ความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 ในอาคารหอจดหมายเหตุ กรณีศึกษาอาคารหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี

Main Article Content

สุคนธ์ ขาวกริบสายพิณ ไชยนันท์ สิทธิพันธุ์ ไชยนันทน์ สรินทร พัฒอำพันธ์ ศิรประภา สมวงศ์

บทคัดย่อ

            การศึกษาแบบภาคตัดขวางในครั้งนี้ เพื่อวิเคราะห์ความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 ในอาคารหอจดหมายเหตุ กรณีศึกษาอาคารหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี สุ่มเก็บตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงในอาคาร จำนวน 6 ห้อง รวม23 ตัวอย่าง และจุดอ้างอิงภายนอกอาคาร จำนวน 2 ตัวอย่าง ด้วยเครื่อง DUSTTRAK DRX Aerosol Monitor Model 8533 แบบอ่านค่าได้ทันที ผลที่ได้เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ยอมรับได้ตามข้อเสนอแนะของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และประเทศสิงคโปร์ วิเคราะห์การกระจายข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ ANOVA ทำ Multiple Means Comparison โดยใช้ Scheffe และทำ Post Hoc Test ผลการศึกษาพบว่าฝุ่น PM2.5 บริเวณห้องศูนย์เอกสาร ห้องปฏิบัติงานตรวจสอบและประเมินคุณค่าเอกสาร ห้องปฏิบัติงานตรวจสอบและประเมินคุณค่าเอกสารประเภทฟิล์ม และห้องคลังเอกสาร/เอกสารอ้างอิง มีค่าสูงเกินเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าค่าเฉลี่ยของฝุ่น PM2.5 ห้องศูนย์เอกสารมีค่าแตกต่างจากห้องสำนักงานหอจดหมายเหตุ ห้องปฏิบัติงานตรวจสอบและประเมินคุณค่าเอกสารมีค่าแตกต่างจากคลังเอกสาร/เอกสารอ้างอิง ห้องจัดแสดงและบริการ และห้องสำนักงานหอจดหมายเหตุ และห้องจัดแสดงและบริการมีค่าแตกต่างจากพื้นที่ภายนอกอาคาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < .05) เนื่องจากลักษณะกิจกรรมของแต่ละห้องที่แตกต่างกัน แสดงได้ว่ามีสิ่งคุกคามทางสุขภาพจากฝุ่นขนาดเล็กต้องได้รับการแก้ไขเพื่อลดปริมาณฝุ่น ลดการรับสัมผัสเข้าสู้ร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน ผู้มาใช้บริการ เช่น ติดตั้งระบบดูดอากาศเฉพาะที่ สวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิด สวมถุงมือขณะปฏิบัติงาน และใช้หน้ากากที่สามารถกรองฝุ่นขนาดเล็กเพื่อลดการรับสัมผัสที่ตัวบุคคล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2554). “เกร็ดความรู้เรื่องฝุ่นละออง.”

[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.pcd.go.th. สืบค้น 25 เมษายน 2561.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2559). คู่มือการปฏิบัติงานเพื่อตรวจประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคาร

ส าหรับเจ้าหน้าที่. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.

ก าไลเงิน ตาวิยะ และ ธัทภัสสร์ ทองเย็น. มปป). “ผลของการระบายอากาศวิธีธรรมชาติต่อฝุ่นละอองภายใน

อาคารในช่วงปัทหาหมอกควัน จังหวัดน่าน.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :

file:///C:/Users/advice/Downloads/bb0d3-pdf_merged-2-.pdf. สืบค้น 11 มิถุนายน 2563.

เชิดศิริ นิลผาย. 2558, มกราคม - มิถุนายน). “การเจ็บป่วยจากอาคารกับคนท างานในส านักงาน.” วารสารก้าว

ทันโลกวิทยาศาสตร์ . 15(1) : 13-23.

ชนัฏฐา กฤษณะพุกต์ และ ธัทภัสสร์ ทองเย็น. มปป). “ความสัมพันธ์ของการระบายอากาศวิธีกลต่อฝุ่นละออง

ภายในอาคารในช่วงปัทหาหมอกควัน จังหวัดน่าน.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :

file:///C:/Users/advice/Downloads/bb0d3-pdf_merged-2-.pdf. สืบค้น 11 มิถุนายน 2563.

ธิดารัตน์ ผลพิบูลย์, อิสรีย์ฐิกา ชัยสวัสดิ์ และ อนุวัตร รุ่งพิสุทธิพงษ์. 2557, มกราคม-มิถุนายน). “ภัยในหน้าหนาว

จากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5).” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยี. 8(1) : 40-46.

สุชาติ เกียรติวัฒนเจริท. 2555). “มลพิษทางอากาศ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :

http://rt-cmu.blogspot.com. สืบค้น 25 เมษายน 2561.

สุมลฑริกาทจณ์ มายะรังษี. 2559). รายงานการวิจัย ศึกษาสภาวะที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานต าแหน่งนัก

จดหมายเหตุ กรณีเหตุพิเศษ ในส านักหอจดหมายเหตุแห่งชาติและหอจดหมายเหตุแห่งชาติสาขา.

จันทบุรี : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี

Maskova, L., Smolik, J. and Vodicka, P.. 2015, April). “Characterisation of Particulate Matter in

Different Types of Archives.” Atmospheric Environment. V.107 : 217-224.

SPRING Singapore. (2009). “Singapore Standard SS554:2009, Code of practice for Indoor air

quality for air-conditioned buildings”. [Online]. Available :

https://www.scribd.com/doc/1740433

/SS-554-2009-Indoor-Air-Quanlity-for-Air-conditioned-in-Building. Retrieved July 20,

US. EPA. (2018) “Particulate Matter (PM) Pollution.” [Online]. Available : https://www.epa.gov/pmpollution. Retrieved April 25, 2018.