การประเมินคุณภาพไฟฟ้าในระบบจำหน่ายที่จ่ายไฟให้พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม

Main Article Content

เอกวัฒน์ ทองเปลว
นัฐโชติ รักไทยเจริญชีพ

Abstract

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้นำเสนอการประเมินคุณภาพไฟฟ้าในระบบสายส่งและระบบจำหน่ายที่จ่ายไฟให้พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณภาพไฟฟ้าซึ่งผู้ใช้ไฟในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมต้องการคุณภาพไฟฟ้า    ในระดับสูง โดยการวิเคราะห์คุณภาพไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในระบบสายส่ง 115 kV ระบบจำหน่าย 22 kV และ 400/230 โวลต์ พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะที่ได้จากเครื่องตรวจวัดคุณภาพไฟฟ้า จากผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแบบต่อเนื่องประกอบด้วย แรงดันรากที่สองของค่าเฉลี่ยกำลังสอง (RMS Voltage) ความถี่ (Power Frequency) แรงดันไม่สมดุล (Voltage Unbalance) ดรรชนีไฟกระพริบระยะสั้น (Short Term Flicker) ดรรชนีไฟกระพริบระยะยาว (Long Term Flicker) และฮาร์มอนิก (Harmonic) ทั้ง 3 ระดับแรงดัน ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่นำมาใช้อ้างอิงทั้งหมด ส่วนปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้ง ๆ ประกอบด้วย สภาวะชั่วครู่ (Transient)  แรงดันตกชั่วขณะ (Voltage Dip) แรงดันเกินชั่วขณะ (Voltage Swell) และไฟดับ (Interruption) จากผลการประเมินคุณภาพไฟฟ้าสรุปได้ว่าปัญหาคุณภาพไฟฟ้าเกิดจากแรงดันตกชั่วขณะมากที่สุด ซึ่งแรงดันตกชั่วขณะจะมีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกับโหลดที่มีความอ่อนไหวต่อแรงดัน จากช่วงเวลาที่ตรวจวัดพบว่ามีเหตุการณ์แรงดันตกชั่วขณะในระบบสายส่ง 115 kV มากที่สุด จำนวน 19 ครั้ง โดยแรงดันตกชั่วขณะที่เกิดขึ้นรวมทั้ง 3 ระดับแรงดันทั้งสิ้นจำนวน 30 ครั้ง มีเหตุการณ์ที่ไม่ผ่านมาตรฐาน SEMI F47 จำนวน 12 ครั้ง หรือคิดเป็นร้อยละ 40

 

Abstract

This paper presents an assessment of the quality of electricity transmission and distribution system to supply power to the industrial area. The objective is to analyze the power quality that customer in the industrial area need high level. By analyzing the power quality of Provincial Electricity Authority (PEA) in transmission system 115 kV distribution system 22 kV and 400/230 volt in Rojana industrial park from power quality meters. The study concluded that the phenomenon occurs continuously consist of RMS voltage power frequency voltage unbalance short term flicker long term flicker Harmonic meet the standards applied to all. The phenomenon occurs temporary consist of transient voltage dip voltage swell interruption in the conclusion the power quality problems caused by voltage dip most, especially with loads which are sensitive to voltage. From the moment the measurement showed that the voltage dip on transmission system 115 kV maximum of 19 times. The voltage dip that occur including three voltage level of 30 times there are events that do not pass SEMI F47 standard 12 times or 40%.

Article Details

How to Cite
[1]
ทองเปลว เ. and รักไทยเจริญชีพ น., “การประเมินคุณภาพไฟฟ้าในระบบจำหน่ายที่จ่ายไฟให้พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม”, RMUTP RESEARCH JOURNAL, vol. 10, no. 1, pp. 127–140, Mar. 2016.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)