การเสริมกำลังคานลึกคอนกรีตเสริมเหล็กที่เสื่อมสภาพเนื่องจากคลอไรด์ด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเสื่อมสภาพของโครงสร้างคานลึกคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่เกิดจากคลอไรด์มีความรุนแรงและกินพื้นที่เป็น วงกว้าง ไม่จำเป็นที่โครงสร้างต้องสัมผัสกับน้ำทะเลหรือน้ำกร่อยโดยตรง แม้แต่โครงสร้างที่อยู่ห่างออกมาก็ยังได้รับผลกระทบกับปัญหาเหล่านี้ด้วย เมื่อโครงสร้างคานลึกคอนกรีตเสริมเหล็กได้รับผลกระทบจากคลอไรด์ เหล็กเสริมที่อยู่ภายในจะเกิดการกัดกร่อนจนทำให้พื้นที่หน้าตัดของเหล็กเสริมลดลง ส่งผลต่อความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุก การโก่งตัว และรูปแบบการวิบัติของคาน หากไม่มีการซ่อมแซมหรือเสริมกำลังความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้ จะลดลงอย่างต่อเนื่องจนไม่ปลอดภัยต่อการใช้งานอีกต่อไป ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการซ่อมแซมหรือเสริมกำลังให้โครงสร้างที่เสื่อมสภาพกลับมาใช้งานได้อย่างปลอดภัย งานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาการเสริมกำลังคานลึกคอนกรีตเสริมเหล็กที่เกิดการเสื่อมสภาพเนื่องจากคลอไรด์ด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ในลักษณะที่ต่างกัน 4 รูปแบบ เพื่อศึกษาหาแนวทางการเสริมกำลังที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ผลการศึกษาพบว่าการเสริมกำลังด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ทั้ง 4 รูปแบบ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักบรรทุกประลัย แต่ไม่สามารถเพิ่มความเหนียวของคานที่เกิดการเสื่อมสภาพ ให้กลับมาใกล้เคียงกับคานที่ไม่เกิดการเสื่อมสภาพได้ การเสริมกำลังที่สามารถเพิ่มน้ำหนักบรรทุกประลัยได้สูงสุดคือ การเสริมกำลังในรูปแบบตาราง และการเสริมกำลังรูปแบบที่แผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ทำมุม 45 องศากับความยาวคานสามารถป้องกันรอยร้าวในแนวทแยงได้ดีที่สุด
Article Details
References
Building Code Requirements for Structural Concrete, ACI Standard and Report 318, 2014
D. Kumar Sahoo, M. Sagar Varma Sagi, B. Singh, and P. Bhargava, “Effect of Detailing of Web Reinforcement on the Behavior of Bottle-shaped Struts,” J. Adv. Concr. Technol., vol. 8, no. 3, pp. 303–314, Oct. 2010.
M. D. Brown and O. Bayrak, “Minimum transverse reinforcement for bottle shape struts,” ACI Structure Journal, vol. 103, no. 6, pp. 813-826, Nov. 2006.
C. Suffern, A. El-Sayed, and K. Soudki, “Shear strength of disturbed regions with corroded stirrups in reinforced concrete beams,” Can. J. Civ. Eng., vol. 37, no. 8, pp. 1045–1056, Aug. 2010.
S. Xu, Z. Zhang, R. Li, and B. Qiu, “Experimental Study on the Shear Behavior of RC Beams with Corroded Stirrups,” J. Adv. Concr. Technol., vol. 15, no. 4, pp. 178–189, Apr. 2017.
Ashhad Iman and Abul Kalam Azad, “Prediction of residual shear strength of corroded reinforced concrete beam,” International Journal of Advance Structure Engineering, vol. 8, no.3, pp. 307-318, Sep. 2016.
N. Thongkod and W. Yodsudjai, “Repairing structure deteriorated due to chloride with transfer electric ion,” Civil journal, vol. 17, no. 5, pp. 50-51, Sep.–Oct. 2005.
W. Yodsudjai, “Steel corrosion occurs in reinforced concrete,” Concrete journal, vol. 4, Aug. 2008.
R. Sahamitmongkol, “Deterioration of concrete structure due to contamination chloride in mixture,” Concrete journal, vol.6, Apr. 2009.
Standard Department of Public Works and Town & Country Planning, DPT Standard 1508, 2008.
A. H. Al-Saidy, A. S. Al-Harthy, K. S. Al-Jabri, M. Abdul-Halim, and N. M. Al-Shidi, “Structural performance of corroded RC beams repaired with CFRP sheets,” Compos. Struct., vol. 92, no. 8, pp. 1931–1938, Jul. 2010.
R. Azam and K. Soudki, “Structural performance of shear-critical RC deep beams with corroded longitudinal steel reinforcement,” Cem. Concr. Compos., vol. 34, no. 8, pp. 946–957, Sep. 2012.
Alexis M S and P. M. Philip, “Shear behavior of RC deep beams retrofitted with CFRP Sheets,” International Journal of Engineering Research & Technology (IJERT), vol. 6, no. 6, pp. 1-4, 2018.