การพัฒนาโมดูลตรวจวัดคุณภาพน้ำในเวลาจริงแบบเครือข่าย

Main Article Content

วิศวะ สื่อสุวรรณ
พงษ์ดนัย จิตตวิสุทธิกุล
บุญธง วสุริย์

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันการบริหารการจัดการคุณภาพน้ำ เป็นส่วนสำคัญสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้ได้คุณภาพและเหมาะสมคุ้มค่าต่อการลงทุน ดังนั้นโครงการการพัฒนาโมดูลตรวจวัดคุณภาพน้ำในเวลาจริงแบบเครือข่ายสำหรับกลุ่มบ่อเลี้ยงในฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ จึงมีวัตถุประสงค์ด้วยกันสองประการ ได้แก่ การออกแบบระบบเพื่อวัดคุณภาพน้ำแบบเรียลไทม์บนระบบเครือข่าย และเพื่อวัดประสิทธิภาพความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์รวมไปถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีในเชิงพาณิชย์ ซึ่งผลการดำเนินงานพบว่า โมดูลที่พัฒนาขึ้นสามารถตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายในน้ำ ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าความเค็ม และอุณหภูมิ ได้โดยพบว่า ในช่วงเวลาวิกฤติ (22.00-07.00 น.) ค่าเฉลี่ยของออกซิเจนละลายในน้ำ มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 5.8 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานตลอดการวัดเท่ากับ 0.168  ค่าเฉลี่ยของค่าความเป็นกรด-ด่างมีค่าเท่ากับ 5.97 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานตลอดการวัดเท่ากับ 0.114  ค่าเฉลี่ยของค่าความเค็มมีค่าคงที่เท่ากับ 0.477 ส่วนในพันส่วน และค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิค่าเท่ากับ 28.63 องศาเซลเซียสโดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานตลอดการวัดเท่ากับ 0.203 ซึ่งระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถจัดเก็บหรือรวบรวมข้อมูลตามเวลาจริง และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ที่ได้ปรากฏว่ามีค่า PBP = 0.925, NPV=43,200 บาท/ปี, จุดคุ้มทุนจะต้องผลิต 1,702 กิโลกรัมต่อปี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สถิติผลผลิตการเลี้ยงสัตว์น้ำจืด กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, 2556.

ปกป้อง อุ่มอยู่ วิเชียร วรสายัณห์ และเนตรดาว วิเศษโส. การเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei Boone) ในระบบนํ้าหมุนเวียนเปรียบเทียบกับระบบปิดที่มีการบำบัดเลนพื้นบ่อ. สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2556.

เจษฎา อรุณฤกษ์ สมรรถชัย จันทรัตน์ และวีระชัย แย้มวจี. การพัฒนาระบบการตรวจวัดค่าคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งขาว. บทความวิจัย-วิชาการ. การประชุมวิชาการระดับประเทศ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (National Conference on Information Technology: NCIT) ครั้งที่ 7. ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลธัญบุรีปทุมธานี, 2558.

ธวัชชัย ทองเหลี่ยม วีระศักดิ์ ชื่นตา หฤทัย ดิ้นสกุล และบรรเจิด เจริญพันธ์. ระบบตรวจวัด คุณภาพนํ้าและประมวลผลแบบอัตโนมัติสำหรับกระชังปลาทับทิม. บทความวิจัย-วิชาการ การประชุมวิชาการงานวิจัย และพัฒนาเชิงประยุกต์ ครั้งที่ 6 การพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อให้ โลกมีสันติสุข. วันที่ 21-23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่, 2557.

ไมโครคอนโทรลเลอร์ สืบค้นจาก. https://th.wikipedia.org/wiki/ไมโครคอนโทรลเลอร์

เว็บเซิร์ฟเวอร์ สืบค้นจาก. https://th.wikipedia.org/wiki/เว็บเซิร์ฟเวอร์

ณัฐพงศ์ พันธุนะ และสมเกียรติ ทองแก้ว การสร้างชุดเฝ้าระวังค่าความเป็นกรดเป็นเบสในน้ำแบบเวลาจริง. บทความวิจัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2561.

กีรดิษ สายพัทลุง และคณะ. ม.ป.ป. ระบบควบคุมการเติมออกซิเจนแบบอัตโนมัติในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยใช้พลังงานทดแทนร่วม. บทความวิจัย-วิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี วิทยาเขตบางขุนเทียน และภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พัชราวลัย ศรียะศักดิ์ นิวุฒิ หวังชัย ชนกันต์ จิตมนัส จงกล พรมยะ และหลุยส์ เลอเบล ผลกระทบจากสภาพอากาศและฤดูกาลต่อคุณภาพนํ้าในบ่อเลี้ยงสัตว์นํ้า. บทความวิชาการ KKU Res. J. 19(5), 743-751, 2014.

การตรวจวัดความเค็มของน้ำ สืบค้นจาก. https://legatool.com/wp/4556/