ผลของสารสกัดเอทานอลของดอกดาวเรืองต่อการเจริญเติบโตของผักกาดหอม
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดเอทานอลของดอกดาวเรืองต่อการเจริญเติบโตของผักกาดหอม การสกัดดอกดาวเรืองได้สารสกัดเอทานอล 13.34% เมื่อเทียบน้าหนักแห้ง การทดสอบสารควบคุมการเจริญเติบโตของสารสกัดดอกดาวเรืองต่อผักกาดหอมโดยใช้ระบบไฮโดรโปนิกส์ และความเข้มข้นที่เหมาะสมเพื่อเป็นสารเทียบคือ ฮอร์โมนพืช (กรดจิบเบอเรลลิก) เข้มข้น 0.020 mg/ml ผลการทดลองพบว่าสารสกัดเอทานอลของดอกดาวเรืองที่ความเข้มข้นในช่วง 0.3-0.4 mg/ml สามารถเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต (ความสูง) และสามารถเร่งรากของผักกาดหอมได้ 3 เท่า เทียบกับตัวควบคุม ส่วนน้าหนักผักกาดหอมที่ได้จากการปลูกด้วยสารสกัดเอทานอลของดอกดาวเรืองมีน้าหนักน้อยกว่าตัวเทียบ นอกจากนี้พบว่าผักกาดหอมที่ปลูกด้วยสารสกัดเอทานอลของดอกดาวเรืองแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีกว่าตัวควบคุมและฮอร์โมนพืช (กรดจิบเบอเรลลิก) ดังนั้นสารสกัดเอทานอลของดอกดาวเรืองมีศักยภาพที่จะเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตในด้านการยืด และเร่งราก ในอนาคต
Article Details
References
กาญจนา วงศ์กระจ่าง และ นันทวัน ปานอ่วม. (2557). ฟลาโวนอยด์: สารต้านอนุมูลอิสระจากดอกดาวเรือง. รายงานสืบเนื่องการประชุมทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยกาแพงเพชร, 265.
จรงค์ศักดิ์ พุมนวน และ มณทินี ธีรารักษ์. (2555). ประสิทธิภาพของสารสกัดจากดอกดาวเรือง (Tagetes erecta L.) ในการควบคุมหนอนใยผัก (Plutella xylostella L.). วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 30(2), 1.
นพดล จรัสสัมฤทธิ์. (2537). ฮอร์โมนพืชพืชและสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช. โรงพิมพ์สหมิตร-ออฟเซท, กรุงเทพฯ, 124.
นพดล จรัสสัมฤทธิ์. (2542). สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช. สาขาไม้ผล คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 110.
พันทวี มาไพโรจน์. (2532). ฮอร์โมนพืชและสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช : บทแนะนาความรู้พื้นฐาน. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 44.
พีรเดช ทองอาไพ. (2529). ฮอร์โมนพืชพืชและสารสังเคราะห์. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 196.
สัมพันธ์ คัมภิรานนท์. (2527). ฮอร์โมนพืชพืช. ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 136.
อรชร ไอสันเทียะ และ กาญจนา วงศ์กระจ่าง. (2558). การศึกษาระบบตัวทาละลายของการสกัดสารประกอบ ฟีนอลิก สารประกอบฟลาโวนอยด์และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุดของดอกดาวเรือง วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(7), 28.
Abeles, F.B. (1973) Ethylene in Plant Biology. Academic Press, New York, 302.
El-Asdoudi, A.H. (1995). Gibberellin Effect on Pepper Vegetative Growth. Hort. Abstr, 66(7), 761.
Grzesik, M. (1996). Effect of growth regulators on plant growth and seed yield on Matthiola incana, Brillant “Barbara”. Hort. Abstr, 66(7), 772.
Predner, D., Hsieh, P. Ch., Lai, P. Y. and Charles, A. L. (2008). Evaluation of drying methods on antioxidant activity, total phenolic and total carotenoid contents of sweet potato (IpomoEtOAc batatas (L.) Lam.) var. J. International Cooperation, 3(2), 73.
Robert, N.J., Menary, R.C. and Hofman, P.J. (1991). Plant growth substances in Boronia megastigma Nees. During flowering. J. Hort. Sci, 66 (3), 327.
Taiz, L., and Zeiger, E. (1991). Cytokinins. Plant Physiology, 565.
Xu, L.W., Chen J., Huan, H.Y. and Shi, Y.P. (2012). Phytochemicals and Their Biological Activities of Plants in Tagetes L. Chinese Herbal Medicines, 4(2), 103.