พฤติกรรมการแอ่นของแผ่นวัสดุเชิงประกอบที่มีการเรียงชั้นแบบครอสพลายที่มีขอบสามด้านรองรับแบบยึดแน่นและอีกหนึ่งด้านปล่อยอิสระ

Main Article Content

ธวัชชัย อุ่นใจจม
กุลทรัพย์ ผ่องศรีสุข
อนุชา ตาน้อย
อนุชิต เกตุทะจักร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมการแอ่นของแผ่นวัสดุเชิงประกอบเรียงชั้นแบบครอสพลาย ที่มีขอบสามด้านรองรับแบบยึดแน่นและอีกหนึ่งด้านปล่อยอิสระ รับภาระกระจายแบบสม่ำเสมอกระทำตั้งฉากกับแผ่นน แผ่นวัสดุเชิงประกอบมีอัตราส่วนทางเรขาคณิตตั้งแต่ 1:1 ถึง 7:1 มีการเรียงตัวของเส้นใยแบบ [0]4, [90]4, [0/90]s และ [90/0]s จากผลการศึกษาพบว่ารูปร่างการแอ่นของแผ่นวัสดุเชิงประกอบไม่ขึ้นอยู่กับการเรียงตัวของเส้นใยและอัตราส่วนทางเรขาคณิต แต่ระยะการแอ่นและความเค้นดัดจะขึ้นอยู่กับการเรียงตัวของเส้นใยและอัตราส่วนทางเรขาคณิต โดยแผ่นวัสดุเชิงประกอบที่มีการเรียงตัวของเส้นใยเหมือนกันแต่มีอัตราส่วนทางเรขาคณิตต่างกัน ระยะการแอ่นและความเค้นดัดจะมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่ออัตราส่วนทางเรขาคณิตมีค่าเพิ่มขึ้น ส่วนแผ่นวัสดุเชิงประกอบที่มีการเรียงตัวของเส้นใยต่างกันแต่มีอัตราส่วนทางเรขาคณิตเท่ากัน การเรียงตัวของเส้นใยแบบ [90]4 จะมีระยะการแอ่นและความเค้นดัดสูงสุดที่อัตราส่วนทางเรขาคณิตน้อย ในทางตรงกันข้ามที่อัตราส่วนทางเรขาคณิตมากการเรียงตัวของเส้นใยแบบ [0]4 จะมีระยะการแอ่นและความเค้นดัดสูงสุด นอกจากนี้ยังสามารถเขียนสมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระยะการแอ่น ความเค้นดัดและอัตราส่วนทางเรขาคณิตให้อยู่ในรูปของสมการโพลิโนเมียลลำดับที่ 10

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

[1] ทวี หวังนิเวศน์กุล. วัสดุวิศวกรรม. กรุงเทพฯ: ส านักพิมพ์ รุ่งแสงการพิมพ์; 2554.
[2] Rajalingham C, Bhat RB, Xistris GD. Vibration of rectangular plates using plate characteristic functions as shape functions in the Rayleigh-Ritz. Journal of Sound and Vibration. 1996; 193(2): 497–509.
[3] กุลทรัพย์ ผ่องศรีสุข, อาศิส บุณยะประภัศร,กรกฎ รัชช ภูมิ, ธนบดี รักษ์พลพันธ์. การศึกษาการเปลี่ยนพฤติกรรม แผ่นบางเป็นพฤติกรรมคาน. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2557; 21(2): 21–29.
[4] กุลทรัพย์ ผ่องศรีสุข, ณัฐพงษ์ กุลท้วม, เอกรินทร์ ระลาธิ. ความสัมพันธ์ระหว่างระยะการแอ่น – ความเค้นดัด และ อัตราส่วนทางเรขาคณิต ของแผ่นวัสดุเชิงประกอบเรียง ชั้นแบบสมมาตรขอบสี่ด้านรองรับแบบยึดแน่น. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. 2559; 9(1): 61–69.
[5] Ungbhakorn V, Wattanasakulpong N. Bending analysis of symmetrically laminated rectangular plates with arbitrary edge supports by the extended Kantorovich method. Thammasat Int. J. Sc.Tech. 2006: 33–44.
[6] Phongsrisuk K, Ingsuwan P, Rangsri W, Klongpanich W. Free vibration analysis of symmetrically laminated composite rectangular plate using extended Kantorovich method. Maejo Int. J. Sci. Technol. 2010; 4(3): 512–532.
[7] Timoshenko S, Woinowsky-Krieger S. Theory of Plates and Shells (2nd ed). New York: McGrawHill; 1959.
[8] พิษณุ เจียวคุณ. การวิเคราะห์การถดถอย. เชียงใหม่: ส านักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548. [9] Reddy JN. Mechanics of laminated composite plates and shells: theory and analysis (2nd ed). Boca Raton: CRC Press; 2004.