ตัวแบบสารสนเทศคุณภาพซิกซ์ซิกม่าสำหรับการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค ของกรมควบคุมโรค

Main Article Content

รวิพร บุศยศิริ
วจี ชูกิตติกุล
ทัดทอง พราหมมณี
จารึก ชูกิตติกุล

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 5 ประการคือ เพื่อ1) สร้างขั้นตอนการวิเคราะห์และกำหนดสารสนเทศ 2)ใช้ดีเมอิกในการสร้างสารสนเทศ 3)ทราบจำนวนตัวแบบสารสนเทศ 4)ศึกษาการยอมรับตัวแบบสารสนเทศ และตัวชี้วัดระดับคุณภาพซิกซ์ซิกม่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารการปฏิบัติงาน จำนวน 116 คน ได้จากการสุ่มประชากร จำนวน 424 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ตัวแบบสารสนเทศ แบบประเมินความถูกต้องของเนื้อหา และแบบประเมินการยอมรับ ตัวแบบสารสนเทศและตัวชี้วัด ผลการวิจัยพบว่า1) ขั้นตอนการวิเคราะห์และกำหนดสารสนเทศมี 4 ขั้น 2) สามารถสร้างตัวแบบสารสนเทศด้วยดีเมอิก 5 ขั้น  3) ใช้กระบวนดีเมอิกในการสร้างสารสนเทศทั้งหมด 42 ฉบับ 4) ผู้เกี่ยวข้องส่วนมากยอมรับแบบสารสนเทศและตัวชี้วัดมากกว่าผู้ไม่ยอมรับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 5) ผู้เกี่ยวข้องส่วนมากยอมรับตัวชี้วัดมากกว่าผู้ไม่ยอมรับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Abstract

This research aims to 1) set up analysis procedures and define the Information. 2) to Apply DMAIC to the information. 3) to comprehend the number of information models. 4) to Study the acceptance of Information models. And 5) to analyze the acceptance of the Six Sigma Quality indicators . Sample group consisted of 116 people included high-ranking executives, middle executives, specialistsand operational executives. The simple random sampling from the population of 424 people. The tools used in this research comprise the information models, content correctness assessment forms, acceptance assessment forms, the information models and indicators. The results have shown that 1) the process for analyzing and defining the information consists of four procedures 2) the Information models can be formed with the five steps of DMAIC 3) applying DMAIC has shown that 42 models 4) The number of the populations accepting the models is higher than that of those who do not accept them, with statistical significance at .05 level. And 5) The number of the respondents accepting the indicators is higher than that of those who do not accept them, with statistical significance at.05 level.

Article Details

How to Cite
[1]
บุศยศิริ ร., ชูกิตติกุล ว., พราหมมณี ท., and ชูกิตติกุล จ., “ตัวแบบสารสนเทศคุณภาพซิกซ์ซิกม่าสำหรับการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค ของกรมควบคุมโรค”, RMUTP Sci J, vol. 10, no. 1, pp. 155–167, Mar. 2016.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)