เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความเพื่อการพิจารณาตีพิมพ์ คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

ในวารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสรินทร์

                    วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวม และเผยแพร่ ผลงานทางวิชาการ โดยตีพิมพ์บทความวิจัย และบทความทางวิชาการ ด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมศึกษา นวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ของอาจารย์ นักศึกษา และนักวิชาการ ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน  มีกำหนดการตีพิมพ์ปีละ  2 ครั้ง คือ ในรอบเดือนมกราคม – มิถุนายน และรอบเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม  โดยทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ แบบ Double-Blinded Peer Review อย่างน้อย 3 ท่าน

จริยธรรมการตีพิมพ์

 รูปแบบของบทความเพื่อการพิจารณาตีพิมพ์ รูปแบบการตีพิมพ์

1. บทนำ

          วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ยินดีรับบทความที่มีขอบเขตเนื้อหาในศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม และสหวิทยาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งบทความที่รับพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฯ มีสองลักษณะ ได้แก่

          1.1 บทความวิจัย

          เป็นผลงานที่เตรียมจากข้อมูลที่เขียนได้ค้นคว้าวิจัยด้วยตนเองโดยมีการนำเสนอ ความเป็นมา ระเบียบวิธีวิจัย ผลการวิจัย การสรุป การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

          1.2 บทความวิชาการ แบ่งออกเป็น

              1.2.1 บทความปริทรรศน์ เป็นบทความที่เรียบเรียงจากการตรวจเอกสารวิชาการในสาขานั้น ๆ เป็นการนำเสนอเนื้อเชิงวิชาการ เชิงสังเคราะห์ ด้วยการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ สรุปประเด็น วิจารณ์ และเสนอแนะ

              1.2.2 บทความวิชาการทั่วไป เป็นการนำเสนอความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์ของผู้เขียน บทความมีลักษณะเป็นการเรียบเรียงข้อมูลและการเสนอความคิดเห็น

 

  1. การเตรียมต้นฉบับ

          ผู้เขียนสามารถจัดเตรียมต้นฉบับเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แต่บทความภาษาไทยจะต้องมีชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน สังกัด อีเมล์ บทคัดย่อและคำสำคัญเป็นภาษาอังกฤษด้วย

          บทความที่เสนอจะต้องพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ โดยยึดรูปแบบการพิมพ์ตามที่ได้ระบุไว้ในเอกสารนี้ บทความควรมีความยาวไม่เกิน 15 หน้า โดยใช้กระดาษขนาด A4 (21 x 29.7 เซนติเมตร) การตั้งค่าหน้ากระดาษให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในตารางที่ 1

 

ตารางที่ 1 การตั้งค่าหน้ากระดาษ

 

ขอบกระดาษ

ระยะขอบ

ขอบบน (Top)

5.08 เซนติเมตร (2นิ้ว)

ขอบล่าง (Bottom)

3.81 เซนติเมตร (1.5นิ้ว)

ขอบซ้าย (Left)

3.81 เซนติเมตร (1.5นิ้ว)

ขอบขวา (Right)

2.54 เซนติเมตร (1นิ้ว)

 

          เนื้อหาของบทความให้ใช้แบบอักษร TH SarabunPSK ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยขนาดและรูปแบบให้เป็นไปตามตารางที่ 2

 

ตารางที่ 2 รูปแบบตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 

รายการ

แบบอักษรและขนาด

การจัดตำแหน่ง

ลักษณะตัวอักษร

ชื่อเรื่อง

TH Sarbun PSK 18 pt

กึ่งกลาง

ตัวหนา

ชื่อและที่อยู่ผู้เขียน

TH Sarbun PSK 14 pt

กึ่งกลาง

ตัวหนา

หัวข้อ

TH Sarbun PSK 14 pt

ชิดซ้าย

ตัวหนา

เนื้อเรื่อง

TH Sarbun PSK 14 pt

กระจายแบบไทย

ตัวธรรมดา

ชื่อรูป

TH Sarbun PSK 14 pt

ชิดซ้าย

ตัวหนาเฉพาะคำว่า รูปที่ x

 

