ความนิยมในการศึกษาต่อด้านคหกรรมศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

จุรีมาศ ชะยะมังคะลา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาอันดับความนิยมในการศึกษาต่อด้านคหกรรมศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 5 ในกรุงเทพมหานคร และศึกษาระดับความรู้พื้นฐานทางด้านคหกรรมศาสตร์ แรงจูงใจและช่องทางการรับทราบข้อมูลข่าวสารในการศึกษาต่อ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น จากผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างจัดอันดับให้มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์เป็นที่นิยมอันดับ 1 รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพและมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ตามลำดับ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม เป็นกลุ่มที่มีความรู้พื้นฐานทางคหกรรมศาสตร์ ด้านอาหารมากที่สุด แรงจูงใจในการเข้าศึกษาต่อด้านสถาบัน ให้ความสำคัญกับหลักสูตรที่เปิดสอน ด้านบุคคลจะคำนึงถึงความต้องการตนเองมากที่สุด และด้านปัจจัยภายในส่วนบุคคลจะนึกถึงอาชีพในอนาคตมากที่สุด ช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารจะเลือกรับจากอาจารย์แนะแนวและอินเตอร์เน็ตของทางมหาวิทยาลัยโดยตรงซึ่งกลุ่มตัวอย่างคิดว่ามีความน่าเชื่อถือมากที่สุด

Abstract

This research aims to rank popularity in pursuing higher-education in the field of Home Economics of 11th grade students in Bangkok Metropolitan area and to survey level of basic knowledge in Home Economics, motivation and channel in receiving information for higher education. The sample group consisted of 400 students in 11th grade in Bangkok Metropolitan. The tool employed was an opinion questionnaire. The study found that the sample group ranked Kasetsart University as the highest popular university, followed by, Suan Dusit Rajabhat University, Srinakharinwirot University, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon, Suan Sunantha Rajabhat University, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Rajamangala University of Technology Krungthe, and Phranakhon Rajabhat University, respectively. Most of the respondents had high level of knowledge in Home Economics, particularly about Food and Nutrition. Regarding motivation, the sample group gave importance to courses offered in terms of institutional aspect, students’ requirement in terms of personal aspect, and future career in terms of inherent individual factor. Concerning channel of information, most respondents chose to gain information through guidance teacher and website of the universities which the samples considered as most reliable.

Article Details

How to Cite
[1]
ชะยะมังคะลา จ., “ความนิยมในการศึกษาต่อด้านคหกรรมศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในกรุงเทพมหานคร”, RMUTP Sci J, vol. 8, no. 1, pp. 39–50, Jun. 2014.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)