การพยากรณ์ความต้องการและการวางแผนการผลิต : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์น้ำปลา
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยากรณ์ความต้องการและการวางแผนการผลิตกรณีศึกษาผลิตภัณฑ์น้ำปลา บริษัทตัวอย่างเป็นบริษัทที่ผลิตสินค้าแบบเก็บสต็อกเพื่อรอจำหน่าย ในการพยากรณ์ความต้องการสินค้าและการวางแผนการผลิตนี้ ได้ศึกษาถึงลักษณะรูปแบบของข้อมูลการขายในอดีต เพื่อใช้เลือกเทคนิคการพยากรณ์ให้เหมาะสมกับรูปแบบของข้อมูลการขาย
หลังจากนำระบบการพยากรณ์ความต้องการและการวางแผนการผลิตมาใช้ในบริษัทตัวอย่างแล้วผลปรากฏว่าในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 สามารถพยากรณ์การผลิตได้ 1,126,570 ขวด โดยมียอดการขายจริงในเดือนดังกล่าวทั้งหมด 1,134,322 ขวด มีความคลาดเคลื่อน 7,752 ขวด หรือ 0.69% ของยอดการขายจริง คิดเป็นต้นทุนประมาณ 116,280 บาท ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับยอดการขายจริงมากกว่าการพยากรณ์ด้วยการใช้ประสบการณ์ของผู้ตัดสินใจเพียงอย่างเดียว ซึ่งพยากรณ์การผลิตไว้ 1,274,098 ขวด มีความคลาดเคลื่อน139,776 ขวด หรือ 10.97% ของยอดการขายจริง คิดเป็นต้นทุนประมาณ 2,096,640 บาท
คำสำคัญ : การวางแผนความต้องการและการวางแผนการผลิต
Abstract
The purposes of this research were to study demand forecasting and productionplanning. The case study company manufactured the fish sauce product that was made to stock.To design the system, the sale data was studied in order to choose the appropriate forecastingtechnique for the sale data.
After using the system with the company case study, it revealed that the predictionsystem can forecast the production of 1,126,570 units in July 2008 whereas the total sales were1,134,322 units. The difference was equal to 2,718 units or 0.69 percent of the actual saleswhich was a total cost of 116,280 baht, which was more equivalent to the actual sales predictedby a sole experienced decision maker who predicted the production at 1,274,098 units. Thedifference was equal to 139,776 units or 10.97% percent of the actual sales which mean2,096,640 baht of total cost.
Keywords : Demand Forecasting and Production Planning