การออกแบบปรับปรุงพื้นที่หน่วยทะเบียนของงานเวชระเบียนโดยใช้แบบจำลองแถวคอย กรณีศึกษา โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

Main Article Content

นิติพัฒน์ เหล่ามงคลชัยศรี
ปาลิดา สุทธิชี
ปิยะกุล ขุนละพัน
ภาสุรี แสงศุภวานิช

บทคัดย่อ

ปัจจุบันโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ตระหนักถึงคุณภาพและการเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการ เพื่อรองรับการเข้ามารับบริการของผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้นำเสนอการออกแบบปรับปรุงพื้นที่หน่วยทะเบียนของงานเวชระเบียนโดยใช้แบบจำลองแถวคอย กรณีศึกษา โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โดยประยุกต์ใช้การจำลองสถานการณ์ด้วยโปรแกรม Promodel® เพื่อวิเคราะห์และออกแบบรูปแบบการให้บริการของหน่วยทะเบียนในงานเวชระเบียน โดยการหาจำนวนช่องให้บริการที่มีความเหมาะสมกับปริมาณความต้องการในการรับบริการปัจจุบันและอนาคต และสามารถลดระยะเวลารอคอยของผู้รับบริการได้ โดยในช่วงเวลาที่มีผู้เข้ารับบริการมากที่สุด คือ 7:00–10:00 น. คิดเป็นร้อยละ 53 สามารถแบ่งงานออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 80.27 ของจำนวนผู้รับบริการทั้งหมด มีเวลาในการให้บริการเฉลี่ย 4.00 นาทีต่องาน และกลุ่มที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 19.73 ของจำนวนผู้รับบริการทั้งหมด มีเวลาในการให้บริการเฉลี่ย 1.30 นาทีต่องาน  ผลการศึกษา พบว่า ทางเลือกแบบแถวคอยเดียวและเปิดทุกช่องให้บริการ จะมีระยะเวลาเฉลี่ยที่อยู่ในแถวคอย จาก 11.57 นาทีต่อคน เหลือเพียง 1.10 นาทีต่อคน หรือลดลงร้อยละ 90.49 และเวลาเฉลี่ยที่ผู้รับบริการอยู่ในระบบจาก 22.33 นาทีต่อคน เหลือเพียง 5.30 นาทีต่อคน หรือลดลงร้อยละ 76.26

Article Details

How to Cite
[1]
เหล่ามงคลชัยศรี น., สุทธิชี ป., ขุนละพัน ป., และ แสงศุภวานิช ภ., “การออกแบบปรับปรุงพื้นที่หน่วยทะเบียนของงานเวชระเบียนโดยใช้แบบจำลองแถวคอย กรณีศึกษา โรงพยาบาลสงขลานครินทร์”, RMUTP Sci J, ปี 17, ฉบับที่ 1, น. 129–141, มิ.ย. 2023.
บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Songklanagarind Hospital, (30 January 2021). “Hospital History,” [Online]. Available: https://hospital.psu.ac.th/

Medical Record Section, (30 January 2021). “Medical Record Data,” [Online]. Available: http://medinfo2.psu.ac.th/medrec/63_data/opdall.htm?fbclid=IwAR2bmcnGF5eTORVEOEFcHTrvNF2OmcBB2f6_5EoOTL1zypp8u5tfHRJOJoI

P. Chaichomphu, S. Pongsena and P. Seenoi, “Application of M/M/s Queuing Model to the hospital,” M.S. thesis , Statistics, Khon Kaen University, Thailand, 2017.

P. Ruengpeng, “Simulation of queuing systems for outpatient service: acase study of the internal medicineat Phatthalung hospital,” Veridian E-Journal, vol. 6, no. 3, pp. 834-845, 2013.

P. Vaenthaisong, “Reducing the time of service for psychiatric hospitals using simulation technique,” M.S. thesis, Information Technology, Suranaree University of Technology, Thailand, 2012.

T. Rattnakool, K. Sukkrajang, P. Tucktern and P. Jantavee, “Queuing Analysis on The Payment Point for Electricity of Public Sector A Case Study: Chana District.,” in The 8th Hatyai National and International Conference, Songkhla, 2017.

T. Chanapia and P. Putthasri, “The Queuing System by using the Queuing theory Case Study: Bank for Agriculture and Agricultural Co-operatives Khon Kaen Branch,” M.S. thesis, Statistics, Khon Kaen University, Thailand, 2014.

P. Sittipong and N. Samattapapong, “An Improvement of Service Queue by Using Simulation in the Medical Records Department of the Medical Center at Suranaree University of Technology,” Thai Industrial Engineering Network Journal, vol. 4, no. 1, pp. 10-16, 2018.

W. Chuncharoenkit, P. Sa-ngiamsunthorn, B. Chansawang, J. Thaithanan and T. Supapakorn, “Simulation of Queuing System for Outpatient Service: A Case Study of the Diabetic Clinic in Outpatient Department at Somdet Phra Phutthaloetla Hospital,” Thai Science and Technology Journal, vol. 26, no. 1, pp. 71-79, 2018.

D. W. Kelton, R. P. Sadowski and D. T. Sturrock, Simulation with Arena- 3rd ed.International Edition, McGraw- Hill. The McGraw-Hill Company. Inc, 2003.