การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากเส้นใยกล้วยสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป

Main Article Content

บุษรา สร้อยระย้า
ชมภูนุช เผื่อนพิภพ
ดวงกมล ตั้งสถิตพร
อัชชา ศิริพันธุ์
ประพาฬภรณ์ ธีรมงคล

Abstract

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากเส้นใยกล้วยสำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป เพื่อศึกษาการจัดทำแบบร่าง ตรวจสอบและปรับปรุงแบบร่าง และจัดทำต้นแบบของบรรจุภัณฑ์ ที่ผลิตจากเส้นใยกล้วยที่สามารถป้องกันผลิตภัณฑ์ที่บรรจุภายใน เพื่อเป็นการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ และช่วยประหยัดพลังงานในการผลิตบรรจุภัณฑ์ของทศวรรษหน้า ผลการวิจัยพบว่า ผลิตภัณฑ์ประเภท ซอง (Stand-up pouch), กล่องกระดาษ (Paper Box), ถ้วยกระดาษ (Paper Cup), ถุงกระดาษ (Zip Lock Paper Bag) ความคิดเห็นในภาพรวมของปัจจัยด้านต่างๆ อยู่ในระดับดี (4.12) ทุกรูปแบบแสดงถึงความสอดคล้องของการออกแบบที่มีอัตลักษณ์ ทั้งด้านโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ และด้านกราฟิกบรรจุภัณฑ์ โดยด้านโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ พบว่าปัจจัยที่มีความคิดเห็นในทุกรูปแบบอยู่ในระดับดีมาก คือ บรรจุภัณฑ์มีรูปแบบที่มีความสวยงาม โดดเด่น (4.63) มีเอกลักษณ์เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ (4.56) และเหมาะสำหรับมอบเป็นของฝากของที่ระลึก (4.53) ในด้านกราฟิกบรรจุภัณฑ์พบว่าปัจจัยที่มีความคิดเห็นในทุกรูปแบบรวมอยู่ในระดับดีมาก คือตัวอักษรของตราสินค้ามีความเป็นเอกลักษณ์ (4.65) มีระดับความคิดเห็น มากที่สุด รองลงมาได้แก่สร้างความจดจำได้ง่าย (4.54) ส่วนปัจจัยอื่นๆ มีระดับความคิดเห็นทุกรูปแบบรวมอยู่ในระดับดี


Abstract
This research examined the green packaging development from banana fiber for instant food products. The purposes were to construct, approve and develop the sketch design; to develop banana fiber package prototypes that protect food products inside in order to eliminate packaging environment problems; and to save energy in package processing in the next decade. It was found that as for packaging design for instant banana food products such as stand-up pouch, paper box, paper cup, and zip lock paper bag, the satisfaction of every factor was at a good level (4.12) and every packaging pattern conformed to the identity design in structural and graphical packaging. As a result of studying structural packaging factors, they were at an excellent satisfaction level in every packaging pattern, including aesthetic and elegant packages (4.63), identity packages (4.56), and souvenir packages (4.53). The satisfaction for graphical packaging factors was at an excellent satisfaction level such as identity brand letters (4.65) and easier to recognize as follow.

Article Details

How to Cite
[1]
สร้อยระย้า บ., เผื่อนพิภพ ช., ตั้งสถิตพร ด., ศิริพันธุ์ อ., and ธีรมงคล ป., “การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากเส้นใยกล้วยสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป”, RMUTP Sci J, vol. 7, no. 1, pp. 9–24, Mar. 2014.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)