ความพึงพอใจของผู้ใช้งานเว็บไซต์การจัดการองค์ความรู้คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์และเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้เว็บไซต์การจัดการองค์ความรู้ของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิธีการเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง, แบบชั้นภูมิ และแบบบังเอิญ กำหนดสัดส่วนตามลักษณะประชากร คือ อาจารย์ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่ภายในคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน จำนวน 265 คน สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test Oneway ANOVA และการทดสอบรายคู่ LSD
ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ นิยมใช้งานโดยใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่บ้านพักอาศัยในช่วงเวลา 20.01-00.00 น. เข้าอินเตอร์เน็ตเพื่อการพูดคุยสนทนาเป็นหลัก การเข้าใช้งานเว็บไซต์ของคณะฯ นานๆ ครั้งน้อยกว่า 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ และเข้าใช้งานเว็บไซต์การจัดการองค์ความรู้ของคณะฯ นานๆ ครั้ง
ลักษณะประชากรของกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจไม่แตกต่างกันดังนี้ เพศ สถานภาพภายในคณะ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อุปกรณ์การสื่อสารไม่มีผลต่อความพึงพอใจ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่ในรายด้านมีความสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเป็นรายคู่คือ ด้านการออกแบบเว็บไซต์กับอายุ และด้านการใช้ประโยชน์ของข้อมูลกับระดับการศึกษามีความพึงพอใจแตกต่างกัน
ABSTRACT
The objectives of the research are to study users’ behavior and to compare of users’ satisfaction in knowledge management website of the Faculty of Mass Communication Technology, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. This research is a survey-based research which uses questionnaires as research tools. The research sampling consists of purposive sampling, stratified sampling and accidental sampling of 265 lecturers, students and staffs of the Faculty of Mass Communication Technology. Statistical methods used are average, percentage, standard deviation, t-test, Oneway ANOVA and LSD.
The research findings show that, in terms of users’ behavior, most users use desktop computer at their homes during 20.01-00.00 am. Most users use the internet mainly to chat. Use of faculty’s website is rare, at less than 1-3 time/week. Use of faculty’s knowledge management website is also very few.
Different characteristics of the target group do not provide significant difference in satisfaction level. Demographic factors such as sex, status within the faculty, age, education, monthly income and communication devices used do not affect users’ satisfaction. This finding does not correspond with the assumption. However, there are some aspects that significantly correspond with other assumptions. For example, age affects satisfaction level in website design while education affects satisfaction level in data utilization.