การพัฒนาระบบบริหารจัดการผ้าในโรงพยาบาลด้วยเทคโนโลยี อาร์เอฟไอดี ออกสู่เชิงพาณิชย์

Main Article Content

เกียรติศักดิ์ สละยอง
ฐิติพงษ์ เลิศวิริยะประภา
กิตติศักดิ์ แพบัว
เอกรัฐ บุญภูงา
ลลิดา ไชยแสง
อรรถพร คุ้มจินดา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาระบบการบริหารจัดการผ้าในโรงพยาบาลโดยใช้เทคโนโลยี UHF-RFID เพื่อทำให้สามารถออกสู่เชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งแบ่งออกเป็นการออกแบบฮาร์ดแวร์และการสร้างระบบ ได้แก่ สถานี สายอากาศ และการจัดการข้อมูลของผ้าและการจัดการด้านต่าง ๆ ผ่านระบบแม่ข่ายคอมพิวเตอร์ ในงานวิจัยนี้ได้ทำการออกแบบโครงสร้างสถานีและพัฒนาสายอากาศ เพื่อใช้อ่านป้ายข้อมูล ที่ติดไว้กับผ้าให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อการใช้งานมากขึ้น อีกทั้งยังมีอุปกรณ์ที่ใช้อ่านป้ายข้อมูลที่ติดไว้กับผ้าแบบมือถือ ซึ่งพบว่ามีความเหมาะสมต่อการใช้งาน มีค่าความผิดพลาดจากการอ่านข้อมูลน้อยมาก นอกจากนี้ระบบการจัดการข้อมูลผ้าผ่านระบบแม่ข่ายคอมพิวเตอร์ ยังมีความเหมาะสมต่อการใช้งานเป็นอย่างมาก เนื่องจากระบบดังกล่าวไม่จำเป็นต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ที่อยู่ประจำสถานี จึงทำให้ระบบง่ายต่อการจัดการ และที่สำคัญการทำให้งานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์ได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการตลาดและการลงทุนมาประกอบกัน ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานหรือลูกค้าเห็นประโยชน์และแนวทางการจัดการด้านต่าง ๆ เมื่อมีการนำระบบไปใช้งานจริง ทำให้ปัจจุบันงานวิจัยนี้เข้าถึงผู้ใช้งานอย่างเป็นรูปธรรม และทำให้เกิดความสนใจที่จะลงทุนใช้ระบบในงานวิจัยดังกล่าวนี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

K. Salayong, K. Phaebua, T. Lertwiriyaprapa, A. Boonpoonga, L. Chaiyasang and A. Kumjinda, “Linen Laundry Management System in Hospital by Using UHF-RFID,” RI2C. 11-13 December. Arnoma Grand Hotel Bangkok : 1-4, DOI : 10.1109/RI2C48728.2019.8999948, 2019.

กฤษฎา จุติมงคลกุล. “การพัฒนา ผู้จัดการงานวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม ด้านเศรษฐกิจ”. การประเมินมูลค่าผลงานวิจัยและเทคโนโลยีและกลยุทธ์การนำผลงานวิจัยออกสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์. 14 กันยายน. โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส กทม : 1–60, 2565.

K. AHSAN, H. SHAH and P. KINGSTON, “RFID Applications : An Introductory and Exploratory Study,” IJCSI International Journal of Computer Science Issues., Vol. 7, Issue 1, No. 3, January 2010.

A. PARKASH, T. KUNDU and P. KAUR, “THE RFID TECHNOLOGY AND ITS APPLICATIONS : A REVIEW,” International Journal of Electronics, Communication & Instrumentation Engineering Research and Development (IJECIERD)., ISSN 2249-684X, Vol. 2, Issue 3, pp. 109-120, 2012.

E. ILIE-ZUDOR, Z. KEMÉNY, P. EGRI and L.MONOSTORI, “THE RFID TECHNOLOGY AND ITS CURRENT APPLICATIONS,” The Modern Information Technology in the Innovation Processes of the Industrial Enterprises-MITIP. 11-12 September. Budapest HUNGARY : 29-36, 2006.

R. Nayak, A. Singh, R. Padhye and L. Wang, “RFID in textile and clothing manufacturing: technology and challenges,” Fashion and Textiles a Springer Open Journal., 2, 9, DOI : 10.1186/s40691-015-0034-9, 2015.

A. Moraru, E. Helerea, C. Ursachi and M. D. Călin, “RFID system with passive RFID tags for textiles” International Symposium on Advanced Topics in Electrical Engineering (ATEE). 23-25 March. Bucharest ROMANIA : 410-415, DOI : 10.1109/ATEE.2017.7905132, 2017.

V. ÖZYAZGAN, V. UZUN and S. BILGIN, “EVALUATION OF THE QR CODE FABRIC TAG SYSTEM FOR TEXTILE COMPANIES IN TURKEY,” Tekstil ve Mühendis., 23 (102) : 126-139., DOI : 10.7216/1300759920162310206, 2016.

T. K. Agrawal, L. Koehl and C. Campagne, “A secured tag for implementation of traceability in textile and clothing supply chain,” The International Journal of Advanced Manufacturing Technology., DOI : 10.1007/s00170-018-2638-x, 2018.

V. Abdulova, V. Özyazgan and S. Bilgin, “QR Code Fabric Tag for Textile Companies in Turkey,” Asian Journal of Computer and Information Systems., ISSN : 2321 - 5658, Vol. 04, Issue 02, 2016.

ฐิติพงษ์ เลิศวิริยะประภา และคณะ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ และคู่มือการใช้งานงานระบบการบริหารจัดการผ้าด้วย RFID. โครงการบริหารจัดการผ้าในโรงพยาบาลด้วยเทคโนโลยีระบบอาร์เอฟไอดี (RFID). บริษัท อาร์เอฟเอส จำกัด, 2562.