การจำลองสถานการณ์การขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกข้ามพรมแดนไทย-มาเลเซีย กรณีศึกษา ด่านศุลกากรสะเดา จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การค้าชายแดนถือได้ว่ามีบทบาทที่สำคัญในการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในประเทศเพื่อนบ้าน และมีส่วนสำคัญของการสร้างรายได้ให้กับประเทศ สำหรับการค้าในภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งประเทศมาเลเซียจัดเป็นตลาดที่มีความสำคัญโดยมีมูลค่าการค้าชายแดนกับไทยในปี 2560 คิดเป็นร้อยละ 55.56 ของการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน จากการศึกษาวิจัยการค้าชายแดนประเทศไทย-มาเลเซีย พบว่า กระบวนการผ่านแดนเกิดระยะเวลารอคอยเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้มีรถบรรทุกรอคอยบริเวณด่านทำให้เกิดปัญหาจราจรติดขัด เกิดความแออัดและความคับคั่งของด่านศุลกากร ซึ่งการรอคอยดังกล่าวจะส่งผลต่อต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้นในแต่ละเที่ยวของบริษัทขนส่ง 7,141.87 บาทต่อเที่ยว และรถบรรทุกแต่ละคันใช้เวลารอคอยเฉลี่ยทั้งระบบ 264.19 นาทีต่อเที่ยว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดเวลารอคอย โดยใช้เทคนิคการจำลองสถานการณ์ ผลการจำลองพบว่าเวลารอคอยลดลงจาก 264.19 นาทีต่อเที่ยว เหลือ 13.41 นาทีต่อเที่ยว (คิดเป็นร้อยละ 94.92) และส่งผลให้ต้นทุนขนส่งลดลง 166.72 บาทต่อเที่ยว ดังนั้นการลดเวลารอคอยจะช่วยในการเพิ่มศักยภาพในการให้บริการการขนส่งบริษัทขนส่งสามารถเพิ่มเที่ยวการขนส่งสินค้าได้ และเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการของด่านศุลกากรจากเดิมการให้บริการที่เกินเวลาทำงานของด่านศุลกากรสามารถให้บริการได้ทันเวลาทำการของทางศุลกากร และสามารถแข่งขันในตลาดการค้าชายแดนได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธ์ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครReferences
[2] Department of Industrial Promotion. (2017). Hot New Logistictis. [Online]. Available: https://www.logistics.go.th. [Accessed 5 June 2560].
[3] C.Harrell, Biman K. Ghosh, Royce Bowden, Simulation Using ProModel, 2nd ed. Singapore: McGraw-Hill, 2003.
[4] C. Korkarun and J. Jittichai, "Impact of Trade Facilitation Enhancements under the ASEAN Community Agreement on International Carriage and Border Crossing, “in The Thailand Research Fund (TRF). 2011.
[5] T. Nalita, “Impact of Trade Facilitation Enhancements under the ASEAN Community Agreement on International Carriage and Border Crossing,” in The Thailand Research Fund (TRF). 2011.
[6] Averill Law and W. David Kelton, Simulation Modelling and Analysis 3rd ed, Singapore: Singapore: McGraw-Hill, 2007.
[7] Kelton, D.W., Sadowski, R.P. and Sturrock D.T. Simulation with Arena-3rd ed. International Edition. McGraw-Hill. The McGraw-Hill Company. Inc, 2003.
[8] C. Harrell, B. K. Ghosh and R. O. Bowden, SIMURATION USING PROMODEL 3rd ed, Singapore: McGraw-Hill, 2012.
[9] Robert G. Sargent, “Verifying and Validating Simulation Models,” Winter Simulation Conference, 1996.
[10] T. Prayong, “Simulations and Models,” Faculty of Science and Technology, Ubon Ratchathani University, 2004.
[11] David Cooper, Renee Vellve and Henk Hobbelink, “Growing Diversity: Genetic Resources and Local Food Security,” Intermediate Technology Publication, 1992.
[12] Ministry of Energy, “EppoHan2,” Energy Conservation Center of Thailand, Bangkok, 2001.