การออกแบบและพัฒนาระบบติดตามเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข

Main Article Content

สิทธิโชค หงษ์ทอง
สุขุมาล กิติสิน

บทคัดย่อ

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพจิตนั้นเป็นเรื่องที่เคยถูกมองข้ามและเหมือนจะไกลตัว แต่ในความเป็นจริงเป็นเรื่องที่ไกล้ตัวและเรื่อรังในสังคมไทยมานาน เช่นเหตุการณ์ระบาดของ covid-19 ที่ผ่านมา ทำคนผู้คนเกิดสภาวะดังกล่าวสูงขึ้นส่งผลกระทบที่ตามมาอย่างเลี้ยงไม่ได้ทั้ง สภาวะความเครียดที่ไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ การหมดไฟจากการทำงาน การเป็นโรคซึมเศร้าที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงขึ้น จนสุดท้ายอาจทำให้เกิดการฆ่าตัวตาย โดยทางภาครัฐเดิมมีมาตรการที่ให้อาสาสมัครสาธารณสุขได้เข้าไปสอบถามผู้ที่มีความเสี่ยงตามบ้านเรือนต่างๆเพื่อจัดเก็บเป็นข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวังอยู่แล้ว ด้วยการใช้เอกสารเข้าไปจดบันทึกตามบ้านเรือนแล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญไปวิเคราะห์ในภายหลังทำให้ระบบการจัดเก็บข้อมูลลักษณะนี้ไม่ตรงตามข้อมูลที่ควรจะเป็นเพราะลำดับการเก็บข้อนข้างซับซ้อน(รายงาน 506 S version 10 (รง 506s) รวมถึงปัญหาข้อมูลซ้ำที่ทำให้ข้อมูลทางสถิติไม่แม่นยำ ทำให้การเปลี่ยนจากการเก็บข้อมูลด้วยเอกสารทั่วไปเป็นการเก็บผ่าน platform ผ่าน mobile application ที่มีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ออกแบบมาเพื่อทำให้ข้อมูลมีประสิทธิภาพมีความจำเป็นเป็นอย่างมาก งานวิจัยนี้จึงนำเสนอ platform ที่เก็บข้อมูลบน database บน โครงสร้างที่เน้นความปลอดภัยของข้อมูลเป็นที่ตั้ง โดยได้เลือกใช้ backend คือ Golang เป็นภาษาที่ใช้เขียน RESTFULL API  , Frontend ใช้งาน Flutter ที่มีจุดเด่นในการสร้าง application แบบ multiplatform , MongoDB เป็นฐานข้อมูลแบบ NoSQL ,การเข้ารหัสแบบ JWT ที่มีการปรับแต่งให้มีความแตกต่างจากปกติ และ deploy ที่ google cloud platform บน Kubernetes engine เพื่อรองรับการใช้งานของอาสาสมัครสาธารณะสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Roohi, G., Mahmoodi, G. & Khoddam, H. Knowledge implementation in health care management”: a qualitative study. BMC Health Serv Res 20, 188 (2020). https://doi.org/10.1186/s12913-020-5043-8

Rudd, M. D., Cukrowicz, K. C., & Bryan, C. J., “Core competencies in suicide risk assessment and management: Implications for supervision,” Training and Education in Professional Psychology., Vol 2(4), pp. 219–228, 2008.

Marilyn A. Craven, MD, PhD, CCFP. Assessment and management of suicide risk. [Online] Available: https://www.camh.ca/en/professionals/ treating-conditions-and-disorders/suicide-risk

ณัฐวดี หงส์บุญมี และธนภัทร ธรรมกรณ์. “ระบบคัดกรองผู้ที่เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าผ่านสมาร์ทโฟนโดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล,” วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์]และเทคโนโลยี)., ปีที่ 11(ฉบับที่ 21), หน้า 100-113, 2562.

บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์ และสุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล. “ความเที่ยงตรงของแบบคัดกรองปัญหา สุขภาพจิตของ Kessler 6 ข้อฉบับภาษาไทย,” วารสารสมาคมจิตแพทย8แห่งประเทศไทย, ปีที่ 59(ฉบับที่ 3), หน้า 299- 312, 2557.

ปรารถนา คํามีสสีนนท์. “การศึกษาปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยปกป้องของผู้พยายามฆ่าตัวตายในเขตบริการ สุขภาพที่ 7,”วารสารป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งประเทศไทย., ปีที่ 1(ฉบับที่ 1), หน้า 25-40, 2563.

ภัทรมาศ จันทร์เทศ และ ศักดิ์ชาย ตั้งวรรณวิทย์. (2566). การพัฒนาแอปพลิเคชันสําหรับการติดตามภาวะ ซึมเศร้าและความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย, [ระบบ ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://www.research.kmutnb.ac.th/pub/researcher/?id=15914

สุพัตรา สุขาวห,สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล. “ปัจจัยเสี่ยงและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น:การทบทวนวรรณกรรมเชิงลึก,” วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย., ปีที่ 62(ฉบับที่ 4), หน้า 359-378, 2560.

Kongsuk, Thoranin & Arunpongpaisal, Suwanna & Loiha, S. & Maneeton, Narong & Wannasewok, Kamonnet & Leejongpermpoon, Jintana & Kenbubpha, Kedsaraporn, “The development and validity of 9 questions diagnostic test for depressive disorders in Thai I-san community,” ASEAN Journal of Psychiatry., Vol. 9, pp. 54-55, 2008.

Assanangkornchai S, Pinkaew P, Apakupakut N., “Prevalence of hazardous-harmful drinking in a southern Thai community,” Drug Alcohol Rev., Vol. 22, pp. 287-293, 2003.

Humeniuk RE, Henry-Edwards S, Ali RL, Poznyak V, Monteiro M., “The Alcohol, Smoking and Substance Involvement ScreeningTest (ASSIST): manual forusein primary care,” Geneva: World Health Organization., 2010.