ตารางที่ 2 รูปแบบตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ต่อ)

 

รายการ

แบบอักษรและขนาด

การจัดตำแหน่ง

ลักษณะตัวอักษร

ชื่อตาราง

TH Sarbun PSK 14 pt

ชิดซ้ายอยู่เหนือตาราง

ตัวหนาเฉพาะคำว่า ตารางที่ x

ชื่อเอกสารอ้างอิง

TH Sarbun PSK 14 pt

ซิดซ้าย

ตัวธรรมดา

 

          การใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์และการเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน โดยให้หลีกเลี่ยงการเขียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยในข้อความ

          การเขียนภาษาอังกฤษเพื่ออธิบายศัพท์ทางเทคนิคให้เขียนในวงเล็บภาษาอังกฤษต่อท้ายคำศัพท์นั้น ๆ โดยอธิบายเพียงครั้งแรกที่ศัพท์นั้นปรากฏในบทความ โดยใช้ตัวพิมพ์เล็ก (Small Letter) ยกเว้นชื่อเฉพาะ ชื่อคน หรืออักษรย่อที่ต้องใช้หรือขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital Letter)

          การพิมพ์จะไม่มีการเว้นบรรทัด เว้นแต่หากต้องการขึ้นหัวข้อใหม่ให้เว้นหนึ่งบรรทัดหรือการแทรกตารางหรือรูปภาพและเว้นอีกหนึ่งบรรทัดก่อนจะขึ้นย่อหน้าใหม่หลังการแทรกตารางหรือรูปภาพดังกล่าว

          การลำดับหัวข้อของเนื้อเรื่องให้ใช้เลขกำกับนำเป็นหัวข้อหมายเลข 1 และหากมีหัวข้อย่อยให้ใช้เลขระบบทศนิยมกำกับหัวข้อย่อย เช่น 1.1 เป็นต้น

 

  1. การเรียงลำดับเนื้อหา

          บทความควรจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

          3.1 ส่วนนำ

          ในส่วนนำจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1 หน้า ได้แก่

              3.1.1 ส่วนนำภาษาไทย ประกอบด้วย

                   1)  ชื่อเรื่องภาษาไทย ควรกะทัดรัด ไม่ยาวจนเกินไป

                   2)  ชื่อผู้เขียนและที่อยู่ภาษาไทยให้เว้นที่ว่าง 1 บรรทัด จากชื่อเรื่องโดยระบุ

                        (1) ชื่อเต็มและนามสกุลเต็มของผู้เขียนทุกคน ไม่ต้องใส่คำนำหน้านามหรือตำแหน่งทางวิชาการ แล้วจัดให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ

                        (2) สถานที่ติดต่อผู้เขียน โดยให้ระบุชื่อคณะและสถาบันการศึกษาของผู้เขียนบทความทุกคนในกรณีที่บทความใดมีผู้เขียนหลายคน ให้ระบุเลขลำดับของผู้เขียนบทความทุกคนโดยพิมพ์เป็นตัวยกไว้ด้านหลังชื่อและด้านหน้าสถานที่ติดต่อ ทั้งนี้หากผู้แต่งคนใดมาจากคณะและสถาบันเดียวกันให้ระบุตัวเลขด้านหน้าสถานที่ติดต่อนั้นตามลำดับของผู้แต่งที่สังกัดในคณะและสถาบันการศึกษานั้นทุกคน

                         ชื่อ นามสกุล และสถานที่ติดต่อของผู้รับผิดชอบบทความหลักต้องมีการใส่เครื่องหมาย* ไว้ด้านท้ายเหนือชื่อต่อจากเลขลำดับที่ของผู้เขียน และต่อท้ายชื่อสถานที่ติดต่อของผู้เขียน

