การวิเคราะห์โครงการผลิตหมึกพิมพ์รองพื้นสีขาวฐานตัวทำละลายสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์อ่อนตัว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์โครงการผลิตหมึกพิมพ์รองพื้นสีขาวฐานตัวทำละลายสำหรับการผลิตบรรจุภัณฑ์อ่อนตัว มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตหมึกพิมพ์สีขาวทดแทนของเดิมที่ใช้งานในปัจจุบัน โดยทำการศึกษาและเปรียบเทียบคุณสมบัติและคุณภาพทางการพิมพ์ของหมึกพิมพ์สีขาวที่สร้างขึ้นสำหรับการพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ประเภทฟิล์มพลาสติก มีวิธีการดำเนินการได้แก่ การหาผสมอัตราส่วนของหมึกพิมพ์สีขาวของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 7 กลุ่ม ทำการทดสอบคุณสมบัติของหมึกพิมพ์ในด้านค่าปริมาณของแข็งในหมึกพิมพ์ (Solid Content) ค่าความละเอียดของอนุภาคหมึกพิมพ์ (Grinding) แล้วนำหมึกพิมพ์ตัวอย่างไปพิมพ์แล้วทำการทดสอบคุณภาพงานพิมพ์ โดยตรวจสอบคุณภาพด้านค่าความแตกต่างสี (DE*ab) ค่าความทึบแสง (Opacity) บนฟิล์มพลาสติกชนิดพอลีเอทิลีน เทเรฟธาเรต (PET) และฟิล์มพลาสติกชนิดโอเร็นเทต โพลีโลพีลีน (OPP) แล้วนำไปทำการตรวจสอบค่าการยึดติด (Bond Strength) โดยการนำไปทำการเคลือบแบบรีดร่วม (Extrusion) ผลการศึกษาพบว่า คุณสมบัติของหมึกพิมพ์และคุณภาพงานพิมพ์ของหมึกตัวอย่างที่ 5 ได้ผลการทดลองผ่านมาตรฐานในทุกด้าน หลังจากนั้น ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินและผลตอบแทนการลงทุน ผลการศึกษาพบว่า หมึกพิมพ์ที่ได้จากการทดลองจะสามารถลดต้นทุนของการซื้อหมึกพิมพ์ได้ 25 บาทต่อกิโลกรัม โครงการนี้มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิของผลตอบแทน (NPV) เท่ากับ 5,053,593 บาท อัตราผลตอบแทน (IRR) เท่ากับร้อยละ 54.79 ระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ 1 ปี 8 เดือน อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C ratio) เท่ากับ 1.25 จากผลการศึกษาทั้งหมด สรุปได้ว่าโครงการผลิตหมึกพิมพ์รองพื้นสีขาวฐานตัวทำละลายสำหรับการผลิตบรรจุภัณฑ์ สามารถผลิตหมึกพิมพ์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการใช้งาน และมีความเหมาะสมต่อการลงทุน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธ์ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครReferences
T. Srithongterm (2019, June 8) Plastic packaging industry. [Online]. Available: https://www.lhbank.co.th/
A. Hansuebsia, Advances in printing technology, 1st ed. Bangkok. Chulalongkorn University Press, 1999.
M. Paklamjeak, CONSUMER PACKAGING, 1st ed. Bangkok. E Hing Printing Press, 2013.
P. Amornpinit, Recess screen and non-impact printing processes, 1st ed. Nonthaburi. University Press Sukhothai Thammathirat Open University ,1994 pp. 22.
D. Khamraksa and A. Themmathurapoj, “Studying about a Payback Period of Using the Automatic Offset Printing Ink Pumps Instead of the Traditional Offset Printing Ink Cans,” Project, Dept. Printing Tech., King Mongkut’s Univ Thonburi, Bangkok, Thailand, 2011.
W. Janjomsuke, “Modification of a single-solvent-based gravure ink for enhance wettability and substrate adhesion,” Thesis. Rochester Institute of Technology, New York, USA , 2005.
T. Ongwong and P. Lhongsomboon, “Mixing of Gravure Printing Ink to Improve Color Matching between Proof and Actual Print,” Project, Dept. Printing Tech., King Mongkut’s Univ Thonburi., Bangkok, Thailand, 2008.
T. Nantarat and C. Papusson, “Economic Feasibility Evaluation of Government Investment Project by Using Cost Benefit Analysis: A Case Study of Domestic Port Port A),” in Procedia Economics and Finance Laem- Chabang Port, Chonburi Province, 2012, pp. 307-314.
C. Piputsitee, Economics of project analysis, 3st ed . Bangkok. Office of Promotion and Training Kasetsart University, 1997
C. Chantaro and S. Thongprasert, Engineering Statistics, 1st ed. Bangkok. Chulalongkorn University Press, 1993.
A. E. Boardman, D.H. Greenberg, A. R. Vining and D. L. Weimer, Cost-Benefit analysis: Concepts and practice (2nd ed.). UpperSaddle River, NJ: Prentice-Hall., 2001.
R. Xu, A. Pekarovicova, P. D. Fleming, Y. J. Wu and M. X. Wang, “A method for evaluating ink mileage in gravure printing,” Tappi Journal, vol. 6, no. 12, pp. 27-32, Dec. 2007.