยืน ครั้งที่4. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี.

ประดุฤดี สารสิทธิ์. (2541). การทดสอบสมบัติทางฟิสิกส์ในงานเซรามิกส์. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช.

ปรีดา พิมพ์ขาวขำ. (2538). เซรามิกส์. แก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพ ฯ

ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2541). เนื้อดินเซรามิก. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์พิมพลักษณ์, กรุงเทพฯ

Bhattacharya S. C., A. H. Md. M. R. Siddique, M.Augustus Leon , H-L. Pham and C. P. Mahandari. (1998). A Study on Improve Institutional Biomass Stove. Energy Program, Asian Institute of Technology, Bangkok, Thailand.