                        (3) อีเมล์ ที่ใช้ติดต่อของผู้รับผิดชอบบทความหลัก

          3) บทคัดย่อภาษาไทย ให้พิมพ์เว้นที่ว่าง 1 บรรทัด ต่อจากชื่อและที่อยู่ของผู้เขียนโดยความยาวไม่เกิน 15 บรรทัด และควรเป็นบทคัดย่อที่สั้น ตรงประเด็น และให้สาระสำคัญเท่านั้น จำกัดความยาวให้มีเพียง 1 ย่อหน้า และไม่ควรเขียนบทคัดย่อตามแบบที่เขียนในวิทยานิพนธ์หรือรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

                   4) คำสำคัญในการพิมพ์เว้นที่ว่าง 1 บรรทัด ต่อจากบทคัดย่อภาษาไทย โดยกำหนดคำสำคัญที่เหมาะสมสำหรับการนำไปทำคำค้นในฐานข้อมูล ควรใช้คำที่เอื้อต่อการที่จะถูกค้นพบโดยนักวิจัยในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องให้ระบุสำคัญภาษาไทย ไม่เกิน 5 คำ

              3.1.2 ส่วนนำภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย

                   1) ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ

                   2) ชื่อผู้เขียนและที่อยู่ภาษาอังกฤษ เว้นที่ว่าง 1 บรรทัด จากชื่อเรื่องให้พิมพ์เช่นเดียวกับส่วนนำภาษาไทยเพียงแต่แปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยระบุ

                        (1) ชื่อผู้เขียนทุกคนเป็นภาษาอังกฤษ ไม่ต้องใส่คำนำหน้าและตำแหน่งทางวิชาการหากมีผู้แต่งหลายคนให้ระบุหมายเลขลำดับเป็นตัวยกด้วยด้านหลังชื่อ

                        (2) ที่อยู่ของผู้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ โดยระบุเฉพาะคณะและสถาบันการศึกษา หากมีผู้แต่งหลายคนให้ระบุหมายเลขลำดับเป็นตัวยกด้านหลังที่อยู่ ในกรณีผู้เขียนหลายคนอยู่ที่อยู่เดียวกัน ให้ระบุลำดับเลขของผู้เขียนไว้ด้านหลังของที่อยู่นั้น และใส่เครื่องหมายดอกจัน (*) ไว้หลังลำดับเลข สำหรับผู้เขียนหลัก

                        (4) อีเมล์ ของผู้เขียนหลัก (คนแรก) เท่านั้น

                        (5) บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ให้พิมพ์เว้นที่ว่าง 1 บรรทัด ต่อจากชื่อและที่อยู่ของผู้เขียนภาษาอังกฤษ

                        (6) คำสำคัญภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 5 คำ โดยต้องเป็นภาษาอังกฤษที่มีความหมายเดียวกันกับคำสำคัญภาษาไทย ให้พิมพ์เว้นที่ว่าง 1 บรรทัด ต่อจากบทคัดย่อภาษาอังกฤษ

          3.2 บทนำ

          อธิบายถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เหตุผลที่จะนำไปสู่การศึกษาวิจัย และข้อมูลทางวิชาการที่มีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องที่มีความทันสมัยและถูกต้อง เพื่อให้มีน้ำหนักและความน่าเชื่อถือ

          3.3 วัตถุประสงค์

          ตั้งวัตถุประสงค์ที่มีความชัดเจนสอดคล้องกับชื่อบทความและอยู่ในกรอบของเรื่องที่ศึกษาวิจัย ไม่ควรเกิน 3 ข้อ

          3.4 วิธีการวิจัย

          อธิบายกระบวนการวิจัย โดยระบุรายละเอียดของวิธีการศึกษา สิ่งที่ทำมาศึกษา ตลอดจนเครื่องมือ อุปกรณ์ แบบแผนการวิจัย การเลือกตัวอย่าง วิธีการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ และสถิติที่ใช้ในบางครั้งที่ต้องมีการอ้างถึงสมการ ผู้เขียนต้องเขียนด้วยฟังก์ชั่นในการเขียนสมการในเวิร์ดโปรเซสเซอร์ เช่น Math Type หรือเครื่องมือสมการอื่น ๆ และห้ามบันทึกสมการเป็นรูปภาพเด็ดขาด โดยรูปแบบอักษรในสมการต้องเป็น Times New Roman ขนาด 12 point

