การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูตลาดชุมชนตำบลบัวทอง ให้เกิดความยั่งยืน ตำบลบัวทอง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ศศิพิสุทธิ์ หงษ์สมบัติ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชน   ในการพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูตลาดชุมชนตำบลบัวทองให้เกิดความยั่งยืน ตำบลบัวทอง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์บริบทชุมชน ด้านกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพด้านสินค้า ผลิตภัณฑ์ การผลิต ห่วงโซ่มูลค่าและระบบตลาด ทำการเก็บข้อมูลโดยการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ และการสัมภาษณ์


เชิงลึก ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูตลาดชุมชนตำบลบัวทอง ให้เกิดความยั่งยืน ตำบลบัวทอง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการสนทนากลุ่มย่อย 3 ครั้ง ประกอบด้วย กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล กลุ่มผู้จำหน่ายหรือผู้บริโภค และการสนทนากลุ่มร่วมกันทั้ง 3 กลุ่มเพื่อหาข้อสรุป 1 ครั้ง


                ผลการวิจัยพบว่า ตำบลบัวทอง มีลักษณะทางกายภาพเป็นที่ราบ ดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ปาน


กลาง อาชีพหลักคือทำนา อาชีพรอง คือ ปลูกผัก  เกษตรผสมผสาน เลี้ยงโค กระบือ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ผลิตภัณฑ์ของชุมชน  ได้แก่ ผักอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ผ้าไหม ผ้าด้าย  เสื่อกก  น้ำผึ้ง และเครื่องประดับ รูปแบบการฟื้นฟูตลาดชุมชนตำบลบัวทอง มี 2 รูปแบบ คือ (1) ตลาดประจำ ได้แก่  (1.1) ร้านขายสินค้าของฝาก  ผ้าทอ ของที่ระลึก (1.2) สร้างห้องแถวเช่าพื้นที่ขาย (1.3) ร้านขายพันธ์ไม้ สินค้าเกษตรอินทรีย์  (2) ตลาดชั่วคราว   ได้แก่  (2.1) ตลาดเฉพาะกิจ (Event) เมื่อมีกิจกรรม (2.2) ตลาดนัดให้เอกชนที่มีความเชี่ยวชาญดำเนินการ (2.3) ตลาดนัดโดยองค์การบริหารส่วนตำบล และชุมชนร่วมกันบริหารจัดการ  คุณค่าของงานวิจัย ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในการฟื้นฟูตลาดชุมชนตำบลบัวทอง ให้เกิดความยั่งยืน และชุมชนได้ประโยชน์ คือ มีการนำรูปแบบมาดำเนินการพัฒนาตลาดชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย