อิทธิพลของการเติมท่อนาโนคาร์บอนแบบผนังหลายชั้นต่อสมบัติเชิงกลและสมบัติทางไฟฟ้าของยางธรรมชาติ
Main Article Content
Abstract
การศึกษาสมบัติเชิงกลและสมบัติทางไฟฟ้าของยางธรรมชาติผสมท่อนาโนคาร์บอนแบบผนังหลายชั้น โดยใช้ Polyoxyethylene (20) sorbitan monolaurate (Tween 20) เป็นสารลดแรงตึงผิวเพื่อให้ท่อนาโนคาร์บอนกระจายตัวได้ดี ในการเตรียมตัวอย่างมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณการเติมท่อนาโนคาร์บอนแบบผนังหลายชั้นเป็นร้อยละ 0, 3, 4 และ 5 โดยน้ำหนัก ในสภาวะบรรยากาศปกติ เพื่อทดสอบและเปรียบเทียบสมบัติเชิงกลและสมบัติทางไฟฟ้ารวมถึงการตรวจสอบพื้นผิวด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลปรากฏว่าค่ายังมอดูลัสและค่าทนต่อแรงดึงมีค่าเพิ่มขึ้น ตามปริมาณการเติมท่อนาโนคาร์บอนที่เพิ่มขึ้น และมีค่าสูงสุดที่ร้อยละ 4 โดยน้ำหนัก โดยภาพพื้นผิวจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพบว่าส่วนประกอบต่างๆ รวมทั้งท่อนาโนคาร์บอนมีการกระจายตัวในเนื้อยางได้ดีที่สุด และสภาพการนำไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามปริมาณการเติมท่อนาโนคาร์บอนจนถึงปริมาณสูงที่สุดที่ได้ศึกษาคือร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก โดยมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเพิ่มปริมาณท่อนาโนคาร์บอนต่อไป จากนั้นได้ศึกษาการเติมท่อนาโนคาร์บอนในปริมาณที่ใกล้เคียงกับร้อยละ 4 โดยน้ำหนัก คือที่ร้อยละ 3.9 และ 4.1 โดยน้ำหนัก ผลปรากฏว่า การเติมท่อนาโนคาร์บอนในปริมาณร้อยละ 4 โดยน้ำหนัก ยังคงให้ค่ายังมอดูลัสและค่าทนต่อแรงดึงสูงที่สุด
Article Details
References
Centre of Excellence on Environmental Research and Innovation CERI. Nanosafety Database. Retrieved from http://web.eng.nu.ac.th/eng2012/ceri/nanodatabase/info2.php?cat_id =11&p_id=311
Hailan, K., Yinyin, T., Lei, Y., Feng, Y., Qinghong, F., David, H.(2017). Fabrication of graphene/natural rubber nanocomposites with high dynamic properties through convenient mechanical mixing. Composites Part B. 112: 1-7.
Kueseng, P., Sae-oui,P., Rattanasom, N.(2013). Mechanical and electrical properties of natural rubber and nitrile rubber blends filled with multi-wall carbon nanotube: Effect of preparation methods. Polymer Testing. 32: 731–738.
Nuoclay. B. (2008). Ternary Composites from Natural Rubber and Conductive Nanofillers for Electronic Sensor. (Thesis of Master Degree, Prince of Songkla University).
Pumpradub.S.(2013). Synthesis of In Situ Silica in Natural Rubber Latex via Sol-Gel Reaction and Mechanical Properties of Nanocomposite Materials. Full paper.
Saatang. N. (2014). Natural Rubber: Application as Starting Materials to Replace the Use of Raw Materials from Petroleum. Journal of Burapha University. 19(2) : 199-209.
Sangchai.W.(2008). Properties of natural rubber mixed with carbon nanotube and nanoclays. (Thesis of Master Degree. Prince of Songkla University).
Supaka. N. (2004). Electron Tunneling. Retrieved from http://www.moe.go.th/datacenter/index.php ?mod=Courses&op=showcontent&cid=140&qid=&lid=1174&sid=&page=&uid=&eid=&quiz_ansattempts=
Tangudom. P. (2012). Cure Characteristics and Mechanical Properties of Rubbers Filled with Silica Hybrid Filler. Proceedings the 4th Science Research Conference. Faculty of Science. Naresuan University: 44-49
Wuttikanokarn. J. (2007). Physical Properties of Polymers Testing [PDF Doccument]. King Mongkut’s University of Technology Thonburi. Retrieved from http://www.seem.kmutt.ac.th/research/pentec/download/MTT656%20-Chapter%206%20 Polymer%20testing1.pdf