            สมการทุกสมการจะต้องมีหมายเลขที่อยู่ในวงเล็บกำกับและเรียงตามลำดับ หมายเลขสมการต้องอยู่ชิดขอบขวาของคอลัมน์เพื่อความสวยงามในการจัดพิมพ์ ผู้เขียนควรเว้นบรรทัดก่อนเขียนสมการ 1 บรรทัด และหลังจากเขียนสมการแล้วอีก 1 บรรทัดการนิยามและอธิบายตัวแปรในสมการให้ใช้รูปแบบอักษรหรือสัญลักษณ์ที่เหมือนกันกับที่ปรากฏในสมการทั้งแบบอักษรและขนาดอักษร

          3.5 ผลการวิจัย

          เสนอผลการวิจัยอย่างชัดเจนและตรงประเด็นตามลำดับขั้นตอนของการวิจัย โดยใช้รูป กราฟ แผนภูมิ หรือตารางตามสมควร

              3.5.1 ข้อกำหนดเกี่ยวกับรูป

                        รูปจะต้องมีความกว้างไม่เกินขอบหน้ากระดาษ กรณีที่เป็นภาพขนาดใหญ่จะลงเต็มหน้ากระดาษทางขวางก็ได้ โดยให้จัดรูปแบบให้เหมาะสมและชัดเจน รูปกราฟหรือแผนภูมิต่าง ๆ ควรวาดด้วยลายเส้นคมชัดบนพื้นที่สีขาว รูปถ่ายต้องเป็นรูปจริงและควรเป็นรูปขาวดำเท่านั้น รูปประกอบแต่ละรูปจะต้องมีหมายเลขกำกับและมีคำบรรยายประกอบที่มีความยาวไม่เกิน 2 บรรทัด โดยให้จัดชิดซ้ายขณะแทรกรูปในเนื้อหา หากรูปมีตัวอักษร ขนาดของอักษรต้องมีขนาดที่อ่านได้และไม่ควรมีขนาดเล็กกว่าขนาดอักษรที่เป็นเนื้อเรื่อง (14 point)

3.5.2 ข้อกำหนดเกี่ยวกับตาราง

              ตารางจะต้องมีความกว้างไม่เกิน 13 เซนติเมตร ขนาดของตัวเลขและตัวอักษรในตารางไม่ควรมีขนาดเล็กกว่าขนาดอักษรที่เป็นเนื้อเรื่อง (14 point) ควรตีเส้นในตารางให้เรียบร้อย ตารางแต่ละตารางจะต้องมีหมายเลขกำกับและมีคำบรรยายตารางความยาวไม่เกิน 2 บรรทัด วางไว้ชิดขอบซ้ายเหนือตารางนั้น ๆ

          3.6 การอภิปรายผลและสรุปผล

          เป็นการชี้แจงผลวิจัยว่าตรงกับวัตถุประสงค์หรือสมมุติฐานการวิจัย วิเคราะห์เปรียบเทียบผลการวิจัยให้เข้ากับหลักทฤษฏีสอดคล้องหรือขัดแย้งกับผลการวิจัยของผู้อื่นที่มีอยู่ก่อนหรือไม่ อย่างไร เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

          3.7 ข้อเสนอแนะ

          ระบุข้อเสนอแนะหรือการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ หรือทิ้งประเด็นคำถามวิจัยซึ่งเป็นแนวทางสำหรับการวิธีจัยต่อไป

          3.8 กิตติกรรมประกาศ

          ระบุสั้น ๆ ว่างานนี้ได้รับทุนสนับสนุนและความช่วยเหลือจากองค์กรใดหรือผู้ใดบ้าง (ถ้ามี) โดยให้ละเว้นการกล่าวขอบคุณบุพการีหรืออาจารย์ที่ปรึกษา

          3.9 เอกสารอ้างอิง

          การอ้างอิง เป็นการอ้างอิงเอกสารในเนื้อหาให้ใช้ระบบ APA Style (American Psychological  Association Style) ให้เริ่มต้นด้วยเอกสารอ้างอิงภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยเอกสารภาษาต่างประเทศ หากผู้เขียนมีมากกว่า 3 คน ให้ใส่ชื่อ 3 คนแรกแล้วตามด้วย และ คณะหรือ et al.

