สารสกัดสมุนไพรไทยต่อการต้านมะเร็งและต้านอนุมูลอิสระ

Main Article Content

อรุณ จันทร์คำ และกาญจนา วงศ์กระจ่าง

Abstract

จากการนาพืชสมุนไพร 10 ส่วน ซึ่งประกอบด้วยดอกแสบง ดอกและใบกันเกรา ใบกระโดน ใบชะอม ใบติ้ว ใบย่านาง ลูกจันผา เปลือกหุ้มเมล็ดบัวหลวงและฐานดอกนูนบัวหลวง ทาการสกัดด้วย เมทานอล (98%) นาสารสกัดทั้งหมดทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง 3 ชนิดที่แตกต่างกัน (มะเร็งปอด มะเร็งในช่องปาก และมะเร็งเต้านม) พบสารสกัดจากเปลือกหุ้มเมล็ดบัวหลวงแสดงฤทธิ์การต้านเซลล์มะเร็งปอดดีที่สุด รองลงมา คือ สารสกัดจากฐานดอกนูนบัวหลวง และลูกจันผา ตามลาดับ สาหรับผลการทดสอบฤทธิ์การต้านเซลล์มะเร็งในช่องปาก พบ สารสกัดจากใบติ้วแสดงฤทธิ์การต้านเซลล์มะเร็งดีที่สุด ตามมาด้วยสารสกัดจากลูกจันผาและสารสกัดจากดอกแสบง ส่วนการทดสอบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งเต้านม พบว่า เฉพาะสารสกัดจากลูกจันผาและดอกแสบงเท่านั้นที่แสดงฤทธิ์การต้านเซลล์มะเร็งชนิดนี้ และ ผลการทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระดีพีพีเอช พบ สารสกัดจากฐานดอกนูนบัวหลวงแสดงค่าการต้านอนุมูลอิสระสูงสุด (EC50 เท่ากับ 3.55 μg/ml) และ ยังพบว่าค่าการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าสารมาตรฐานวิตามินซีถึงสองเท่า (EC50 เท่ากับ 8.90 μg/ml) รองลงมา คือ สารสกัดจากเปลือกหุ้มเมล็ดบัวหลวงพบว่ามีค่าการต้านอนุมูลอิสระดีพีพีเอช (EC50 เท่ากับ 9.00 μg/ml) ใกล้เคียงกับสารมาตรฐานวิตามินซี สารสกัดจากใบกระโดนก็เช่นเดียวกัน คือ แสดงค่าการต้านอนุมูลอิสระด้วยค่า EC50 เท่ากับ 9.60 μg/ml สารสกัดอื่นๆ ที่แสดงค่าการต้านอนุมูลอิสระในลาดับถัดมา ได้แก่ สารสกัดจากใบติ้ว ดอกแสบง ใบย่านาง และดอกกันเกรา ตามลาดับ จากผลการวิจัยดังกล่าว ทาให้ทราบข้อมูลที่น่าสนใจมากเนื่องจากสามารถนาไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาต่อยอดสมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพต่างๆ เช่น เครื่องสาอาง อาหารเสริม หรือ ยารักษาโรคที่ดีต่อไปในอนาคตได้

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

โครงการจัดทำฐานข้อมูลพืชสมุนไพรที่สำรวจและวิจัยภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อัน เนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ) มหาวิทยาลัยขอนแก่น. “ติ้วขน หรือ ติ้วหนาม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: home.kku.ac.th/orip2/thaiherbs/. [04 พ.ย. 2016].

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ติ้วขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [15 ม.ค. 2017]

“บัญชียาหลักแห่งชาติ” (2556) [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihof.org/sites/default/files/herbal_book_56_0.pdf [15 ม.ค. 2017]

วงศ์สถิต ฉั่วสกุล และอำพล บุญเปล่ง. 2547. สมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสมุนไพร ปีที่ 11(1) มิ.ย. 2547. 33-54.

เว็บพืชเพื่อเกษตรไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://puechkaset.com/ [15 ม.ค. 2017]

MedThai. บัวหลวง สรรพคุณและประโยชน์ของดอกบัวหลวง 83 ข้อ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://medthai.com/บัวหลวง/ [15 ม.ค. 2017]

MedThai. ติ้วขน สรรพคุณและประโยชน์ของติ้วขน 12 ข้อ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://medthai.com/ติ้วขน/ [15 ม.ค. 2017]

Brien, J. O., Wilson, I., Orton, T., Pognan, F. (2000). European Journal of Biochemistry. 267,

Boonnak, N., Karalai, C., Chantrapromma, S., Ponglimanont, C., Fun, H., Kanjana-Opas, A. and Laphookhieo, S. (2006). Bioactive Prenylated Xanthones and Anthraquinones from Cratoxylum formosum ssp. pruniflorum. Tetrahedron. 62: 8850-8859.

