วิศวกรรมคันเซ : ระเบียบวิธีพัฒนาผลิตภัณฑ์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
วิศวกรรมคันเซ หรือบางครั้งเรียกว่า วิศวกรรมเชิงประสิทธิผล เป็นระเบียบวิธีพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความสำคัญโดยการแปลความหมายจากความรู้สึกและความต้องการของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์หรือลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์นั้นๆ แล้วนำมากำหนดเป็นตัวแปรหรือพารามิเตอร์ที่นำมาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ส่วนขั้นตอนของวิศวกรรมเชิงประสิทธิผล นั้น เป็นการประยุกต์ความคิดเห็น อารมณ์และความรู้สึกของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์มาเป็นส่วนประกอบในการออกแบบ เปรียบเสมือนการรับประกันว่า ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการออกแบบด้วยขั้นตอนนี้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ได้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีวิศวกรรมเชิงประสิทธิผลนั้น เริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกในราวต้นปี คศ. 1970 ในประเทศญี่ปุ่นและจนปัจจุบันมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง ทั้งในเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีและไต้หวัน หรือในประเทศแถบยุโรป เช่น สวีเดน สเปนและ ฝรั่งเศส โดยมีการนำมาประยุกต์ใช้งานอย่างหลากหลายสาขา เช่น วิทยาศาสตร์ประยุกต์ และวิทยาศาสตร์เชิงจิตวิทยา บทความนี้จะกล่าวถึงการนำวิศวกรรมเชิงประสิทธิผลมาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันของชาวญี่ปุ่นและชาวยุโรปในหลากหลายชนิดของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งผู้เขียนได้อธิบายในมุมมองของตัวผู้เขียนเองโดยใช้พื้นฐานความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์
Abstract
Kansei engineering, or effective engineering, is an important product development methodology in which users’ or customers’ feelings and demands on the product are translated into important parameters for product design. On the other hand, effective engineering is an application of users’ opinion, mood and feelings in product design, which seems to guarantee that the product will meet the demand of customers. This idea was first developed in early 1970s in Japan. Now, it is widely used in both Asian countries such as Japan, Korea, Taiwan and European countries such as Sweden, Spain and France. It is widely used in various fields like applied science and psychological science. This paper discusses the application of Kansei engineering in various daily-used products in both Japanese and Western lifestyles. The perspectives presented in this article are based on the authors’ engineering knowledge.