แอปพลิเคชันสำหรับมารดาหลังคลอด แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในการวิจัยนี้นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับมารดาหลังคลอด แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของการใช้งานแอปพลิเคชันสำหรับมารดาหลังคลอด แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลสุรินทร์ การดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่นมารดาหลังคลอด แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลสุรินทร์ ในครั้งนี้ใช้ประชากรกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน คือ มารดาหลังคลอด แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลสุรินทร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของแอปพลิเคชันคุณแม่หลังคลอด แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลสุรินทร์ แบ่งออกเป็น 3 ด้านประกอบด้วย 1) ด้านประโยชน์ความรู้เมื่อใช้แอปพลิเคชันมารดาหลังคลอด แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลสุรินทร์ 2) ด้านความสวยงามของแอปพลิเคชันมารดาหลังคลอด แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลสุรินทร์ 3) ด้านความสะดวกต่อการใช้งานแอปพลิเคชันมารดาหลังคลอด แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลสุรินทร์ และสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่ามีความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันสำหรับมารดาหลังคลอด แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลสุรินทร์ ด้านประโยชน์/เนื้อหาอยู่ในระดับมาก ( = 4.36 , S.D = 0.52) เมื่อพิจารณาจะพบว่าด้านความสวยงามอยู่ในระดับมาก ( = 4.34 , S.D = 0.57) เมื่อพิจารณาจะพบว่าด้านความสะดวกต่อการใช้งานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.40 , S.D = 0.54) เมื่อพิจารณาในเชิงภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.36 , S.D = 0.54 )
Article Details
References
ดุลยา จิตตะยโศธร. (2552). รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู : แนวคิดของ Diana Baumrind. วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยหอการค้า.29(4),173 – 187.
เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ. (2559). การพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์1. วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ
ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพฯ.