การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าเครื่องคัดแยกมูลไส้เดือนดิน Research project, development and value addition of earthworm waste sorting machine with purpose To design and build an earthworm waste sorting machine and to transfer technology to those interested in raising earthworms
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงการวิจัย การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าเครื่องคัดแยกมูลไส้เดือนดิน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องคัดแยกมูลไส้เดือนดิน และเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ที่สนใจในการเลี้ยงไส้เดือนดิน จุดมุ่งหมาย คือ การส่งเสริม พัฒนา และการขยายการเลี้ยงไส้เดือนดินในชุมชนท้องถิ่น ขอบเขตของการวิจัย ด้านเนื้อหาที่ศึกษา ได้แก่ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบริบทชุมชน วิธีการเลี้ยงไส้เดือนของศูนย์ตามรอยธรรม บ้านเกษตรพัฒนา ตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี คัดแยกมูลไส้เดือนดิน การขยายพันธุ์โดยการฟักไข่ และช่องทางการเผยแพร่ ด้านเทคโนโลยี ได้แก่ นวัตกรรมเครื่องคัดแยกมูลไส้เดือนดิน สามารถแยกมูล ไข่ ตัวไส้เดือนดิน อาหารที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ และความเหมาะสมในการนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการดำเนินงานวิจัย ได้สร้างเครื่องคัดแยกมูลไส้เดือนดิน นำไปทดลองและถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่สนใจในการเลี้ยงไส้เดือนดิน โดยใช้ ปันกันออร์นิกส์ฟาร์ม เป็นสถานที่ในการทดลองและถ่ายทอดเทคโนโลยี โดย ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามกับกลุ่มผู้ที่มาศึกษาดูงาน ผลการวิจัยในครั้งนี้ พบว่า เครื่องคัดแยกมูลไส้เดือนดินมีความสารถในการคัดแยกออกเป็นทั้งหมด ได้เป็น 4 ส่วน ได้แก่ คือ ปุ๋ยมูลไส้เดือน มูลหยาบปนไข่ กากอาหาร และตัวไส้เดือนดิน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
Article Details
References
กรมพัฒนาที่ดิน.การผลติและใช้ปุ๋ยอินทรีย์นำเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน กรมพัฒนาที่ดิน 31
หน้า, 2545
กรมพัฒนาที่ดิน.ระเบียบกรมพัฒนาที่ดินว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานปัจจัยการผลิตทาง
การเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ, 2550.
กลุ่มวิจัยเกษตรเคมี.คู่มือวิธีวิเคราะห์ปุ๋ยอินทรีย์. สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรกรม
วิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ,2551.
จิระวัฒน์ นวนพุดซา การศึกษาเปรียบเทียบความเร็วและคุณภาพในการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน
จากการย่อยสลายขยะอินทรีย์ชนิดต่างๆ โดยไส้เดือนดินที่เป็นสายพันทางการค้าและสายพันธุ์ท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์วทม. เชียงใหม่ : มหาวทิยาลยัแม่โจ , มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2551.
บรรจงศักดิ์ ภักดี.ศักยภาพของการใช้ไส้เดือนดินเพื่อย่อยสลายอินทรียวัตถุในฟาร์มขนาดเล็ก.
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่1 เชียงใหม่,2541.เพาะเลี้ยงไส้เดือนดินผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสถานีวิจัยลำตะคอง วว.
ภฤศญา ปิยนุสรณ์.การศึกษาการเลี้ยงไส้เดือนเชิงพานิชย์ในการจัดการขยะอินทรีย์: มหาวิทยาลัยราช
ภัฏสวนสุนันทรา, 2555.
เมธี มณีวรรณ. มารตฐานปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมัก). วารสารพัฒนาที่ดิน 36(374): 12 – 22, 2541.
วีรยุทธ สิริฐนกร,ได้ศึกษาวัสดุรองพื้นต่างชนิดกันที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของและผลผลิตปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน, 2557.
วัชรี สมสุข.ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลง, หน้า 209-244. ใน การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธีเพื่อ
การเกษตรยั่งยืน. เอกสารวิชาการ กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร, 2544.
วัชรี สมสุข และสุทธิชัย สมสุข.รายงานผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่องผลงานวิจัยโครงการวิจัยและ
พัฒนาการผลิตไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงในระดับการค้าจัดพิมพ์โดย กรมวิชาการเกษตร สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 172, 2544.
สุลีลัก อารักษณ์ธรรม อิทธิพลของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจากไส้เดือนดินต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติ
ทางฟิสิกส์ดินและการปรับปรุงโครงสร้างของดิน: มหาวทิยาลัยแม่โจ,2556