Chaveerach, A., Lertsatitthanakorn, P., Tanee, T. Puangjit, N., Patarapadungkit, N. and Dudmoon, R. (2016). Chemical Constituents, Antioxidant Property, Cytotoxicity and Genotoxicity of Tiliacora triandra. International Journal of Pharmacognosy and Phytochemical Research. 8(5): 722-729.

Chi-Ming, L., Chiu-Li, K., Hui-Ming, W., Wei-Jen L., Cheng-Tsung, H., Hsing-Tan, L., and Chung- Yi, C., (2014). Antioxidant and Anticancer Aporphine Alkaloids from the Leaves of Nelumbo nucifera Gaertn. cv. Rosa-plena. Molecules. 19, 17829-17838.

Daduang, J., Vichitphan, S., Daduang, S., Hongsprabhas, P. and Boonsiri, P. (2011). High Phenolics of some Tropical Vegetables related to Antibacterial and Anticancer Activities. African Journal of Pharmacy and Pharmacology. 5(5): 608-615.

Fan, J-Y., Tao, Y., Chui-Mei, S., Lin, Z., Wan-Ling, P., Ya-Zhou, Z., Zhong-Zhen, Z., and Hu- Biao, C. (2014). A Systematic Review of the Botanical, Phytochemical and Pharmacological Profile of Dracaena cochinchinensis, a Plant Source of the Ethanomedicine “Dragon’s Blood”. Molecules. 19: 10650-10669.

Jonville, M., Capel, M., Frédérich, M., Angenot, L., Dive, G., Faure, R., Azas, N. and Ollivier, E. (2008). Fagraldehyde, a Secoiridoid Isolated from Fagraea fragrans. Journal of Natural Products. 71(12): 3038-2040.

Keshav, R. P. and Nisha, P. (2015). Phytochemical Profile and Biological Activity of

Nelumbo nucifera. Hindawi Publishing Corporation Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. 1-16.

Kim, A., Choi, J., Htwe, K. M., Kim, J. and Yoon, K. D. (2015). Flavonoid Glycoside from the Aerial Parts of Acacia pennata in Mynanmar. Phytochemistry. 118: 17-22.

Kriengsak, T., Unaro, jB. and Kelvin, C. (2006). Composition of ABTS, DPPH, FRAP and ORAC assays for estimating antioxidant activity from guava extracts. Journal of Food Composition and Analysis. 19: 669-675.

Likhitayawuid, K. Sawasdee, K. and Kirtikara, K. (2002). Flavonoids and Stilbenoids with COX-1 and COX-2 Inhibitory Acticity from Dracaena loureiri. Planta Medica. 68(9): 841-843.

Liu, C-M., Chiu-Li, K., Hui-Ming, W., Wei-Jen L., Cheng-Tsung, H., Hsing-Tan, L., and Chung-Yi, C., (2014). Antioxidant and Anticancer Aporphine Alkaloids from the Leaves of Nelumbo nucifera Gaertn. cv. Rosa-plena. Molecules. 19: 17829-17838.

Muhtadi, Hakim, E. H., Syah, Y. M., Juliawaty, L. D., Achmad, A. and Latip, J. (2008). Resveratrol tetramer compounds from Diterocarpus intricatus and activity againys murine leukemia P-388 cells. Proceeding of The International Seminar on Chemistry 2008. 585.

Pietta, P-G. (2000). Flavonoids as Antioxidants. Journal of Natural Products. 63: 1035-1042.

Promraksa, B., Daduang, J., Khampitak, T., Tavichakorntrakool, R., Koraneekit, A., Palasap, A., Tangrassameeprasert, R. and Patcharee, B. (2015). Anticancer potential of Cratoxylum formosum subsp. pruniflorum (Kurz.) Gogel. extracts against cervical cancer cell lines. Asian Pac J Cancer Prev. (In press)

Rattana, S., Cushnie, B., Taepongsorat, L. and Phadungkit, M. (2016). Chemical Constituents and in Vitro anticancer activity of Tiliacora triandra leaves. Pharmacognosy Journal. 8 (1): 1-3.