              3.9.1 การอ้างอิงในเนื้อหาใช้ระบบนาม-ปี (Name-year Reference)  

                   1) การอ้างอิงในเนื้อหาจากสื่อทุกประเภท ลงในรูปแบบ “ชื่อ นามสกุล.//ปีที่พิมพ์/:/เลขหน้าที่

ปรากฏ” อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บเล็ก

                   2) ผู้เขียนคนไทยลงชื่อ-สกุล  ส่วนผู้เขียนชาวต่างชาติลงเฉพาะนามสกุล ดังตัวอย่าง

  ตัวอย่าง

- โสเกรติสย้ำว่าการอ่านสามารถจุดประกายได้จากสิ่งที่นักอ่านรู้อยู่แล้วเท่านั้นและความรู้ที่ได้รับมาไม่ได้มาจากตัวหนังสือ (แมนเกล. 2546 : 127)

- สุมาลี วีระวงศ์ (2552 : 37) กล่าวว่า การที่ผู้หญิงจะไปสื่อชักผู้ชายมาบ้านเรือนของตัวเองทั้ง ๆ ที่เขายังไม่ได้มาสู่ขอนั้น เป็นเรื่องผิดขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี

  หมายเหตุ : ทุกรายการที่อ้างอิงในเนื้อหา  ต้องปรากฏในรายการบรรณานุกรมเสมอ

              3.10 บรรณานุกรม (Bibliography)   

               การเขียนบรรณานุกรมใช้รูปแบบของ APA (American Psychology Association)  ดังตัวอย่างตามชนิดของเอกสารดังนี้

         3.8.1 หนังสือ

ชื่อ-สกุลผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ.//เล่มที่ (ถ้ามี).//ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี).//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์.

          ตัวอย่าง

แมนเกล, อัลแบร์โต.  (2546).  โลกในมือนักอ่าน.  พิมพ์ครั้งที่ 4.  กรุงเทพฯ : พิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์.

สุมาลี  วีระวงศ์.  (2552).  วิถีชีวิตไทยในลิลิตพระลอ.  พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์.

Tidd, J., Bessant, J. and Pavitt, K.  (2001).  Managing innovation.   2nd ed.  Chichester: John Wiley     and Sons.

 

              3.8.2 บทความวารสาร

ชื่อ-สกุลผู้เขียน.//(ปีที่พิมพ์,/เดือน วันที่)./“ชื่อบทความ.”/ชื่อวารสาร./ปีที่หรือเล่มที่(ฉบับที่)/:/เลขหน้า

 

ตัวอย่าง

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ.  (2538, มกราคม). “ข้อสังเกตเกี่ยวกับการศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของไทย.” วารสาร

          มนุษยศาสตร์. ฉ. 2 : 35-40.

Cooray, V. (1992, July-August). “Hotizontal Field Generated by Return Strokes.”  Radio Science.

27(4) : 529-537.

 

                   3.8.3 วิทยานิพนธ์

ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์.//(ปีพิมพ์).//ชื่อวิทยานิพนธ์.//ระดับวิทยานิพนธ์//ชื่อสาขาวิชา//หรือภาควิชา//คณะ//ชื่อ

          สถาบัน

          ตัวอย่าง

บุญเรือง เนียมหอม.  (2540).  การพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางอินเตอร์เน็ตในระดับอุดมศึกษา.  วิทยานิพนธ์ปรัชญา

             ดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปณิธิ  อมาตยกุล.  (2547).  การย้ายถิ่นของชาวไทใหญ่เข้ามาในจังหวัดเชียงใหม่.  วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

             สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา  บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วันดี  สนติวุฒิเมธี.  (2545).  กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวไทใหญ่ชายแดนไทย-พม่า กรณีศึกษา 

             หมู่บ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่.  วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต

          สาขาวิชามานุษยวิทยา  บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

 

              3.8.4 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ         

                   1) ข้อมูล/สารสนเทศจากสารานุกรมบนซีดีรอม

ผู้เขียนบทความ.//(ปีที่พิมพ์).//“ชื่อบทความ.”/ชื่อสารานุกรม.//จำนวนแผ่น.//[ประเภทของสื่อที่เข้าถึง].//เข้าถึงได

          จาก/:/ชื่อสารานุกรม./สืบค้น วัน/เดือน/ปีที่สืบค้น.

