วิถีชีวิตและความมั่นคงของอาหารภาคใต้

Main Article Content

ทรงสิริ วิชิรานนท์
พจนีย์ บุญนา
จงทิพย์ อธิมุติสรรค์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิตคนใต้กับความมั่นคงทางอาหารในประเด็นความสามารถใน การจัดการทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นมาประกอบอาหาร การแปรรูปอาหาร การปรุงอาหาร ประเภทอาหาร สำรับอาหารและวัฒนธรรมการบริโภคอาหาร รูปแบบวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1.การได้มาซึ่งอาหาร ได้มาโดยการซื้อจำนวนสูงสุด รูปแบบการจัดอาหาร พบว่า ชาวใต้นิยมรับประทานอาหารวันละ 3 มื้อ ภูมิปัญญา ในการแปรรูปอาหารได้แก่ การตากแห้ง การทำเค็ม การดอง การหมัก การรมควัน ส่วนปัญหาอุปสรรค และการแก้ไขการจัดการอาหาร พบว่า ชาวใต้จะมีวิธีการแก้ไขโดย การปลูกเอง หรือหาทรัพยากรอาหารอื่นมาทดแทน 2. การมีอยู่ของอาหารท้องถิ่นใต้ พบว่า มีทรัพยากรอาหารหลากหลายชนิด และการมีทรัพยากรอาหารที่หลากหลายเสมือนเป็นคลังอาหารที่เป็นหลักประกันความมั่นคงทางอาหารได้ 3. การเข้าถึงอาหารและทรัพยากรอาหารของชาวใต้ มี 4 วิธี คือ การเพาะปลูก การเก็บหาจากธรรมชาติ การซื้อ และการแบ่งปัน 4.การใช้ประโยชน์จากอาหาร ชาวใต้มีการจัดการอาหารและทรัพยากรอาหาร โดยใช้ความรู้ ปัญญาและทักษะในการจัดการทรัพยากรอาหาร ทั้งนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ใช้เป็นที่ทำกิน เพื่อผลิตอาหาร และเสาะแสวงหาอาหาร รวมถึงเป็นแหล่งวัตถุดิบในการผลิตสิ่งของเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต ส่วนทัศนคติในการพึ่งพาตนเองทางอาหารของคนใต้ส่วนใหญ่เห็นว่าสามารถพึ่งพาตนเองทางอาหารได้

Abstract

The purpose of this project is to study way of life and food security of people in the southern part of Thailand in terms of ability to use existing local resources for food, food processing, cooking, types of food, local cuisine, and food consumption culture. This research is both quantitative and qualitative. Research tools consisted of questionnaires, in-depth interviews, focus group, and participative observation. Quantitative data were statistically analyzed for frequency and percentage and qualitative data were analyzed with content analysis method. Results of the research show that, firstly, most of the local Southern people purchased food from market. Regarding consumption pattern, most local people usually eat 3 times a day. Food preservation and processing methods included drying, salt curing, pickling, fermentation, and smoking. In terms of problems and solutions in food management, southern people solved the problems by growing their own food plants or finding alternative food. Secondly, a variety of foods are available and these various types of food resources are regarded as culinary treasures which guarantee food security. Thirdly, food and food resources of local southern people could be accessed in 4 ways: planting, collecting from nature, purchasing, and sharing. Finally, for food utilization, local southern people managed their food and food resources by making use of their knowledge, talents, and skills in food resources management for use in their daily life, for producing and acquiring food, and for use as raw materials in making various utensils. Concerning attitude towards self-dependence, most southern people thought that they could depend on themselves for food.

Article Details

How to Cite
[1]
วิชิรานนท์ ท., บุญนา พ., and อธิมุติสรรค์ จ., “วิถีชีวิตและความมั่นคงของอาหารภาคใต้”, RMUTP RESEARCH JOURNAL, vol. 8, no. 1, pp. 94–107, Jun. 2014.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)