รูปแบบการพัฒนาครูอาชีวศึกษาเป็นครูนักวิจัย

Main Article Content

เจริญ กาญจนะ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาครูอาชีวศึกษาเป็นครูนักวิจัย เพื่อสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานตามรูปแบบการพัฒนาครูอาชีวศึกษาเป็นครูนักวิจัยและประเมินผลการดำเนินงานตามรูปแบบการพัฒนาครูอาชีวศึกษาเป็นครูนักวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูจำนวน 48 คนโดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ เครื่องมือคัดสรรนวัตกรรม แบบประเมินคุณภาพของเค้าโครงวิจัย แบบประเมินคุณภาพของรายงานวิจัย แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความคิดเห็นต่อรูปแบบว่ามีความเป็นไปได้ในระดับสูง 2) ผู้เข้าอบรมมีความพร้อมที่จะดำเนินการวิจัย 20 เรื่อง 3) เค้าโครงวิจัยของผู้ผ่านการอบรมที่ส่งมีจำนวน 20 เรื่อง ทุกเรื่องมีคุณภาพระดับสูง 4) รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์มีจำนวน 14 เรื่องทุกเรื่องมีคุณภาพระดับสูง จัดพิมพ์เป็นบทความวิจัยและตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารบทความวิจัยของวิทยาลัยเทคนิคสตูล 5) ผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสมของรูปแบบในระดับมากที่สุด 6) ผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามรูปแบบในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ : รูปแบบ การพัฒนา ครูอาชีวศึกษา ครูนักวิจัย

 

Abstract

The purposes of the research were to procedure the Model of Vocational TeacherDevelopment to be the teacher researchers, to construct and check the quality of instrumentsused for the model and to evaluate the achievement of the model. The samples were 48teachers and selected by using purposive sampling. Data collection tools were the innovationselecting instrument, the quality evaluation and the propriety evaluation form of the Model. Thestatistics used in data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The resultshowed that; 1) The stakeholders’ view toward the possibility on the model with the researchprocess were at the high level. 2) It was revealed the 20 people who had been oriented in theconstruction of learning and teaching innovation were ready for research process. 3) Thereare 20 proposal researcher submitted were at the high level of quality. 4) There are 14completed researches submitted were at the high level which were issued as the researcharticles published in Satun Technical college research article journal. 5) The expert evaluated thepropriety on the model were at the high level. 6) The stakeholder satisfaction on the Model wereat the high level.

Keywords : Model, Vocational Teacher Development, Teacher Researchers

Article Details

How to Cite
[1]
กาญจนะ เ., “รูปแบบการพัฒนาครูอาชีวศึกษาเป็นครูนักวิจัย”, RMUTP Sci J, vol. 5, no. 1, pp. 91–101, Dec. 2012.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)