        

 

 

          ตัวอย่าง

Meade, M. S. (2002). “Thailand.” Compton’s Interactive Encyclopedia. [CD-ROM]. Available :

          Comption’s Interactive Encyclopedia. Retrieved July 4, 2002.

 

                   2) ข้อมูล/สารสนเทศจากวารสารอิเล็กทรอนิกส์

ผู้เขียนบทความ.//(ปีที่พิมพ์).//“ชื่อบทความ.”/ชื่อวารสาร./ปีที่(ฉบับที่).//[ประเภทของสื่อที่เข้าถึง].//เข้าถึงได้จาก/:/แหล่งข้อมูล/สารสนเทศ/สืบค้น วัน/เดือน/ปีที่สืบค้น.

              ตัวอย่าง

Erdelez, S., Ware, N. (2001).  “Finding Competitive Intelligence on Internet Start-up Companies : A Study of Secondary Resource Use an Information-Seeking Processes.” Information Research. 7(1). [Online].  Available : http://information.net/ir/7-1 paper115.html  Retrieved July 11, 2002.

Kenneth, I. A.  (2000).  “A Buddhist Response to The Nature of Human Rights.”  Journal of

Buddhist Ethics.  8(3).  [Online].  Available : http://www.cac.psu.edu/jbe/twocont.html  

Retrieved March 2, 2009.    

 

                   3) ข้อมูล/สารสนเทศอื่นๆ บนอินเตอร์เน็ต

ผู้เขียนบทความ.//(ปี).//“ชื่อบทความ.”//[ประเภทของสื่อที่เข้าถึง].//เข้าถึงได้จาก/:/แหล่งข้อมูล/สารสนเทศ/สืบค้น วัน/เดือน/ปีที่สืบค้น.

          ตัวอย่าง

ธนาคารแห่งประเทศไทย.  (2550).  “แรงงานต่างด้าวในภาคเหนือ.”  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :

http://www.Bot.or.th/BotHomepage/databank /RegionEcon/ northern /public/Econ/ch

7/42BOX04. HTM  สืบค้น  2 กันยายน 2550.    

Beckenbach, F. and Daskalakis, M.  (2009).  “Invention and Innovation as Creative Problem Solving

Activities: A Contribution to Evolutionary Microeconomics.” [Online]. Available :  

http:www.wiwi.uni-augsburg.de/vwl/hanusch/emaee/papers/Beckenbach_neu.pdf

Retrieved September 12, 2009.

 

  1. การส่งต้นฉบับ

              การส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ให้ผู้เขียนบทความส่งอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ (.doc หรือ .docx และ .pdf) ผ่านระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กลางของไทย (Thaijo) ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/journalindus เท่านั้น กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ไม่รับบทความผ่านช่องทางอื่นทั้งสิ้น หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อกองบรรณาธิการวารสารได้ที่ Indusjournal@srru.ac.th. โทรศัพท์ 044-041554 (คุณแสงเดือน ธรรมวัตร)

 

  1. การอ่านประเมินต้นฉบับ

              ต้นฉบับจะได้รับการอ่านประเมิน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จากสาขาวิชานั้น ๆ จำนวน 2 ท่านต่อเรื่องและส่งผลการอ่านประเมินคืนผู้เขียนให้เพิ่มเติม แก้ไขหรือพิมพ์ต้นฉบับใหม่แล้วแต่กรณี

 

  1. ลิขสิทธิ์

              ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ ของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไป พิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์เป็นลายลักษณ์อักษร

 

  1. ความรับผิดชอบ

              เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์