อุปกรณ์ถอดถุงมือทางการแพทย์

Main Article Content

สรศักดิ์ หนองดี เกียรติภูมิ ชูชี อักษรเพชร วิจิตรเรืองชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาประสิทธิภาพการทำงานและเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้อุปกรณ์ถอดถุงมือทางการแพทย์ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลสุรินทร์ 68 ถนนหลักเมือง อำเภอเมือง จังหวัด สุรินทร์  จำนวน 10 คน ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ทำการทดลองโดยใช้อุปกรณ์ถอดถุงมือทางการแพทย์เปรียบเทียบกับการถอดถุงมือด้วยวิธีแบบเดิม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามและแบบบันทึก สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (Standard  Deviation) 


              ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิภาพของอุปกรณ์ถอดถุงมือทางการแพทย์สามารถลดขั้นตอนการถอดถุงมือลงเหลือเพียง 2 ขั้นตอนจากการถอดถุงมือของบุคลากรทางการแพทย์ในปัจจุบัน 5 ขั้นตอนใช้เวลาในการถอดถุงมือเฉลี่ย 2.8 วินาทีจากการใช้เวลาในการถอดถุงมือของบุคลากรทางการแพทย์ในปัจจุบัน เฉลี่ย 8.7 วินาที เร็วขึ้นเฉลี่ย 5.9 วินาที โดยรวมกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจอุปกรณ์ถอดถุงมือทางการแพทย์มากที่สุดที่ (= 4.59)  (S.D. = 0.57) เมื่อเปรียบเทียบกับการถอดถุงมือของบุคลากรทางการแพทย์ในปัจจุบัน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุศลธิดา โสมพงษากุล. (2551). ผลของการส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบ

มาตรฐานต่อการปฏิบัติและอุบัติการณ์การสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งของพยาบาลวิชาชีพแผนก

อุบัติเหตุและฉุกเฉิน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลด้านการควบคุมการติด

เชื้อ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทัศนีย์ ตันติมงคลวัฒน์. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรั่วของถุงมือที่ใช้โดยบุคลากรทางสุขภาพในแผนก

อุบัติเหตุฉุกเฉิน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปทิตตา สุภารส. (2551). ผลของการส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อต่อ

ความรู้และการปฏิบัติของบุคลากรพยาบาลในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบมาตรฐานใน

โรงพยาบาลชุมชน. สาขาวิชาการพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อ บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยุดา รักไทย และธนิกานต์ มาฆศิรานนท์. (2542). เทคนิคการแก้ปัญหาและตัดสินใจ. กรุงเทพฯ : เอ็กเปอร์เน็ท.

ศรีสุดา อัศวพลังกูล. (2550). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการใช้ถุงมือต่อความรู้ สาขาวิชาการ พยาบาลด้าน

การควบคุมการติดเชื้อ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุทธิพันธ์ ถนอมพันธ์. (2548). ผลของการใช้วิธีการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ต่อการปฏิบัติการ พยาบาลเพื่อ

ป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลในระบบทางเดินปัสสาวะ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Hayden, M., Blom, D., Lyle, E., Moore, C., Ahmed, N., Dewalt, G., et al. (2001). The Risk of hand

andglove contamination by healthcare workers (HCWs) after contact with a VRE (+) Patient

(pt)or the Pts Environment (env). Paper presented at the Interscience Conference on

Antimicrobial Agents and Chemotherapy (41st : 2001 : Chicago, Ill.). , America.8) Hampton,

S. (2002). The appropriate use of gloves to reduce allergies and infection. British Journalof

Nursing, 11(17), 1120-1124.