บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)

  1. การส่งบทความผู้นิพนธ์ต้องส่งผลงานที่จัดทำขึ้นใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
  2. บทความที่ส่งตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์จะต้องนำเสนอรายงานข้อมูลที่เป็นจริงที่เกิดจากการทำวิจัยโดยไม่มีการบิดเบือนข้อมูลใด ๆ ทั้งสิ้น
  3. หากมีการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในผลงานของผู้นิพนธ์ จะต้องอ้างอิงผลงานของผู้นั้นและปรากฏอยู่ในรายการอ้างอิงท้ายบทความให้ถูกต้องและครบถ้วน
  4. บทความที่ส่งตีพิมพ์ผู้นิพนธ์ต้องเขียนให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนด ในคำแนะนำของการเตรียมบทความต้นฉบับของวารสาร
  5. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในบทความทุกคน จะต้องมีส่วนร่วมในการทำงานวิจัยนั้นจริง ๆ
  6. ข้อความที่ปรากฏในบทความและองค์ประกอบทั้งหมดของบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงผู้เดียว
  7. ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยครั้งนี้
  8. ผู้นิพนธ์ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) อย่างชัดเจน

 

 บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors)

  1. บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่ในการพิจารณารูปแบบ ความครบถ้วนและคุณภาพของบทความก่อนเริ่มกระบวนการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่รับผิดชอบ
  2. บรรณาธิการจะไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ ในระหว่างช่วงเวลาการประเมินบทความและการตีพิมพ์วารสารฉบับนั้น ๆ แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของผู้นิพนธ์หรือผู้ประเมินบทความ
  3. บรรณาธิการจะเป็นผู้ประเมินเบื้องต้นในการตัดสินใจคัดเลือกบทความเข้าสู่กระบวนการตีพิมพ์และพิจารณาตีพิมพ์บทความที่ผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ จากความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ
  4. บรรณาธิการวารสารจะไม่รับตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์เผยแพร่จากที่อื่นมาก่อนแล้วทั้งในรูปแบบของวารสาร หรือบทความหลังการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการฉบับเต็ม (proceedings)
  5. บรรณาธิการจะไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความ ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดจนกว่าจะมีหลักฐานมาพิสูจน์ข้อสงสัยเหล่านั้นได้ และจะตัดสินโดยคำแนะนำจากผู้ประเมินบทความและพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมชัดเจนในหลักฐานสนับสนุนต่าง ๆ จากผู้นิพนธ์
  6. บรรณาธิการวารสารจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความ ตลอดจนบุคคลใด ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ดังกล่าว
  7. บรรณาธิการวารสารจะต้องตรวจสอบบทความในด้าน การคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ เพื่อให้แน่ใจว่า บทความวิจัยที่ลงตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น
  8. หากตรวจพบ การคัดลอกผลงานของผู้อื่น ในกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการจะต้องหยุดการประเมิน และติดต่อผู้ประพันธ์หลักเพื่อขอคำชี้แจง เพื่อตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์บทความนั้นๆ 

 

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)

  1. ผู้ประเมินบทความจะไม่เปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ของบทความและผู้นิพนธ์ แก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ตลอดระยะเวลาการประเมินบทความ (confidentiality)
  2. ผู้ประเมินบทความจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้นิพนธ์ร่วม รู้จักกันเป็นการส่วนตัว หรืออื่น ๆ อันพึงทำให้ขาดอิสระในการพิจารณาบทความ โดยต้องแจ้งบรรณาธิการและขอปฏิเสธการประเมินบทความ
  3. ผู้ประเมินบทความจะต้องประเมินบทความในสาขาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาจากเนื้อหาของบทความ และประเมินบทความ โดยพิจารณาจากความสำคัญ ความเข้มข้นของผลงาน ความชัดเจนและความสอดคล้องของเนื้อหาโดยไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลทางวิชาการรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ
  4. หากผู้ประเมินพบว่าบทความมีความเหมือน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานของผู้อื่นโดยมีหลักฐานชัดแจ้ง ผู้ประเมินสามารถปฏิเสธการตีพิมพ์และแจ้งแก่บรรณาธิการ
  5. ผู้ประเมินบทความอ่านบทความที่บรรณาธิการจัดส่งให้  เพื่อพิจารณาในด้านคุณค่าและประโยชน์ที่จะได้รับจากบทความ อีกทั้งให้ข้อคิดเห็นเสนอแนะเพิ่มเติมที่จะเป็นประโยชน์ทางด้านคุณภาพทางวิชาการ ก่อนที่จะนำส่งกลับคืนยังกองบรรณาธิการเพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

อ้างอิงและดัดแปลงจาก: เอกสารการอบรม ThaiJo 2.0