ระบบติดตามตำแหน่งที่อยู่เสือปลาผ่านระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่

Main Article Content

พรรษชล เผ่าทิตธรรม
รุจิระ มหาพรหม
สุชัยศรี ไลออน
อนันต์ ผลเพิ่ม
อภิรักษ์ จันทร์สร้าง
ชัยพร ใจแก้ว

บทคัดย่อ

ระบบติดตามเสือปลาที่มีอยู่ทั่วไปตามท้องตลาดมีราคาสูง และอุปกรณ์ติดตามมีขนาดไม่เหมาะสมกับน้ำหนักตัวของเสือปลา งานวิจัยนี้นำเสนอระบบติดตามตำแหน่งที่อยู่เสือปลาผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เริ่มจากอุปกรณ์ติดตามที่ติดอยู่ที่ตัวเสือปลารับค่าพิกัดที่อยู่มาจากดาวเทียม แล้วส่งข้อมูลที่ได้รับมาผ่านผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปยังเซิร์ฟเวอร์แล้วนำไปบันทึกลงบนฐานข้อมูล โดยออกแบบให้การรับและส่งค่าพิกัดจะเป็นการรายงานผลตามเวลาจริง หรือขณะที่ดำเนินการแบบไม่ต่อเนื่องเพื่อเป็นการประหยัดพลังงานจากนั้นนำข้อมูลมาแสดงผลผ่านทางเว็บแอปพลิเคชั่นในรูปแบบแผนที่กูเกิลแมพส์ การทดสอบระบบที่ได้พัฒนาขึ้นพบว่าอุปกรณ์ติดตามสามารถระบุพิกัดตำแหน่งได้ แม้จะมีความคลาดเคลื่อนของพิกัดอยู่บ้าง สามารถส่งข้อมูลพิกัดไปที่เซิร์ฟเวอร์ได้อย่างถูกต้อง และจากการทดสอบวัดกระแสไฟฟ้าที่ใช้พบว่าอุปกรณ์สามารถทำงานได้นานประมาณ 48 วันหากต้องการรับ-ส่งข้อมูลชั่วโมงละ 1 ครั้ง หรือหากต้องการใช้งานอุปกรณ์นาน 4 เดือนจะสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ประมาณ 9 ครั้งต่อวัน ด้วยแบตเตอรี่แบตเตอรี่ลิเธียมโพลิเมอร์ 3.7V ที่มีความจุ 3000 mAh โดยไม่ต้องชาร์จเมื่อตั้งค่าให้อุปกรณ์หยุดการทำงานโดยใช้โหมดหยุด ระบบติดตามที่พัฒนาขึ้นมีราคาต่ำกว่าระบบติดตามที่มีอยู่ในท้องตลาด และมีขนาดเหมาะสมกับน้ำหนักตัวของเสือปลา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

(14 สิงหาคม 2563). GPS คืออะไร?, [ระบบออนไลน์],แหล่งที่มา: http://www/forthtrack.co.th/2019/08

(14 สิงหาคม 2563). ระบบ GSM คืออะไร, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://ekarinv.wordpress.com/2009/02/12/ระบบ-gsm-คืออะไร/

Lorenzo Quaglietta, Bruno Herlander Martins, Addy de Jongh, António Mira and Luigi Boitani. A Low-Cost GPS GSM/GPRS Telemetry System: Performance in Stationary, 2012.

Madaline M. Cochrane, Donald J. Brown and Ron A. Moen. GPS Technology for Semi-Aquatic Turtle Research. Natural Resources Research Institute, Department of Biology, University of Minnesota-Duluth, 2019.

จรัญชัยรัตน์ วอสันเทียะ และคณะ. “ระบบติดตามนกแบบประหยัด,” การประชุมวิชาการ งานวิจัย และพัฒนาเชิงประยุกต์ ครั้งที่ 12 (ECTI- CARD 2020). 26-27 พฤษภาคม. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ นครสวรรค์ ประเทศไทย : 304-308, 2563

วรชัย วุฒิวรชัยรุ่ง และคณะ, “ระบบติดตามสัตว์แบบเวลาจริง และวิเคราะห์ความเสี่ยงในการติดเชื้อ,” การประชุมวิชาการ งานวิจัย และพัฒนาเชิงประยุกต์ ครั้งที่ 12 (ECTI-CARD 2020). 26-27 พฤษภาคม. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ นครสวรรค์ ประเทศไทย : 286-289, 2563.

Keerthika C., Mallika Singh and Tamizharasi T. Tracking system for vehicles using GPS, GSM and GPRS. B.Tech. Students, School of Computer Science and Engineering, VIT University, 2017.

รัชชานนท์ รัตนธรรม และคณะ "ระบบติดตามสัตว์ป่าแบบประหยัด", การประชุมวิชาการ งานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ ครั้งที่ 7 (ECTI-CARD 2015). 8 - 10 กรกฎาคม. ตรัง ประเทศไทย : 45-48, 2558

OriginGPS. OriginIoT(TM) Application Kit User Guide, Revision 1.3. June 16, 2021.

(12 เมษายน 2564). อัตราแลกเปลี่ยน ดอลลาร์สหรัฐ (USD) เป็น บาทไทย (THB) สำหรับ 13 ตุลาคม 2563, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://th.exchange-rates.org/Rate/USD/THB/2020-10-13

(12 เมษายน 2564). Haversine formula, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: http://wordpress.mrreid.org/2011/12/20/haversine-formula/