การพัฒนาระบบปั๊มน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์อัตโนมัติ -

Main Article Content

สุชาติ ดุมนิล

บทคัดย่อ

     การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบระบบปั๊มน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์อัตโนมัติ หาคุณภาพและประสิทธิภาพระบบปั๊มน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์อัตโนมัติ และศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อการใช้งานของระบบปั๊มน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์อัตโนมัติสู่เกษตรกร กระบวนการวิจัยได้ดำเนินการโดยการพัฒนาระบบปั๊มน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์อัตโนมัติ ที่ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน จากนั้นนำไปพัฒนารูปแบบระบบปั๊มน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์อัตโนมัติ เสร็จแล้วก็นำไปประเมินกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นคณาจารย์ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ และเกษตรกร จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ด้วยสถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ผู้เชี่ยวชาญประเมินระดับการพัฒนาความเหมาะสมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.68 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.46 และเมื่อประเมินหาคุณภาพของระบบปั๊มน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์อัตโนมัติ ที่พัฒนาตามรูปแบบ พบว่า คุณภาพของระบบปั๊มน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์อัตโนมัติอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.66 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.41 และเมื่อทดสอบหาประสิทธิภาพระบบปั๊มน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์อัตโนมัติ โดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 100 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ของสมมุติฐานที่ตั้งไว้ และกลุ่มตัวอย่างที่ได้แสดงความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อการใช้งานของระบบที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.72 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.41


     ดังนั้นจึงสรุปผลการวิจัยได้ว่า รูปแบบการพัฒนาระบบปั๊มน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์อัตโนมัติ ที่พัฒนาขึ้น สามารถช่วยประหยัดเวลา และแรงงาน สร้างความสะดวกสบายและแบ่งเบาภาระของเกษตรกรในการควบคุมสั่งเปิด-ปิดระบบน้ำผ่านสมาร์ทโฟนได้ทุกที่ทุกเวลา และช่วยควบคุมอุณหภูมิในอากาศได้อย่างมีคุณภาพและสามารถเพิ่มผลผลิตของสวนผักหรือโรงเรือนที่ปลูกผักได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2559). คู่มือการพัฒนาและการลงทุน

ผลิตพลังงานทดแทน ชุดที่ 2. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน.

กาญจนาพร เตียวเจริญกิจ และนฤมล อ่อนเมืองดง. (2561). การพัฒนาระบบควบคุมเกษตรอัจฉริยะโดยใช้

คอมพิวเตอร์แบบฝังตัว. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

คณุตฆ์ แซ่ม้ำ และคณะ. (2561). ระบบรดน้ำแปลงผักอัตโนมัติ. สาขาวิชา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ภาควิชา

เทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

ชัญญา ไทยเจริญ และคณะ. (2562). ระบบรดนํ้าต้นไม้อัตโนมัติและแอพพลิเคชันควบคุมโรงเรือนอัจฉริยะ.

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์

พณิชยการ.

ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ. (2550). ฟาร์มอัจฉริยะ ตอนที่ 1. วารสารอัพเดท. 22 (241) : 93-96.

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค). (2555). คู่มือระบบสูบน้ำด้วยระบบโซล่าเซลล์.

[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://shorturl.asia/decLr. สืบค้นวันที่ 19 มิถุนายน 2565.

Soni, S., Mandloi, S., & Jain, J. K. (2011, March). Zig bee based farming using sensor-based

wirelessmesh networks. Proceeding of The 5th National Conference; INDIACom - 2011:

ComputingFor Nation Development. New Delhi: Bharati Vidyapeeth’s Institute of

Computer Applicationsand Management.