การพัฒนาเส้นใยชนิดใหม่จากเศษรังไหมและใยพืช
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตเส้นใยผสมชนิดใหม่จากเศษรังไหมและใยพืช โดยทำการทดลองการผลิตแบบหัตถกรรม จากผลการวิจัย พบว่า เศษรังไหมที่ทำการผสมกับเส้นใยพืชชนิดอื่น จำนวน 5 ชนิด เป็นการผสมทีละชนิด คือ ใยฝ้าย ใยลินิน ใยรามี ใยสับปะรด และใยกัญชง มีสมบัติทางกายภาพ โดยได้ผลดังนี้ ค่าคงทนต่อแรงฉีกขาด (Breaking Strength) ลำดับที่ 1 คือ ผ้าผืนที่ทอจากเส้นด้ายผสมระหว่าง เศษรังไหมกับใยลินิน ได้ค่าแรง 155 CN/tex ลำดับที่ 2 คือ ผืนผ้าที่ทอจากเส้นใยผสมระหว่างเศษรังไหมกับ ใยกัญชง ได้ค่าแรง 149 CN/tex ลำดับที่ 3 คือ ผืนผ้าที่ทอจากเส้นใยผสมระหว่างเศษรังไหมกับใยฝ้าย ได้ค่าแรง 142 CN/tex ลำดับที่ 4 คือ ผืนผ้าที่ทอจากเส้นใยผสมระหว่างเศษรังไหมกับใยสับปะรด ได้ค่าแรง 108 CN/tex ลำดับที่ 5 คือ ผืนผ้าที่ทอจากเส้นใยผสมระหว่างเศษรังไหมกับใยรามี ได้ค่าแรง 103 CN/tex ผลการวิจัย พบว่า ผืนผ้าที่ทอจากเส้นใยผสม 5 ชนิดที่กล่าวมา มีศักยภาพนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอ
คำสำคัญ : เศษรังไหม เส้นใย เส้นใยผสม
Abstract
The purpose of this project is to develop the production Process of the blend fibers from the remnants of waste cocoons and plant fibers by the experiment of the handicraft products. The result showed that the remnants of cocoons and 5 types of blends and the other plant fibers were mixed; namely cotton fibers, linen fibers, ramie fibers, pineapple fibers and the hemp fibers. The physical properties were performed as follow: the first breaking strength, the breaking strength of the woven fabric from the remnants of cocoons and linen fibers were 155 CN/tex. The second breaking strength of the woven fabric from the remnants of waste cocoons and the Indian hemps were 149 CN/tex. The third breaking strength of woven fabric from the remnants of waste cocoons and cotton fibers were 142 CN/tex. The forth breaking strength of woven fabric from the remnants of cocoons and pineapple fibers was 108 CN/tex. The result showed that the woven fabric from the 5 types of these blends had the potential to be applied in the household textile products.
Keywords : Waste Cocoons, Fiber Crops, Mixed Fibers