การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการใช้งานแอปพลิเคชันธุรกิจตรวจสภาพรถ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและการใช้งานแอปพลิเคชันธุรกิจตรวจสภาพรถ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการ และผู้รับบริการสถานตรวจสภาพรถยนต์เอกชนในเขตภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ในการวิจัย ได้แก่ แอปพลิเคชันธุรกิจตรวจสภาพรถ และแบบประเมินความพึงพอใจในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการใช้งานแอปพลิเคชันธุรกิจตรวจสภาพรถ คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีแอปพลิเคชันธุรกิจตรวจสภาพรถในรูปแบบกลุ่ม โดยได้แนะนำวิธีการออกแบบ การพัฒนา วิธีการทำงาน สาธิตวิธีการใช้งานพร้อมทั้งให้กลุ่มตัวอย่างทดลองใช้งาน จากนั้นทำการประเมินความพึงพอใจในการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการใช้แอปพลิเคชันธุรกิจตรวจสภาพรถ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการใช้งานแอปพลิเคชันธุรกิจตรวจสภาพรถทำให้ผู้ประกอบการ และผู้รับบริการสถานตรวจสภาพรถยนต์เอกชนได้รับความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานแอปพลิเคชัน ธุรกิจตรวจสภาพรถ ทำให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการบริหารจัดการและใช้บริการการตรวจสภาพรถยนต์เอกชนได้อย่างสะดวก รวดเร็วมากขึ้น และ 2) ผลการประเมินความพึงพอใจในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการใช้งานแอปพลิเคชั่นธุรกิจตรวจสภาพรถ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64 , SD.= 0.46) โดยมีผลการประเมินในแต่ละด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนี้ ด้านการนำความรู้ไปใช้ ( = 4.72, S.D.=0.45) ด้านสถานที่และระยะเวลาในการดำเนินการ ( = 4.67, S.D.=0.45) ด้านวิทยากรมีความพึงพอใจ ( = 4.66, S.D.=0.49) และด้านความรู้ความเข้าใจมีความพึงพอใจ (= 4.51, S.D.=0.45) ตามลำดับ
Article Details
References
กรมการขนส่งทางบก. (2562). “ข้อกฎหมายและความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการขนส่ง”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : https://www.dlt.go.th/site/roiet/m-news/2495. สืบค้น 8 กุมภาพันธ์ 2562.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและวิเคราะห์ทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 5. วี.อินเตอร์ พริ้นท์ : กรุงเทพมหานคร.
นิคม ลนขุนทด. (2562). การถ่ายทอดเทคโนโลยี แอพพลิเคชั่นการท่องเที่ยวเศรษฐกิจชุมชนและสินค้า OTOP จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
เบญจรัตน์ ศิริชู. (2564). “การพัฒนาแอปพลิเคชันธุรกิจตรวจสภาพรถ เพื่อยกระดับการให้บริการสถานตรวจ
สภาพรถยนต์เอกชน”. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
อิทธิวัฒน์ รัตนพองบู่. (2555). ทำการตลาดออนไลน์ด้วยกูเกิ้ลพลัส Marketing on google Plus.
นนทบุรี : ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.
อัษฎา วรรณกายนต์ และคณะ. (2563). การถายทอดเทคโนโลยีคิวอารโคด สำหรับขอมูลผลิตภัณฑสินคาชุมชน
ประเภทผักอินทรีย์. การประชุมวิชาการระดับชาติ “ราชมงคลสุรินทร ครั้งที่ 11”
ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร. หน้า H58 – H66.