การพัฒนาบทเรียนภาษามือไทยระบบมัลติมีเดีย สำหรับผู้ปกครองนักเรียน ผู้บกพร่องทางการได้ยินเสียง โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

รัติยา ธานี

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนภาษามือไทยระบบมัลติมีเดีย สำหรับผู้ปกครองนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยินเสียง โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนภาษามือไทยระบบมัลติมีเดีย ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อบทเรียนภาษามือไทยระบบมัลติมีเดีย สำหรับผู้ปกครองนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยินเสียง โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยโดยเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยจากผู้ปกครองนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยินเสียง โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 80 คน โดยการให้กลุ่มตัวอย่างใช้บทเรียนภาษามือไทยระบบมัลติมีเดียเพื่อเรียนรู้ภาษามือไทยจนครบทุกเนื้อหาในบทเรียนและทำแบบทดสอบระหว่างเรียน จำนวน 8 หมวดหมู่ ๆ ละ 5 ข้อ รวม 40 ข้อ 40 คะแนน และเก็บผลคะแนนไว้ ขั้นตอนต่อไปกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบหลังเรียน 1 ชุด จำนวน 40 ข้อ 40 คะแนน และเก็บผลคะแนนเพื่อนำไปวิเคราะห์และสรุปผล โดยผลการวิจัยจากวัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้พบว่า


  1. เพื่อพัฒนาบทเรียนภาษามือไทยระบบมัลติมีเดีย สำหรับผู้ปกครองนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยินเสียง โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ผู้วิจัยได้พัฒนาบทเรียนภาษามือไทยระบบมัลติมีเดียสำหรับผู้ปกครองนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยินเสียง โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ โดยมี 8 หมวดหมู่การเรียนรู้ และมีแบบทดสอบระหว่างเรียนหมวดหมู่ละ 5 ข้อ รวมทั้งหมด 40 ข้อ และสามารถดูสรุปผลคะแนนจากการทำแบบทดสอบได้ทันที

  2. เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนภาษามือไทยระบบมัลติมีเดีย ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนภาษามือไทยระบบมัลติมีเดียสำหรับผู้ปกครองนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยินเสียง โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ มีประสิทธิภาพ 85.74/88.69 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80

  3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อบทเรียนภาษามือไทยระบบมัลติมีเดีย สำหรับผู้ปกครองนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยินเสียง โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ พบว่า ผลรวมความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อบทเรียนภาษามือไทยระบบมัลติมีเดีย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ = 4.74, S.D. = 0.39 เมื่อแบ่งออกในแต่ละด้าน ด้านเนื้อหาของบทเรียนภาษามือไทยระบบมัลติมีเดีย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  = 4.71, S.D. = 0.43 และด้านการออกแบบบทเรียนภาษามือไทยระบบมัลติมีเดีย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ  = 4.77, S.D. = 0.39

 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มนต์ชัย เทียนทอง.(2539). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียส าหรับการฝึกอบรมครู

อาจารย์ และนักฝึกอบรม เรื่องการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์

อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ.(2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ :

บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.