การพัฒนาผลิตภัณฑ์ป่านศรนารายณ์มัดย้อมสำหรับ กลุ่มสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด

Main Article Content

กฤตพร ชูเส้ง
สุวดี ประดับ
เกศทิพย์ กรี่เงิน

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากป่านศรนารายณ์มัดย้อมสำหรับกลุ่มสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง โดยระยะที่ 1 ทดลองวิธีการมัดและย้อมสีเพื่อความเหมาะสมกับลักษณะของเส้นใย ระยะที่2 ออกแบบลวดลายเพื่อนำไปจัดทำผลิตภัณฑ์ 3 ลวดลาย ให้ผู้เชี่ยวชาญคัดเลือกเพียง 1 ลวดลาย ระยะที่ 3การออกแบบกระเป๋าและหมวกประเภทละ 15 รูปแบบ และให้ผู้เชี่ยวชาญคัดเลือกเพียงประเภทละ 3 รูปแบบจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ ระยะที่ 4 สำรวจความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อผลิตภัณฑ์กระเป๋าและหมวกผลการศึกษา พบว่า 1. วิธีการมัดและย้อมสีที่เหมาะสมกับลักษณะของเส้นใย พบว่า การมัดทึบแล้วย้อมด้วยวิธีการย้อมร้อนโดยใช้สีไดเร็กต์เหมาะสมที่สุด 2. ลวดลายที่เหมาะสำหรับนำไปจัดทำผลิตภัณฑ์หมวกและกระเป๋าในครั้งนี้ คือ ลวดลายธรรมชาติ 3. การออกแบบกระเป๋าและหมวก กระเป๋าที่ได้รับการคัดเลือก คือ กระเป๋าแบบที่ 9, 10 และ 12 ส่วนรูปแบบหมวกที่ได้รับการคัดเลือก คือ หมวกแบบที่ 13, 14 และแบบที่ 15 4. ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้ตอบแบบที่มีต่อผลิตภัณฑ์กระเป๋าและหมวก พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจกระเป๋าแบบที่ 12 อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.02 และมีความพึงพอใจ หมวกแบบที่ 15 อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.44

คำสำคัญ : ป่าน

 

Abstract

The purposes of this research were Products development from hemp dying forHub-Kra-Pong agricultural cooperatives limited. Phase 1) the experiment selected the appropriatecharacteristics of hemp fibers to the dying. Phase 2) the experiment was tie and dye method forappropriating characteristics of hemp fibers. Phase 3) design patterns in order to create productbags and hats, design forms of 15 styles and chosen by the expert. The expert selected in eachtype 3 styles for making products to survey the product satisfaction. The education meet that.1. The characteristics of fibers suitable for the dying is which braided, can be formed into theproduct at all. 2. The experimental tie and dyeing methods to suit the characteristics of thefibers found that a thick tie dye and hot dry with direct dye suitable for using. 3. Designpatterns to create bags and hats products. This research use patterns plant and animal types.4. Results of the satisfaction of the respondents for bags and hats. Respondents were satisfiedfor styles and the colors used in dyeing of bags and hats in highest level.

Keywords : Hemp

Article Details

How to Cite
[1]
ชูเส้ง ก., ประดับ ส., and กรี่เงิน เ., “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ป่านศรนารายณ์มัดย้อมสำหรับ กลุ่มสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด”, RMUTP Research Journal, vol. 5, no. 1, pp. 110–117, Dec. 2012.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)
Author Biographies

กฤตพร ชูเส้ง, อาจารย์ สาขาวิชาออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กรุงเทพฯ 10300

กฤตพร ชูเส้ง

อาจารย์ สาขาวิชาออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กรุงเทพฯ 10300

 

สุวดี ประดับ, อาจารย์ สาขาวิชาออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กรุงเทพฯ 10300

สุวดี ประดับ

อาจารย์ สาขาวิชาออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กรุงเทพฯ 10300

เกศทิพย์ กรี่เงิน, อาจารย์ สาขาวิชาออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กรุงเทพฯ 10300

เกศทิพย์ กรี่เงิน

อาจารย์ สาขาวิชาออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กรุงเทพฯ 10300